6 อุปสรรค ‘สกัด’ จีนลงทุนไทย โดยศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา

จากสถิติการลงทุนจีนโดยตรงในต่างประเทศ 20 อันดับแรกตั้งแต่ปี 2016-2020 พบว่า ไทยอยู่ในลำดับที่ 19 แต่มาปี 2020 ไทยขยับขึ้นเป็นลำดับที่ 9

ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ระบุ จากสถิติการลงทุนจีนโดยตรงในต่างประเทศ 20 อันดับแรกตั้งแต่ปี 2016-2020 พบว่า ไทยอยู่ในลำดับที่ 19 แต่มาปี 2020 ไทยขยับขึ้นเป็นลำดับที่ 9 เมื่อดูเฉพาะประเทศกลุ่มอาเซียนพบว่า ในปี 2016 จีนลงทุนในไทยอยู่ในลำดับ 5 แต่ในปี 2020 ไทยขยับขึ้นมาเป็นลำดับที่ 3 ของอาเซียน ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จทั้งในกรอบทวิภาคี กรอบอนุภูมิภาค อย่างแม่โขง-ล้านช้าง การขยายความร่วมมือภายใต้ BRICS Plus ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และการผลักดันอีอีซี ทำให้การลงทุนจีนในไทยสดใสมากขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนของจีนในไทยยังมีอุปสรรคปัญหา ซึ่งผลศึกษาพบว่ามี 6 ข้อสำคัญคือ 1.ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลด้านการลงทุน โดยมีปัญหาช่องทางถึงข้อมูล ปัญหาด้านภาษา นักลงทุนจีนไม่รู้จักบีโอไอ ไม่ทราบว่ามีสำนักงานบีโอไอในจีน

2.ปัญหาการซื้อที่ดินของนักลงทุนจีน ยังมีข้อจำกัดบางประการและไม่มีความชัดเจน ซึ่งนโยบายการเข้ามาซื้อที่ดินในไทยถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ เช่น จำนวนเงินลงทุน จำนวนที่ดิน วัตถุประสงค์การใช้ที่ดิน ลักษณะการลงทุน 

     3. ปัญหาอุตสาหกรรมบางประเภทมีอุปสงค์ในไทยต่ำ ตลาดมีขนาดไม่ใหญ่หรือน่าดึงดูด ความต้องการการบริโภคน้อย เช่น อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี การผูกขาดในตลาดของผู้ผลิตหน้าเก่า เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมโครงข่ายคมนาคม และอุตสาหกรรมจำนวนมากจนสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ทั้งหมดแล้ว เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ

        4. ปัญหาด้านแรงงาน ที่มีผลมาจากการขาดแคลนแรงงาน แรงงานขาดทักษะด้านภาษา ขาดความรู้ทางเทคนิคหรือความรู้เฉพาะทาง และค่าจ้างแรงงานในประเทศไทยสูง แม้ประเทศไทยจะแก้ปัญหาด้วยการนำแรงงานต่างด้าวมาก็ยังไม่พอ

         5. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศแม้ว่าโครงพื้นฐานไทยดีกว่าอาเซียนแต่ภาพรวมยังไม่คลอบคลุมเชื่อมโยงกันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงการดำเนินการล่าช้า 

       6. กฎระเบียบไม่เอื้อต่อนักลงทุนจีน โด นักลงทุนจีนจำนวนไม่น้อยมีความไม่เข้าใจและกังวลใจต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ของไทย ด้วยกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ เหล่านั้นอาจจะล้าสมัย สร้างความยุ่งยาก ไม่มีความชัดเจน นอกจากนี้ปัญหานโยบายด้านการลงทุนของไทยยังเป็นภาพกว้าง นักลงทุนจีนส่วนใหญ่จึงไม่ทราบว่ามีหน่วยงานที่คอยดูแล