‘ไทยเบฟ’ เร่งโตน้ำเมา ลุยบิ๊กโปรเจค 6 โรงงาน เพิ่มกำลัง 'เบียร์' 510 ล้านลิตร

‘ไทยเบฟ’ เร่งโตน้ำเมา ลุยบิ๊กโปรเจค 6 โรงงาน เพิ่มกำลัง 'เบียร์' 510 ล้านลิตร

อาณาจักรน้ำเมา "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" เร่งเสริมแกร่ง เบียร์ในเวียดนามภายใต้ SABECO คลอด จัมโบ้โปรเจคผุด 6 โรงงาน เพิ่มกำลังผลิตเบียร์ 510 ล้านลิตรต่อปี เหล้าขาว-สุราสี สร้างสีสันตลาด ร้านอาหารเปิดครึ่งปี 31 สาขา หนุนการเติบโต "ไทยเบฟ"

วันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา ไทยเบฟมีการประชุมประจำปี และรายงานผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก(ปีงบประมาณ ต.ค.65-มี.ค.66) ซึ่งกรุงเทพธุรกิจ เคยรายงานผลประกอบการไปแล้ว 6 เดือน บริษัทสร้างรายได้จากการขาย 148,295 ล้านบาท เติบโต 3.7% และมีกำไรสุทธิ 17,781 ล้านบาท “ลดลง” 584 ล้านบาท หรือคิดเป็นลดลง 3.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ในการประชุม ได้หยิบยก “กลยุทธ์” การทำตลาดที่เป็นอาวุธสำคัญสร้างการเติบโตของยอดขายแต่ละกลุ่มสินค้า

  • เติมความคึกคักเหล้าขาว-สุราสี

โดยกลุ่มสุราที่เป็น “แชมป์” ทำกำไรสูงสุด ซึ่งนอกจากยังคงรุกหนักกับสินค้าเรือธง ทั้งเหล้าขา “รวงข้าว” ไทยเบฟ ยังเดินหน้าเสริมแกร่งพอร์ตโฟลิโอสินค้าขยับสู่พรีเมียมปั้น “รวงข้าว ซิลเวอร์” อย่างต่อเนื่อง

แต่กลุ่มที่มีความคึกคักคือ สุราสี “หงส์ทอง” เพราะมีการออกบรรจุภัณฑ์รับเทศกาลต่างๆ ด้วยขนาด 700 มิลลิลิตร(มล.) หรือ 2 ขวดในแพ็คเดียวเอาใจคอทองแดง ส่วน “แสงโสม” รับปีกระตายด้วยแพ็คเกจจิ้งเฟสทีฟเช่นกันกับขนาด 700 มล. บรรจุ 2 ขวด และ “เบลนด์ 285” มีสินค้าซิกเนอเจอร์ เฟสทีฟบ็อกซ์เช่นกัน เป็นต้น

สินค้าในพอร์ตอื่นๆที่มีความเคลื่อนไหวทางการตลาดปีนี้ ยังมี “คูลอฟ” วอดก้า และการออกเหล้าบ๊วยหรือ Umeshu ยี่ห้อ “HAI” เข้ามาหาโอกาสจากนักดื่มด้วย ส่วนสินค้าในพอร์ตโฟลิโอที่เป็นบรรดาเหล้านอกจากโรงงานที่สก๊อตแลนด์อย่าง “อินเวอร์เฮ้าส์” และเบอร์ 1 สุราจากเมียนมา “แกรนด์ รอยัล กรุ๊ป” ต่างเดินเกมรุกไม่แพ้กัน เพื่อเบ่งอาณาจักรน้ำเมาให้แกร่งเกินต้าน

  • ช้าง ไม่หยุดไล่ล่าเบอร์ 1

ด้านธุรกิจ “เบียร์” เมื่อภารกิจสำคัญคือการโค่น “คู่แข่ง” เพื่อก้าวสู่บัลลังก์ “เบอร์ 1” แทน ปี 2566 จึงเห็นการวางหมากรบของ “เบียร์ช้าง” หลากหลายมิติ ทั้งเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่ให้น้ำหนักกับ “ช้าง โคลด์ บรูว์” ในการบุกหนักยิ่งขึ้น เพื่อดันสัดส่วนขายให้แตะ 15% ของพอร์ตเบียร์ช้างทั้งหมด

‘ไทยเบฟ’ เร่งโตน้ำเมา ลุยบิ๊กโปรเจค 6 โรงงาน เพิ่มกำลัง \'เบียร์\' 510 ล้านลิตร

เกมรุกดังกล่าว ยังเป็นการท้าชน “เบียร์สิงห์” ในสนามเดียวกันด้วย เพราะหากเทียบหมัดต่อหมัด “ลีโอ VS ช้าง คลาสสิค” คือคู่ต่อกรกันในตลาดแมสนั่นเอง

ช้าง โคลด์ บรูว์ วางงบกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อทำตลาด แต่โฟกัสจะอยู่ที่ “ช่องทางจำหน่าย ซึ่งหมุดหมาย “ร้านค้าทั่วไป” คือจุดที่ไทยเบฟ จะช่วงชิง และเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้สำเร็จ

