ชลประทาน มั่นใจ อีอีซี มีน้ำใช้พ้นแล้ง หลังบริหารจัดการระบบอ่างฯพวง

ชลประทาน มั่นใจ อีอีซี มีน้ำใช้พ้นแล้ง หลังบริหารจัดการระบบอ่างฯพวง

กรมชลประทาน ใช้อ่างฯ พวง บริหารจัดการและแบ่งปันน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก สนับสนุนการใช้น้ำในเขต EEC ได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม ลดความขัดแย้งด้านน้ำ ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างยั่งยืน

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา) ด้วยการใช้ระบบโครงข่ายน้ำหรืออ่างฯ พวง มาช่วยในการบริหารจัดการน้ำแบ่งปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำ ช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและการขาดแคลนน้ำในภาพรวมได้เป็นอย่างมาก

สำหรับฤดูแล้งปี 2565/66  นี้กรมชลประทานได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตราการรองรับการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ EEC    รวม  8 มาตรการ ดังนี้  1. ผันน้ำอ่างฯ ประแสร์  - อ่างฯ คลองใหญ่  จ.ระยอง - อ่างฯ หนองปลาไหล  จ.ชลบุรี   2  ผันน้ำจากอ่างฯ คลองใหญ่ จ.ระยอง มายังอ่างฯ หนองปลาไหล จ.ชลบุรี  

ชลประทาน มั่นใจ อีอีซี มีน้ำใช้พ้นแล้ง หลังบริหารจัดการระบบอ่างฯพวง ชลประทาน มั่นใจ อีอีซี มีน้ำใช้พ้นแล้ง หลังบริหารจัดการระบบอ่างฯพวง

ชลประทาน มั่นใจ อีอีซี มีน้ำใช้พ้นแล้ง หลังบริหารจัดการระบบอ่างฯพวง

3. สูบกลับคลองสะพานเติม อ่างฯ ประแสร์  4. การสูบกลับวัดละหารไร่ (แม่น้ำระยอง) มาเสริมปริมาณน้ำให้แก่อ่างฯ หนองปลาไหล    5. การนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสูบใช้น้ำจากคลองน้ำหู  6. สูบผันน้ำจากคลองพระองค์ไชยานุชิต/คลองชลประทานพานทองมายังอ่างฯ บางพระ 7. สูบผันน้ำจากแม่น้ำบางประกงมายังอ่างฯ บางพระ  และ8. ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด

ปัจจุบัน  อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางในเขตพื้นที่ EEC มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 870 ล้านลูกบาศก์เมตร( ลบ.ม.)  คิดเป็น 55% ของความจุอ่างฯ รวมกัน ภาพรวมสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์ดีและเพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ เป็นการสร้างความมั่นใจได้ว่าตลอดช่วงฤดูแล้ง 2565/66  ในพื้นที่ภาคตะวันออกจะมีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ในทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่องไม่ขาดแคลน

เพื่อรองรับความต้องการน้ำในภาคตะวันออกที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการอุปโภคบริโภค  กรมชลประทานร่วมกับ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง วางแผนดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 63-80   ไว้ทั้งหมด 38 โครงการ  ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 11 โครงการ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำรวม 201.19 ล้าน ลบ.ม. ได้แก่

 เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 23.87 ล้าน ลบ.ม.  เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 2.6 ล้าน ลบ.ม.

เพิ่มประสิทธิภาพระบบผันน้ำแม่น้ำบางปะกง-อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 20  ล้าน ลบ.ม.  โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการจ่ายน้ำท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)

 สระทับมา จ.ระยอง ดำเนินการโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 47.0 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำคลองกระแส จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 18.12 ล้าน ลบ.ม. . เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำมาบประชัน จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 0.60 ล้าน ลบ.ม.   ศึกษา สำรวจ และประเมินความคุ้นค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ ในพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ดำเนินการโดยกรมทัพยากรน้ำ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 12 ล้าน ลบ.ม.

 ระบบสูบกลับคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 1 จ.ระยอง ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำสูงสุด 50  ล้าน ลบ.ม.  เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยกรมชลประทาน สามารถเพิ่มปริมาณน้ำ 27 ล้าน ลบ.ม.  โครงการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำดิบอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร-ชลบุรี จ.ชลบุรี ดำเนินการโดยบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน)

และอยู่ระหว่างดำเนินการ 11 โครงการ ถ้าแล้วเสร็จ จะเพิ่มปริมาณน้ำอีก 116.60 ล้าน ลบ.ม. ในส่วนโครงการที่เหลือ 16 โครงการ จะอยู่ในกลุ่มโครงการที่ต้องขับเคลื่อนซึ่งจะเพิ่มปริมาณน้ำ 554.87 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  สร้างเสถียรภาพทางด้านน้ำให้กับการอุปโภค บริโภค ภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ยกระดับชีวิตและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

 สำหรับแผนการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2565-66 (1 พ.ย.65 – 30 เม.ย.66) ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ รวมแผน 2,700 ล้าน ลบ.ม.  แยกเป็นใช้เพื่อ อุปโภค-บริโภค  188 ล้าน ลบ.ม.   หรือ 7%  รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ  753 ล้าน ลบ.ม. หรือ28% เกษตรกรรม 1,500 ล้าน ลบ.ม. หรือ 56% อุตสาหกรรม  258 ล้าน ลบ.ม.  9% 

ผลการจัดสรร พบว่าปัจจุบันมีการใช้น้ำไปทั้งสิ้น   1,503 ล้าน ลบ.ม. หรือ 56% ของแผน  แยกเป็น ด้านอุปโภค-บริโภคใช้น้ำไปแล้ว 117 ล้าน ลบ.ม. หรือ 62% ขงแผน รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ ใช้น้ำไปแล้ว  441 ล้าน ลบ.ม.หรือ58% ของแผน

ภาคเกษตรกรรม ใช้น้ำไปแล้ว  816 ล้าน ลบ.ม. 54% ของแผน  โดยใช้เพื่อ  1.253 ล้านไร่ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว  1.207 ล้านไร่  แยกเป็น ข้าวนาปรัง 4.79 แสนไร่จากแผนที่กำหนดไว้ 4.91 แสนไร่ พืชไร่-พืชผัก 2.1 หมื่นไร่ จากแผน 2.7 หมื่นไร่  และอื่นๆ 7.06 แสนไร่  จากแผน 7.35 แสนไร่