‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา

‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา

ร้านไก่ทอดเบอร์ 1 ของโลก "เคเอฟซี" ทำตลาดในไทยมานาน มีผู้รับสิทธิ์บริหารร้าน 3 ราย ได้แก่ ซีอาร์จี ไทยเบฟเวอเรจ และอาร์ดี ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวสำคัญเมื่อทุนจากอินเดีย DIL ได้ดีลบริหารร้านต่อจาก "อาร์ดี" ที่อยากขายสิทธิ์มานาน ซึ่งดีลจะปิดอย่างเป็นทางการมีนาคม ปี 67

นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในตลาดธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน(QSR)ภายแบรนด์ “เคเอฟซี” เมื่อมีแฟรนไชส์หน้าใหม่เข้ามารับเป็นผู้บริหารร้าน “รายที่ 3” แทนผู้เล่นเดิมคือบริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรืออาร์ดี(RD) หลังจากขายกิจการมานานแรมปี

ทุนใหม่ที่เตรียมเข้ามารับไม้ต่อคือ Devyani International DMCC บริษัทในเครือ Devyani International Limited (DIL) ซึ่งได้ดำเนินการ “เซ็นสัญญาลงทุนในบริษัทอาร์ดี” หรือ Restaurants Development Co., Ltd. ซึ่งเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ของ KFC ในประเทศไทย

 

สำหรับบริษัท DIL เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้บริหารของกลุ่มธุรกิจร้านอาหารบริการด่วนหรือ QSR หรือ Limited Service Restaurants : LSR ในประเทศอินเดีย เนปาล และไนจีเรีย ขณะที่ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ ทำให้ทั้ง RD และ DIL ร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจ QSR ในประเทศไทย

‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา เคเอฟซีอินเดีย

ส่วนธุรกิจร้านอาหารประเภทไก่ทอดเบอร์ 1 ของโลก อย่าง “เคเอฟซี-KFC” ในประเทศไทยได้รับการจัดการด้านแฟรนไชส์โดยบริษัท ยัม เรสเตอรองส์ (ประเทศไทย) จำกัด(Yum Restaurants International) ซึ่งเป็น บริษัทในเครือของ Yum Brands, Inc. โดยเคเอฟซีถือเป็นกลุ่มธุรกิจ QSR ในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ด้านการเติบโตของส่วนแบ่งการตลาดนับตั้งแต่ปี 2527 ที่เริ่มเปิดกิจการเป็นครั้งแรก

  • ซีอาร์จี-ไทยเบฟ-อาร์ดี 3 บิ๊กบริหารร้าน “เคเอฟซี”

ตลาดร้านอาหารบริการด่วนมีมูลค่าราว 4-5 หมื่นล้านบาท ตลาดแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ พิซซ่า เบอร์เกอร์ และไก่ทอด ซึ่ง “ไก่ทอด” ครองสัดส่วนมากถึง 50% หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท และ “เคเอฟซี” ยังมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 70% ในตลาดไก่ทอด เรียกว่า “ยืนหนึ่ง” อย่างแข็งแกร่ง

ตลาดใหญ่แต่ “เคเอฟซี” มีแฟรนไชส์ซี 3 รายบริหาร ซึ่งได้แก่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัดหรือซีอาร์จี ที่เป็นรายแรกรับสิทธิ์ดังกล่าว เคียงข้างกับ “ยัม” แต่ภายหลังนโยบาย Asset-Light ทำให้เห็นบรรดายักษ์ใหญ่ บิ๊กธุรกิจระดับโลก ที่มีแบรนด์แกร่งเลือกจะให้ทุนท้องถิ่น พันธมิตรบริหารร้านแทน และ “อาร์ดี” เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เข้ามาคว้าโอกาสบริหารร้านเคเอฟซีตั้งแต่ปี 2559 โดยกลุ่มผู้บริหารเป็นทีมงานที่คร่ำหวอดกับ “ยัม”

ช่วงเวลา 7 ปี จากจุดเริ่มมาเป็นแฟรนไชส์ร้านเคเอฟซีจำนวน 127 สาขา สามารถขยายร้านได้เป็น 274 แห่งในเดือนกันยายน 2566 เกิดการสร้างงานและโอกาสให้กับคนไทยกว่า 4,500 ชีวิต และอีกรายคือบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ที่ส่งบริษัทลูกอย่าง “เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย” พร้อมทุ่มเงินกว่า “หมื่นล้านบาท” เพื่อเขามาเป็นอีกขั้วของแฟรนไชส์ซีร้านเคเอฟซีตั้งแต่ปี 2561

‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา ใน 3 แฟรนไชส์ซีที่บริหารร้านเคเอฟซี “ไทยเบฟ” เร่งสร้างผลงานขั้นสุดมีร้านมากสุดในมือไม่ต่ำกว่า 450 สาขา จากจำนวนร้านปัจจุบันที่มี 1,060 สาขา โดยซีอาร์จี จะมีร้านภายในสิ้นปี 335 สาขา

  • ก่อน DIL ฮุบร้านเคเอฟซี 274 สาขา ‘ไทยเบฟ’ ก็อยากได้

หากย้อนดูสถานการณ์บริหารร้านเคเอฟซีของอาร์ดี จุดเด่นคือการยึดพื้นที่ภาคใต้ และหากพิจารณาทำเลถือว่าปลายด้ามขวานของไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว จุดหมายปลายทางของนักเดินทาง เมื่อเกิดวิกฤติโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทำให้บริษัทต้องเผชิญภาวะ “ขาดทุนบักโกรก” และสาขาของร้าน "มากกว่า 100 สาขา" อยู่ในภาคใต้นั่นเอง กรุงเทพธุรกิจ ได้สืบค้นข้อมูลระหว่างปี 2559-2564 บริษัทขาดทุนเกือบ 900 ล้านบาท จึงไม่ต้องสงสัย ถึงการยกธงขาวในสนามร้านอาหาร QSR ประเภทไก่ทอด

ความพยายามขายกิจการร้านที่มีนับร้อยสาขา เกิดขึ้นเป็นระยะ และแน่นอนว่าผู้ประกอบการที่ใช้มรรควิธัทางลัดด้วยการซื้อกิจการ ควบรวมกิจการต้องยกให้ “ไทยเบฟเวอเรจ”

กรุงเทพธุรกิจ ยังเคยสอบถาม “เจ้าสัวหนุ่ม ฐาปน สิริวัฒนภักดี” แม่ทัพใหญ่ไทยเบฟ ถึงความสนใจในการซื้อร้านเคเอฟซีต่อจากอาร์ดี ซึ่งคำตอบกระจ่างชัดอย่างอารมณ์ดีว่า บริษัทเปิดกว้างการลงทุน และสนใจรับบริหารร้านเคเอฟซีต่อ แต่ “ยัม เรสเทอรองตส์ ”ในฐานะเจ้าของแบรนด์ ไม่ต้องการให้มีคู่ค้าพันธมิตรหรือแค่แฟรนไชส์ซีรายใดรายหนึ่งเท่านั้น เพราะต้องการให้การแข่งขันกระจายตัว เพื่อไม่ให้ติดกับเกมธุรกิจที่จะไม่เติบโต

‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา ดังนั้น หากไทยเบฟ ได้ร้านเคเอฟซี ที่เหลือมาครอบครอง จะทำให้ธุรกิจใหญ่เกินไป

“กับกิจการเคเอฟซีของอาร์ดี จริงๆ เราเปิดกว้าง อยู่ที่ทางด้านยัมฯ ซึ่งแปลว่า Yummy แต่เขาอยากให้เกิดการกระจายตัวในการแข่งขัน เพื่อไม่ติดกับเกมไม่เติบโต ดังนั้นเขา(ยัมฯ)จึงยำเรา เพราะหากไทยเบฟซื้อร้านเคเอฟซีจากอาร์ดีมา เราจะใหญ่เกินไปแล้ว”

อ่าน ไทยเบฟสนรับบริหารร้าน "เคเอฟซี" ต่อจากอาร์ดี

อ่าน ซีอาร์จี เร่งเปิดร้านเคเอฟซี ดิจิทัล ตามนโยบาย "ยัมฯ"

การสอบถามผู้ประกอบการร้านอาหาร QSR รายอื่น ยังได้คำตอบว่าผู้ที่จะเข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 บริหารร้านเคเอฟซีจะผ่านด่านได้ต้องเข้าเงื่อนไขของ “ยัมฯ” หลายประการ

  • IDL คุ้นเคยยัมฯ เพราะบริหารเคเอฟซี พิซซ่าฮัท ฯมีร้านนับพันสาขา

มาทำความรู้จักกลุ่มบริษัท DIL ในประเทศอินเดีย ถือเป็นกลุ่มบริหารจัดการขนาดใหญ่ในสายธุรกิจ QSR/LSR ให้กับแบรนด์ชั้นนำระดับโลก อย่าง KFC, Pizza Hut ซึ่งเป็นแบรนด์ร้านอาหารในพอร์ตโฟลิโอของยัม และ Costa Coffee แบรนด์ของยักษ์น้ำดำโลก และอาณาจักรธุรกิจนั้นสร้างความมั่งคั่งหรือมีรายได้ระดับหมื่นล้านรูปีอินเดีย โดยผลประกอบการ 9 เดือน ของบริษัททำเงินกว่า 2.2 หมื่นล้านรูปีอินเดีย เติบโตถึง 50% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา พอร์ตโฟลิโอแบรนด์ร้านอาหาร กาแฟฯ ภายใต้ DIL

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจในเครือมีร้านอาหาร ร้านกาแฟให้บริการแก่ลูกค้ามากกว่า 1,350 แห่งทั่วโลก จึงสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเข้มแข็ง และ DIL มุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในกลุ่มบริหารจัดการสายธุรกิจ QSR/LSR ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเสริมสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการต่อยอดความสำเร็จ ในทุกพื้นที่ที่บริษัทเข้าไปบริหารจัดการธุรกิจ

สำหรับพันธมิตรทางธุรกิจระหว่าง DIL และ RD ต่างมีจุดมุ่งหมายในการขยายเครือข่ายสาขาในประเทศไทยผ่านความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการทางธุรกิจของทั้งสองบริษัท ยกระดับประสบการณ์ที่ดีของลูกค้ารวมไปถึงชุมชนต่างๆ

‘DIL’ แฟรนไชส์ซีขั้วที่ 3 รับช่วง ‘อาร์ดี’ บริหารร้าน “เคเอฟซี” ในไทย 274 สาขา อย่างไรก็ตาม การทำธุรกรรมระหว่าง DIL และอาร์ดี เพื่อบริหารร้านเคเอฟซี ยังอยู่ภายใต้การอนุมัติตามกฎระเบียบและการอนุมัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน เดือนมีนาคม 2567