ในมิติ “ขาย” ยังสร้างทีม เครือข่ายที่เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ยกระดับความสามารถทีมขาย เพื่อร่วมมือ เป็นพันธมิตรต่างๆ

ขาดไม่ได้คือ “กิจกรรม” ที่เบียร์ช้าง จัดรัวๆ เพื่อเอาใจผู้บริโภคและสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ เพิ่มเอนเกจเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นกีฬา คอนเสิร์ต ฯ

  • เร่งโตเบียร์ ในตลาดเวียดนาม

ตลาดไทย “เบียร์ช้าง” อาจเป็น “รอง” แต่ในเวียดนาม ไทยเบฟ ถือหุ้นใหญ่ใน SABECO เจ้าของแบรนด์เบียร์เบอร์ 1 ทั้ง ไซ่ง่อนเบียร์ 333 ฯ การทำตลาดต้องเชิงรุก เพื่อรักษาความเป็น “แชมป์เบียร์” ในตลาดอาเซียน ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดด้วย

‘ไทยเบฟ’ เร่งโตน้ำเมา ลุยบิ๊กโปรเจค 6 โรงงาน เพิ่มกำลัง \'เบียร์\' 510 ล้านลิตร

ทว่า ตลาดเบียร์ในเวียดนามท้าทาย เพราะต้องเผชิญดัชนี เศรษฐกิจ การส่งออกที่ “ชะลอตัว” รวมถึงการขายสินค้าและบริการผ่านห้างค้าปลีกอ่อนตัวลง แต่บริษัทมีหน้าที่สร้างการเติบโต จึงเห็นการขยายเซ็กเมนต์พรีเมียมมากขึ้น การสร้างแบรนด์และขยายตลาด เบียร์333 สู่ภาคเหนือของเวียดนาม ซึ่งอยู่ในเฟสแรกของการบุก เป็นต้น

ยิ่งกว่านั้น บริษัทยังมุ่งมั่นปั้น “Bia Saigon” ให้เป็นเบียร์แห่งความภาคภูมิใจของเวียดนาม ขยายพอร์ตพรีเมียม ขยายตลาดและช่องทางจำหน่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำโปรโมชั่นต่างๆ เป็นต้น

  • บิ๊กโปรเจค 6 โรงงาน เพิ่มกำลังผลิตเบียร์

ที่น่าสนใจคือการ “ปลดล็อก” ศักยภาพธุรกิจเบียร์ด้วยกลยุทธ์ซื้อและควบรวมกิจการ(M&A) และการมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งบิ๊กโปรเจคที่มี ระบุการเพิ่มโรงงานผลิตเบียร์ 6 แห่ง กำลังผลิต 510 ล้านลิตรต่อปี โรงงานบรรจุภัณฑ์ 3 แห่ง ปั้น SAGOTA เจาะตลาดเบียร์ระดับล่างหรือ Economy Segment เป็นต้น แต่บริษัทยังมีโปรเจคอื่นอีกด้วย เพื่อลดการสูญเสีย “กำไร”

ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ยังคงเพิ่มความแข็งแกร่งของแบรนด์ในพอร์ตโฟลิโอ ทั้งน้ำดื่ม น้ำอัดลม ชาเขียวพร้อมดื่ม เครื่องดื่มเกลือแร่ โซดาฯ โดย 3แบรนด์ที่เป็นกุญแจสำคัญ ยังเป็น “เอส-โออิชิ-คริสตัล” ปี 2566 “เอส” ปรับสูตรใหม่ในรอบ 10 ปี ให้โดนจนคนรุ่นใหม่ยิ่งขึ้น และยังเดินเกมสู่การเป็น “โคล่า” ระดับภูมิภาคด้วย ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ต้องติดตาม เพราะตลาดน้ำอัดลม หิน!

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวของหมวดนี้ คือ “โออิชิ” ที่เตรียมถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ ฯเพื่อลดต้นทุนและคล่องตัว รองรับแผนงานปรับโครงสร้างกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในอนาคต

‘ไทยเบฟ’ เร่งโตน้ำเมา ลุยบิ๊กโปรเจค 6 โรงงาน เพิ่มกำลัง \'เบียร์\' 510 ล้านลิตร ปิดท้ายที่ “อาหาร” ครึ่งปีแรกทำเงิน 9,365 ล้านบาท เติบโต 21.8% แต่กำไรยัง “บางเฉียบ” 82 ล้านบาท และลดลง 51.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทว่า บริษัทต้องเร่งสร้างการเติบโต ขานรับการบริโภคอาหารนอกบ้านกลับสู่ภาวะปกติ และนักท่องเที่ยวกลับมาไทย เพิ่มการบริโภคและการฟื้นตัว โอกาสมีแต่มาพร้อมกับโจทย์ “ต้นทุน” ที่ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน แรงงานทักษะขาดแคลน และการจ้างงานหรือค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น

สำหรับแผนขยายธุรกิจร้านอาหารปี 2566 ครึ่งปีแรก เครือไทยเบฟเปิดร้านใหม่แล้ว 31 สาขา ทำให้มีร้านทั้งสิ้น 761 สาขา จากปีก่อนมี 730 สาขา