กยท.เคาะแผน Rubber city 8.8 หมื่นล้านเชื่อม EEC ดันรายได้พุ่งจ้างงานเพิ่ม

กยท.เคาะแผน Rubber city 8.8 หมื่นล้านเชื่อม EEC ดันรายได้พุ่งจ้างงานเพิ่ม

ยางพาราไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับ1 เมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่มีข้อเสียในด้าน ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงและการสร้างมูลค่าเพิ่มต่ำ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงมีแผนพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา หรือ Rubber city

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท.เปิดเผยว่า ไทยเกิดสภาวะราคายางพาราตกต่ำ จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อรายได้ชาวสวนยาง การพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา ซึ่ง กยท. เลือกพื้นที่ตั้งใน จ.นครศรีธรรมราช

 

กยท.เคาะแผน Rubber city 8.8 หมื่นล้านเชื่อม EEC ดันรายได้พุ่งจ้างงานเพิ่ม

กยท.เคาะแผน Rubber city 8.8 หมื่นล้านเชื่อม EEC ดันรายได้พุ่งจ้างงานเพิ่ม

 

ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ภายใต้กำกับดูแลของกยท.เอง อยู่พื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor : SEC เชื่อมโยงกับการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่ทั้งในประเทศและประเทศในภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน เชื่อมโยง และเกื้อหนุนธุรกิจอุตสาหกรรมยางพารา โครงการ SECri เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยางพาราในกลุ่มภาคใต้ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง

“การขนส่งยางพาราและไม้ยางภาคใต้ตอนบนเพื่อส่งออกไปตลาดจีน ปัจจุบันจะใช้ใช้ท่าเรือขนอม จ.นครศรีธรรมราช แล้วไปวนไปจ.สงขลาและวกกลับมาท่าเรือแหลมฉบังอีกครั้ง ซึ่งมีต้นทุนการขนส่งสูง ใน Rubber city จะมีแผนพัฒนาท่าเรือขนอม เพื่อเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง หรือเชื่อมกับเขาพัฒนาพิเศษ ฝั่งตะวันออก หรือEEC ทำให้การส่งส่งสินค้าสะดวกขึ้น”

ปัจจุบัน กยท.ได้หารือเบื้องต้นกับสำนักงานการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ และ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) แล้วอยู่ระหว่างการทำแผนเศรษฐกิจเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ความเห็นชอบต่อไป

สำหรับ Rubber city อยู่ที่ ต.ช้างกลาง อ.ช่างกลาง จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ 3,500 ไร่ ซึ่งอยู่บริเวณที่ส่งเสริมการปลูกยางพาราโดยรอบกว่า 33,520 ไร่ โดย 2.5 ล้านไร่ การพัฒนาพื้นที่โครงการ จะประกอบด้วย 8 ธุรกิจอุตสาหกรรมยางพารา ประกอบด้วย น้ำยางคอมปาวด์ ยางคอมปาวด์ และน้ำยางผสม เพื่อสนับสนุนการแปรรูปล้อยาง ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ที่นอนและหมอนยางพารา ยางทางเภสัชกรรมและการแพทย์ ซึ่งใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบ อุตสาหกรรมพื้นรองเท้าและผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา

รวมทั้งส่งเสริม 4 รูปแบบเกษตรผสมผสาน คือ ระบบเกษตรกรรมยางแบบผสมผสานรวม ไม้ดอกไม้ประดับ ให้เป็นLandmark ของโครงการ ระบบเกษตรสวนยางแบบผสมผสานรวม พืชสวน พื้นที่ในบริเวณ อ.ทุ่งใหญ่ เป็นระบบตลาดเปิด ระบบเกษตรกรรมสวนยางแบบผสมผสานรวม พืชสวนที่เป็นระบบตลาดปิด และระบบเกษตรกรรมสวนยางแบบผสมผสาน วนเกษตร

ส่วนผังแม่บทเบื้องต้น (Preliminary Master Plan) องค์ประกอบของโครงการ ประกอบด้วย 7 แผน คือ

1.สำนักงาน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการเริ่มต้น ศูนย์วิจัยและพัฒนา นวัตกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมยางพาราศูนย์อบรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมยางพาราและศูนย์ชุมชน

2.พื้นที่โรงงาน คลังสินค้า อุตสาหกรรมยางพารา 3.ศูนย์ขนส่งและคลังสินค้าผลิตภัณฑ์ยางพารา 4.พื้นที่ต้นแบบเกษตรสวนยางแบบผสมผสาน 5.ตลาดกลางและศูนย์ขนส่งสินค้าเกษตรอื่น 

6.ที่อยู่อาศัยและพื้นที่บริการส่วนกลาง 7.พื้นที่สาธารณูปการส่วนกลาง เช่น โรงประปา โรงบำบัดน้ำเสีย สถานีไฟฟ้า 8.พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่สีเขียวและแนวกันชน และอ่างเก็บน้ำ

ในขณะที่มูลค่าเงินลงทุน โครงการ 88,691 ล้านบาท แยกเป็นเอกชนลงทุน 78,598 ล้านบาทหรือ 89 % กยท. 1,622 ล้านบาท หรือ 2 % หน่วยงานรัฐอื่น 3,768 ล้านบาท หรือ 4 % และผู้ร่วมพัฒนา 4,703 ล้านบาท หรือ 5 % ระยะเวลาพัฒนา 7 ปี โดยในช่วงแรกจะดำเนินการในเรื่องของรายละเอียดต่างๆ ของพื้นที่ 

หลังจากนั้น 15 เดือนแรก จะทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและออกแบบรายละเอียดระบบบริหารจัดการยางพาราให้สอดคล้องกับธุรกิจยางพาราและระบบนิเวศของพื้นที่ หลังจากนั้น อีก 7 ปี จะทำการก่อสร้าง ควบคู่กับการจัดหานักลงทุน การเตรียมความพร้อม และขับเคลื่อนนวัตกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมยางพาราในภาคใต้ตอนบนและตอนกลางต่อไป

สำหรับผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ โดยจะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนกลาง และ จ.นครศรีธรรมราช มูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 9.9 แสนล้านบาท เพิ่มความต้องการใช้ยางพาราในประเทศ เป็น 1.09 ล้านบาท ผลักดันกลไกราคายาง ให้มีความเป็นธรรมทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เกิดการวิจัยส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ยาง สินค้าที่ใช้ยางพารา ส่วนประกอบของยางพาราในการผลิต

นอกจากนี้ การจ้างงานเพิ่มขึ้นจากการขยายสร้างงานประมาณ 45,000 คน ยกระดับรายได้ชาวสวนยาง ได้ไม่น้อยกว่า 15,675 บาทต่อไร่ และลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ โดยคาดว่าจะสามารถกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจสู่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยถุงปานกลางสูง หรือชาวสวนมีฐานะทางสังคมที่ดีขึ้นถึง 56.28 %