ประวิตร” ลุยน้ำท่วมอุบลฯ – ศรีสะเกษ ย้ำรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน

ประวิตร” ลุยน้ำท่วมอุบลฯ – ศรีสะเกษ ย้ำรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน

ประวิตร ลงพื้นที่ตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัย ณ จ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ สั่งวางแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดและการประกาศพื้นที่ประสบภัย ในทิศทางเดียวกัน เพื่อประสิทธิภาพจัดการน้ำในสภาวะเสี่ยง และกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด

วันนี้ (12 ต.ค. 65) เวลา 13.30 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัย ณ จ.อุบลราชธานีและศรีสะเกษ โดยรับฟังบรรยายสรุปการบริหารจัดการน้ำและสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี

ประวิตร” ลุยน้ำท่วมอุบลฯ – ศรีสะเกษ ย้ำรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน ประวิตร” ลุยน้ำท่วมอุบลฯ – ศรีสะเกษ ย้ำรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน ประวิตร” ลุยน้ำท่วมอุบลฯ – ศรีสะเกษ ย้ำรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน ประวิตร” ลุยน้ำท่วมอุบลฯ – ศรีสะเกษ ย้ำรัฐบาลไม่ทิ้งประชาชน

 

โดยมี นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวต้อนรับและสถานการณ์ภาพรวมในพื้นที่ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บรรยายสรุปสถานการณ์ภาพรวมของลุ่มน้ำมูล-ลุ่มน้ำชี และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดปัญหาอุทกภัยและการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อาทิ

กรมชลประทาน กองบัญชาการกองทัพไทย มณฑลทหารบกที่ 22 และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 7 อุบลราชธานี ก่อนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำมูล บริเวณวัดหลวง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พร้อมเยี่ยมเยียนให้กำลังใจประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่

จากนั้นได้เดินทางต่อไปยัง จ.ศรีสะเกษ เพื่อรับฟังสรุปสถานการณ์น้ำ โดย นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และพบปะประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่บ้านหนองบัวไชยวาน ต.โนนสัง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ

 

ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชนโดยเร็ว รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ กอนช. โดยศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานแผนการบริหารจัดการน้ำของกรรมการลุ่มน้ำ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัดและการประกาศพื้นที่ประสบภัย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะเสี่ยงเกิดอุทกภัยและส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด พร้อมมอบหมายให้กรมชลประทาน ดำเนินการตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมปี 2565 ตามที่ กนช. ได้ให้ความเห็นชอบไว้

และตามมติของคณะทำงานศูนย์ส่วนหน้าฯที่มีความเห็นร่วมกัน ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างทันท่วงที และขอให้จังหวัดร่วมกับหน่วยทหาร สนับสนุนเครื่องมือ ยานพาหนะ และกำลังพล เพื่อเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว รวมทั้งขอให้จังหวัด หน่วยงานราชการ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เตรียมแผนการช่วยเหลือฟื้นฟู ภายหลังน้ำลดให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วต่อไปด้วย

 

ด้าน นายสุรสีห์  เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ฝนภาคอีสาน พบว่า ช่วงวันที่ 12-13 ต.ค. ปริมาณฝนมีแนวโน้มลดลง แต่ช่วงวันที่ 14-15 ต.ค. อาจมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่งผลต่อระดับน้ำเล็กน้อย และช่วงวันที่ 16-19 ต.ค. ฝนจะลดลงไปอย่างมาก ถึงอาจไม่มีฝนตกในพื้นที่ภาคอีสานเลย

สำหรับสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชีระดับน้ำเริ่มลดลง แต่ต้องเฝ้าระวังผนังกั้นน้ำเนื่องจากระดับน้ำที่ท่วมสูงเป็นเวลานาน ประกอบกับเขื่อนอุบลรัตน์ยังคงการระบายอยู่ที่ 54 ล้าน ลบ.ม./วินาที อาจส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของผนังกั้นน้ำโดยรอบ ซึ่งได้แจ้งเตือนให้ประชาชนบริเวณรอบผนังกั้นน้ำได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ส่วนลุ่มน้ำมูลระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง ที่สถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ที่ +116.5 ม. (รทก.) สูงกว่าตลิ่ง 4.5 ม. ปริมาณน้ำ 5,735 ลบ.ม./วินาที ซึ่งคาดว่าวันที่ 13 ต.ค. ระดับน้ำจะสูงสุดที่ +116.65 ม. (รทก.) สูงกว่าตลิ่ง 4.65 ม. ปริมาณน้ำ 5,885 ลบ.ม./วินาที และหลังจากนั้นจะแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

ปัจจุบันที่บริเวณกลางสะพานพิบูลมังสาหารได้ถอนเครื่องผลักดันน้ำออกแล้ว เพื่อไม่ให้กีดขวางการไหลของกระแสน้ำเนื่องจากอัตราการไหลของน้ำบริเวณกลางลำน้ำมีอัตราไหลเร็วอยู่แล้ว แต่ยังเหลือคงเครื่องผลักดันน้ำไว้ 40 เครื่องบริเวณ 2 ข้างลำน้ำ เพื่อช่วยเสริมการระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์หน้าเมื่อระดับน้ำลุ่มน้ำมูลลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ กอนช. จะได้ประสานการนำเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในลำน้ำชี ซึ่งคาดว่าช่วงต้นเดือน พ.ย. ระดับน้ำในพื้นที่ภาคอีสานจะเริ่มลดลงและที่เอ่อท่วมสองฝั่งลำน้ำจะทยอยไหลกลับเข้าสู่ลำน้ำหลักเพื่อเร่งระบายลงแม่น้ำโขงให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ควบคู่การพื้นฟูเยียวยาประชาชนที่ประสบอุทกภัยโดยเร็ว