ไทยเล็งขอรับรางวัล ‘King Bhumibol World Soil Day Award’

ไทยเล็งขอรับรางวัล  ‘King Bhumibol World Soil Day Award’

กรมวิชาการเกษตร เตรียมความพร้อมประเทศไทยเสนอขอรับ รางวัล “King Bhumibol World Soil Day Award” โอกาสครบรอบ 10 ปีวันดินโลก

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะ นายกสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเสนอเพื่อขอรับรางวัล “King Bhumibol World Soil Day Award”  ว่า  รางวัลดังกล่าว ประเทศไทย ร่วมกับ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ( Food and Agriculture Organization of the United Nations)

 

ไทยเล็งขอรับรางวัล  ‘King Bhumibol World Soil Day Award’ ไทยเล็งขอรับรางวัล  ‘King Bhumibol World Soil Day Award’

ได้ก่อตั้งขึ้นในงานวันดินโลกที่จะดขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี  หรือเรียกสั้นๆว่า รางวัลดินโลก เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสืบสานพระราชปณิธานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาทรัพยากรดิน ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำการเกษตรเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food Security) และการขจัดความหิวโหย (Zero Hunger) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs)

 ซึ่ง ปี 2566 ครบรอบ 10 ปีของวันดินโลก ประเทศไทยในฐานะผู้ร่วมผลักดันให้มี รางวัล “King Bhumibol World Soil Day Award”  และยังไม่เคยได้รับรางวัลนี้ 

ดังนั้นในโอกาสพิเศษดังกล่าว ประเทศไทยมุ่งมั่นสำหรับการยื่นข้อเสนอขอรับรางวัล  จึงมีมติให้ใช้หลัก SDGs 17 ที่อาศัยความร่วมมือกันของทุกฝ่าย  โดยประเทศไทยจะเสนอขอรับรางวัล ภายใต้กรอบของแนวคิดที่ว่า “Soil, where food begins” เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ทำอย่างไรดินถึงจะมีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง ผลิตอาหารที่ปลอดภัยที่สามารถแก้ปัญหาความอดอยาก ที่จะต้องอาศัยการบูรณาการของทุกฝ่ายในการจัดทำข้อมูลของประเทศไทยร่วมกัน

นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติให้มีการจัดทำหนังสือ “Road to the World Soil Day” รวมถึงการประชุมวิชาการทั้งในด้านการลดภาวะโลกร้อนจากการใช้ปุ๋ย การลดก๊าซเรือนกระจกในหลายๆ มิติ การจัดการทรัพยากรดินและปุ๋ยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร เพื่อที่จะสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินที่มีต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติและสภาพแวดล้อมและความจำเป็นต้องมีการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน