เอกชนแนะต่ออายุ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ - จัดงาน ‘MICE’ หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

เอกชนแนะต่ออายุ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ - จัดงาน ‘MICE’ หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวพัทยาแนะรัฐต่ออายุมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน ช่วยประคองธุรกิจช่วงฟื้นตัวจากโควิด-19 หนุนคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมเสนออัดแคมเปญ มาตรการช่วยเหลือจัดประชุมสัมนา หวังอัตราเข้าพักโรงแรมฟื้นระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด-19

โครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" ที่รัฐบาลออกมาเป็นมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศในช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นโครงการที่่เปรียบเสมือนออกซิเจนที่ช่วยต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการโรงแแรม และธุรกิจท่องเที่ยวสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์ยากลำบากล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาประชาชนได้ใช้สิทธ์เราเที่ยวด้วยกันในโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ส่วนขยาย” ส่วนขยายจำนวน 1.5 ล้านสิทธิ์ครบจำนวนแล้ว  

ล่าสุดผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่พัทยา จ.ชลบุรี ได้สะท้อนว่ามาตรการเราเที่ยวด้วยกันยังมีความจำเป็นที่จะช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของไทยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และยังเผชิญกับปัจจัยไม่แน่นอนในหลายด้าน

วิทนาถ วรรธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ป เปิดเผยว่า ภาพรวมการท่องเที่ยว ฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา 

ปัจจุบันโรงแรมอัตราการเข้าพักในโรงแรมอยู่ที่ประมาณ 40 - 50% ซึ่งยังน้อยกว่าในช่วงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเคยมีอัตราการเข้าพักอยู่ที่  60-70% 

เอกชนแนะต่ออายุ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ - จัดงาน ‘MICE’ หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

ทั้งนี้คาดว่าหากรัฐบาลมีการต่ออายุมาตรการเราเที่ยวด้วยกันออกไปอีกระยะการท่องเที่ยวในภาพรวมจะมีความคึกคักและจำนวนผู้เข้าพักในโรงแรมก็จะเพิ่มขึ้นไปใกล้เคียงกับระดับก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ และส่งผลดีต่อเนื่องไปถึงหลายธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งยังช่วยลดภาระให้คนไทยที่ยังได้รับผล กระทบจากค่าครองชีพที่สูง มีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการเราเที่ยวด้วยกันช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวของคนไทยได้ 

เอกชนแนะต่ออายุ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ - จัดงาน ‘MICE’ หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

"ที่ผ่านมาตอนที่เกิดโควิด-19 รัฐมีการออกมาตรการเราเที่ยวด้วยกันมา ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นออกซิเจนที่ช่วยภาคท่องเที่ยวให้มีลมหายใจ แต่ในขณะนี้การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จากสถานการณ์การเงินเฟ้อ ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ปัญหาในจีน และความขัดแย้งรัสเซียและยูเครน ซึ่งเป็นความไม่แน่นอน หากมีการต่ออายุมาตรการเราเที่ยวด้วยกันออกไปก็จะช่วยให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวได้มากขึ้น"

นอกจากนี้ในปัจจุบันที่เริ่มมีการเดินทาง ภาครัฐอาจจะเพิ่มมาตรการส่งเสริมเรื่องการจัดประชุมสัมนาฯซึ่งหากมีความเป็นไปได้อาจมีโปรแกรมสนับสนุน ส่งเสริมเรื่อง MICE ทั้งองค์กรไทยและต่างชาติ อาจเป็นทางเงินสนับสนุนเพื่อมาช่วยให้งานจัดขึ้นได้ช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย สนับสนุนต่างชาติที่มาจัดงาน MICE เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเนื่องไปยังคนจำนวนมาก และหลายธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากส่วยนี้

"ถ้าต่างชาติเข้ามาเยอะขึ้นก็จะส่งส่งผลให้ธุรกิจอื่นได้ผลประโยชน์ไปด้วย สุดท้าย คือ จัดทำโปรแกรมการตลาดเพื่อโปรโมทเมืองพัทยา ในรูปแบบ VDO เพื่อเชิญชวนต่างชาติให้มาพัทยา เพราะตอนนี้ภาพลักษณ์พัทยาเปลี่ยนไป แต่ต่างชาติส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าตอนนี้ พัทยาเป็นเมืองสำหรับครอบครัว กีฬา และ การประชุม MICE มีกิจกรรมดี ๆ ที่ให้ทำมากมาย”นายวิทนาถ กล่าว

 

ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวต่างชาติทยอย กลุ่มผู้เข้าพักของโรงแรมประมาณ 75% เป็นคนไทย และ จากทางยุโรป และ อินเดีย รวมกันอีกประมาณ 15% และ ทางโซนอาเซียน (AEC) ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อีกประมาณ 10% ซึ่งถือได้ว่าตอนนี้เริ่มมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้นจาก 2 ปีที่ผ่านอย่างมา

อย่างไรก็ตามในระยะต่อไปยังต้องติดตามผลกระทบจากมาตรการล็อกดาว์ของจีน และ ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ ที่จะกระทบกับภาคท่องเที่ยวได้ 

สำหรับปัจจัยที่จะกระทบกับธุรกิจท่องเที่ยวของไทยในช่วงปีนี้ถึงปีหน้าแบ่งเป็นปัจจัยบวกและปัจจัยลบ โดยปัจจัยบวกได้แก่ 

1.ภาครัฐมีการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจะทะลุ 10 ล้านคน และ สร้างรายได้มากกว่า 2 แสนล้านบาท

2.ข้อมูลจากบุ๊คกิ๊งดอทคอม ที่บอกว่าประเทศไทยเป็นเป้าหมายที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางมาไทย

3.การเดินทางมาไทยสะดวกมากกว่าหลายๆ ประเทศ

4.ไทยมีนโยบายเรื่องการให้ต่างชาติที่มีรายได้สูง มีทรัพย์สินมาก เข้ามาอาศัยในไทยได้ และ

5.เงินบาทที่อ่อนค่าก็หนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น

ส่วนปัจจัยลบที่อาจกระทบกับการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีจนถึงปีหน้าได้แก่ 

1.การที่จีนยังไม่เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวออกมาท่องเที่ยวได้ 

2. โรคระบาด ซึ่งโควิดจะกลายพันธุ์อีกหรือไม่ และ โรคระบาดอื่น ๆ 

 3.ค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวที่อาจเก็บสูงมากจนเกินไป และ

4.เงินเฟ้อ ค่าครองชีพ ที่สูงกระทบกับการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ

และ 5.คู่แข่งจากต่างประเทศ ทั้งฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ต่างดึงดูดการท่องเที่ยว