กรมวิชาการเกษตร ชี้ แนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีลดลงต่อเนื่อง

กรมวิชาการเกษตร  ชี้ แนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีลดลงต่อเนื่อง

กรมวิชาการเกษตร คาดแนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีลดลงมีปริมาณเพียงพอ เร่งตรวจประสิทธิภาพเอื้อประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกร แนะผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองดันเป้าลดต้นทุนการผลิตอย่างน้อย20 %

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยในการสัมมนา TheBig issue 2023 ปุ๋ยแพง วาระเร่งด่วน ประเทศไทย   ทางรอดเกษตรกร ว่า ความต้องการใชปุ๋ยเคมีของไทยมีประมาณปีละ 4-5 ล้านตัน ในจำนวนนี้กว่า 95 % เป็นการนำเข้ามูลค่าประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรมวิชาการเกษตรเปิดให้นำเข้าอย่างเสรี แต่ส่วนใหญ่นำเข้าจากตะวันออกกลาง จีน ออสเตรเลีย รัสเซีย แคนาดา และอิตาลี โดยส่วนใหญ่เป็น แม่ปุ๋ย คือ คือ ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส (P) และ โปรแตสเซียม(K) 

กรมวิชาการเกษตร  ชี้ แนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีลดลงต่อเนื่อง กรมวิชาการเกษตร  ชี้ แนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีลดลงต่อเนื่อง

 

ปุ๋ยเคมีมีสัดส่วนการนำไปใช้ในข้าวมากถึง51 % ที่เหลือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอื่นๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนไม้ผลมีสัดส่วนการใช้ประมาณ 5 %  

ด้วยความที่ไทยไม่สามารถผลิตปุ๋ยเองได้ ทำให้ได้รับผลกระทบเมื่อราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้น ในปี2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสงคราม รัสเซีย -ยูเครน ทำให้ปริมาณปุ๋ยลดลง การระบาดของโรคโควิด19 ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ความต้องการปุ๋ยเพื่อผลิตสินค้าเกษตรเป็นอาหารมากขึ้น  

  ปัจจุบัน แม้สงครามยังมีอยู่ สถานการณ์ปุ๋ยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ราคาปุ๋ยเริ่มปรับลดลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่แพงอยู่ เมื่อเทียบราคาก่อนหน้า แต่คาดว่าระดับราคาจะมีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับราคาสินค้าเกษตรก็ปรับตัวลงเช่นกันประมาณ 40-50 % เมื่อเทียบกับราคาสินค้าในช่วงที่เกิดวิกฤติ  

ในขณะที่ความต้องการปุ๋ยเคมียังมีอยู่ ซึ่งในครึ่งปีแรกของปี 2566 มีเอกชนยื่นแบบขอนำเข้าปุ๋ยเคมีกว่า 1.5 หมื่นตัน มูลค่ากว่า2 หมื่นล้านบาท ถือว่าสูงมาก และคาดว่าจะมีเอกชนขอนำเข้ามากขึ้นในช่วงกลางปีเป็นต้นไปจนครบ 4-5 หมื่นล้านตันตามความต้องการใช้  

 ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าราคาปุ๋ยปีนี้จะไม่แพง และสต็อกมีเพียงพอใช้ แต่ทั้งหมดนี้ การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรจะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กรมวิชาการได้เร่งตรวจสอบทุกการนำเข้าเพื่อคุมคุณภาพรวมทั้งดำเนินการตามมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นได้ตรวจสอบร้านค้าที่ขึ้นทะเบียน 16,000ร้านค้า ตรวจสอบโรงงาน 108 โดยที่ผ่านมาพบว่าการเอาจริงเอาจังทำให้คดีเรื่องปุ๋ยปลอมลดลง โดยปี2565 ได้อายัดจับกุมเพียง 8 คดีเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรไทยได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มศักยภาพ  

ทั้งนี้โรงงานที่ขึ้นทะเบียนปุ๋ยนำเข้าต้องต่อเบียนทุกปีเหมือน รถยนต์ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้เร่งดำเนินการและอำนวยความสะดวกให้แล้วเสร็จในวันเดียว  ส่วนการขึ้นทะเบียนใหม่ ซึ่งต้องตรวจสอบคุณภาพสูตรปุ๋ยก่อนนั้นต้องใช้ระยะเวลา แต่จะเร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยแต่ละปีจะมีผู้มายื่นขอขึ้นทะเบียนกว่า 3,000 สูตร  

ส่วนการดำเนินงานอื่นๆเพื่อลดต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรร์ได้บูรณาการกับทุกหย่วยงานเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอย่างถ฿กวิธี ถูกที่ ถูกเวลาการใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา ช่วยการตรวจปุ๋ยวิเคราะห์ค่าดินเพื่อให้ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง แนะนำเกษตรกรขยายผลเชื่อมกับภาคเอกชน รวมทั้งส่งเสริมให้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์และชีวภัณท์ชีวภาพ ใช้เองมากขึ้น โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิตลงอย่างน้อย20 %