ดีลอยท์ เปิดบทเรียนสำคัญ ‘ภาคค้าปลีก' ผ่านวิกฤต การปรับตัวเร็วคือผู้ชนะ

ดีลอยท์ เปิดบทเรียนสำคัญ ‘ภาคค้าปลีก' ผ่านวิกฤต การปรับตัวเร็วคือผู้ชนะ

ดีลอยท์ ประเทศไทย เปิดผลสำรวจผู้บริหารภาคธุรกิจค้าปลีก ยังเผชิญความผันผวน เงินเฟ้อ ผู้บริโภคกังวลเรื่องราคา บทเรียนสำคัญจากโควิด ต้องปรับตัวเร็วสร้างโอกาสชนะ ชี้โอกาสรุกเจาะคนรุ่นใหม่ พร้อมเปิดรับ มีกำลังซื้อมาแรง  

ชูพงษ์ สุรชุติกาล พาร์ทเนอร์ ที่ปรึกษาด้านสอบบัญชี และมาลี เอกวิริยะกิจ Senior Consultant-Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย เปิดเผยถึง “แนวโน้มและความท้าทายในอุตสาหกรรมค้าปลีก” ว่า ในปี 2566 ยังเป็นปีที่ท้าทายของธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมยังเผชิญความผันผวนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น ผลต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ธุรกิจค้าปลีกได้รับผลกระทบจากทั้ง เรื่องการเงิน และความท้าทายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เกิดการว่างเงินมากขึ้น และเงินเฟ้อ มีผลต่อกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคแม้ว่ารายได้จะสูงขึ้น จึงเกิดชะลอใช้จ่ายกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกมีกำไรลดลง รวมถึงผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องความสะดวกหันไปชอปปิ้งออนไลน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีและพิจารณาราคาก่อนการเลือกซื้อสินค้า

 

ส่วนผลการสำรวจของผู้บริหารสองในสาม พบว่าราคามีบทบาทสำคัญมากกว่าความภักดีต่อแบรนด์ แต่ราคามีโอกาสเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อและการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงมีผู้บริโภครุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ผู้บริโภครุ่นเก่ามากขึ้น

"สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้บริโภครุ่นใหม่จะสนใจบริษัทที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล และความหลากหลาย ความเสมอภาค และการอยู่ร่วมกัน"

 

ดีลอยท์ เปิดบทเรียนสำคัญ ‘ภาคค้าปลีก\' ผ่านวิกฤต การปรับตัวเร็วคือผู้ชนะ

ชูพงษ์ สุรชุติกาล พาร์ทเนอร์ ที่ปรึกษาด้านสอบบัญชี ดีลอยท์ ประเทศไทย

บทเรียนสำคัญที่ภาคธุรกิจค้าปลีกได้รับในช่วงสามปีที่ผ่านมา การศึกษาวิเคราะห์ทางการเงินของผู้ค้าปลีก 100 รายได้ให้ข้อมูลเชิงลึกพบว่า การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและการขาดแคลนวัตถุดิบหลังการแพร่ระบาด สร้างปัญหาต่อธุรกิจต่างๆ ทำให้ผู้ค้าปลีกต้องปรับตัวเข้ากับข้อจำกัดและเสนอบริการพิเศษ เช่น last-mile delivery จะได้เปรียบในช่วงที่เกิดโรคระบาด ผู้ค้าปลีกหลายรายเสนอการจัดส่งฟรีและบริการพิเศษ เช่น การจัดส่งภายในวันเดียวเพื่อสร้างความแตกต่าง

อีกทั้งผู้บริหารมากกว่าครึ่ง มีความมั่นใจกับแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลและโซเชียลมีเดียจะโตต่อเนื่องระดับสูง โดยแพลตฟอร์มที่มีอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลจะขยายตลาดกลุ่มผู้บริโภคใหม่ รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่ใช้สื่อดิจิทัลจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ส่งผลดีต่อการสร้างแบรนด์

ดีลอยท์ เปิดบทเรียนสำคัญ ‘ภาคค้าปลีก\' ผ่านวิกฤต การปรับตัวเร็วคือผู้ชนะ มาลี เอกวิริยะกิจ Senior Consultant-Clients & Markets ดีลอยท์ ประเทศไทย

แต่ภาคธุรกิจค้าปลีกควรระมัดระวังในการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ เนื่องจากความขัดแย้งหรือภาพลักษณ์ของอินฟลูเอนเซอร์อาจทำให้แบรนด์มีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบ จึงควรวางกลยุทธ์เลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลายจะช่วยกระจายความเสี่ยงได้

“กุญแจสู่ความสำเร็จในอุตสาหกรรมค้าปลีกคือความยืดหยุ่น โลกกำลังฟื้นตัวจากการล็อกดาวน์และการขาดแคลนที่เลวร้ายที่สุด ดังนั้นความคล่องตัวทางธุรกิจและความสามารถในการปรับตัวจึงสำคัญมาก สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ผ่านการจัดการห่วงโซ่ทางธุรกิจและการค้าดิจิทัล พร้อมต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว”