แนะรัฐบาลเร่งขยายฐาน 'จัดเก็บรายได้' แม้ดุลฯรับ-จ่าย สูงกว่าเป้าแสนล้าน

แนะรัฐบาลเร่งขยายฐาน 'จัดเก็บรายได้' แม้ดุลฯรับ-จ่าย สูงกว่าเป้าแสนล้าน

กระทรวงการคลังรายงาน ครม.งบดุลรับจ่ายประเทศปี 65 เกินดุลแสนล้าน จากการจัดเก็บรายได้เพิ่ม และมีการใช้จ่ายงบบางรายการต่ำกว่าประมาณการ แนะภาครัฐเร่งขยายฐานรายได้ - ภาษี - ค่าธรรมเนียม รับภาระอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ นำที่พัสดุไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 74 ได้บัญญัติให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการรับจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเสนอต่อรัฐสภาภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันสิ้นสุดงบประมาณ ขอบเขตของรายงาน

ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำรายงาน ประกอบด้วยข้อมูลการรับและการจ่ายเงินของหน่วยงนของรัฐที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ได้แก่ รายได้แผ่นดินที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บและนำเงินส่งคลัง (รายได้จากภาษีอากร รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้จากรัฐพาณิชย์) รายรับจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ รายจ่ายตามงบประมาณ (รายจ่ายของหน่วยงาน และรายจ่ายงบกลาง) ข้อมูลรายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง

โดยสรุปในปีงบประมาณที่ผ่านมาประเทศไทยมีดุลการรับ/จ่ายเงิน (รายรับของประเทศหักด้วยรายจ่ายของประเทศ) สูงกว่างบประมาณที่ตั้งไว้  102,387.52 ล้านบาท  

อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังเห็นว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรายการใหม่ให้ครอบคลุมบริบททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการที่ราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง และควรเร่งส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง

 

มุ่งพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่สามารถ ตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

และมีความยั่งยืน และด้านรายจ่าย รัฐบาลควรกำหนดมาตรการการคลั่งด้านการใช้จ่ายภาครัฐในการติดตามและเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณ มีประสิทธิภาพและเกิดประโยน์สูงสุด ควรเร่งรัดนโยบายปรับหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม

รวมทั้งตรวจสอบความซ้ำซ้อนและปรับภารกิจและพันธกิจของหน่วยงานภาครัฐให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในเชิงบูรณาการ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการพัฒนาประเทศ

โดยรายงานนี้จะทำให้หน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในปีถัดไปวางแผนการดำเนินงานและใช้ในการควบคุมการดำเนินงานด้วย

 สำหรับรายงานที่กระทรวงการคลังได้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2565 เสนอต่อที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญดังนี้

 1.รายรับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายรับจากรายได้แผ่นดิน และรายรับจากเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายรับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3.1 ล้านล้านบาท รายรับที่รัฐบาลได้รับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3.203  ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 1.03 แสนล้านบาทเศษ ประกอบด้วย

 

1)รายได้แผ่นดิน มีการประมาณการรายได้ จำนวน 2.4 ล้านล้านบาท และมีการรับรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2.55 ล้านล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 1.51 ล้านล้านบาท

2) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ มีการประมาณการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 7 แสนล้านบาท มีการกู้เงิน รวมทั้งสิ้น จำนวน 6.25 แสนล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 4.74 หมื่นล้านบาท

2.รายจ่าย ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3.1 ล้านล้านบาท รายจ่ายที่รัฐบาลจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3.091 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 8.71 พันล้านบาทเศษ ประกอบด้วย

1)รายจ่ายตามงบประมาณ มีการประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณ จำนวน 3.007 ล้านล้านบาท และมีรายจ่ายจากเงินงบประมาณจำนวน 2.808 ล้านล้านบาท และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 1.905 ล้านล้านบาท รวมรายจ่ายตามเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีรวมทั้งสิ้น จำนวน  2.8 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 8.69 พันล้านบาท

2) ร้ายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีการประมาณการรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 6.64 หมื่นล้านบาท มีรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เท่ากับประมาณการ จำนวน 6.64 หมื่ล้านบาท

3) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง มีการประมาณการรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 596.7 ล้านบาท มีรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังเท่ากับประมาณการ จำนวน 596.7  ล้านบาท

4) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย มีการประมาณการรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย จำนวน 2.94 หมื่นล้านบาท และมีรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย จำนวน 2.49 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 17.89  ล้านบาท

3.รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน)รัฐบาลมีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2.372 แสนล้านบาท มีรายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 213.6 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเงินที่กันไว้ จำนวน 2.35 หมื่นล้านบาท

4.รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ประจำปีงบประมาณจำนวน 3.1 หมื่นล้านบาท เป็นการจ่ายเงินคงคลังตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491  และที่แก้ไขเพิ่มเติม รายการจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่พอจ่ายและพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว

5.ดุลของงบประมาณประจำปี เมื่อเปรียบเทียบผลรายรับกับรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายรับประเภทรายได้แผ่นดิน จำนวน 2.55 แสนล้านบาท เปรียบเทียบกับรายจ่ายตามงบประมาณประจำปี จำนวน  2.5 ล้านล้านบาท ทำให้รายได้แผ่นดินต่ำกว่ารายจ่ายตามงบประมาณประจำปี จำนวน 3.49 แสนล้านบาท ประกอบกับรัฐบาลมีรายรับประเภทเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 6.53 แสนล้านบาท จึงทำให้รายรับรวมสูงกว่ารายจ่ายตามงบประมาณประจำปี จำนวน 3.03 แสนล้านบาท

 และ 6.ดุลการรับ - จ่ายเงิน เมื่อเปรียบเทียบรายรับของรัฐบาลรายได้แผ่นดิน และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 3.203 ล้านล้านบาท เปรียบเทียบกับรายจ่ายตามงบประมาณประจำปี รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง จำนวน 3.18 ล้านล้านบาท