เจาะจุดแข็ง ‘ทรูไอดี’ กลยุทธ์ต่อกรสมรภูมิ 'สตรีมมิง'

เจาะจุดแข็ง ‘ทรูไอดี’ กลยุทธ์ต่อกรสมรภูมิ 'สตรีมมิง'

ศึกสตรีมมิง แม้จะเป็นเวทียักษ์ใหญ่แข่งเดือด แต่ "ทรูไอดี" แพลตฟอร์มสัญชาติไทยที่พร้อมยืนหนึ่งขับเคี่ยวในสมรภูมิ ส่องกลยุทธ์ การตีโจทย์ธุรกิจ นำเสนอคอนเทนต์ที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย มีอะไร ติดตาม!

รายงานข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ผู้บริโภควิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Media Partners Asia (MPA) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดสื่อระบุว่า ในปี 2566 แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งต่างๆ ในอาเซียนมีแนวโน้มโฟกัสการรักษาฐานลูกค้า การจัดการ “รับมือกับลูกค้าที่จะเลิกใช้บริการ” รวมถึงการ “ปรับขึ้นราคา” ค่าบริการ เป็นสำคัญ

นอกจากนี้ MPA ได้เสนอรายงานวิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ระบุว่า “ทรูไอดี”(TrueID) เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่มีการเติบโตในประเทศไทย โดยจับกลุ่มผู้ชม Video On Demand แบบพรีเมียมในไตรมาสที่ 1 ได้ถึง 30% จากการคอนเทนต์การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก หนึ่งใน Content is King ที่เป็นจุดเด่นสำคัญของแพลตฟอร์ม

ขณะที่กลยุทธ์การทำงานและภารกิจของทีมงาน TrueID ยังมุ่งส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์เพื่อผู้ใช้งานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

  • Local Player เข้าใจ Insight คนไทย

ฐาศิริ ธนภัทรเธียรเลิศ Strategic Synergy Lead ของ TrueID เริ่มต้นด้วยการอธิบายจุดยืนในตลาดของแพลตฟอร์ม คือ “คอนเทนต์” ที่มีมากกว่าวิดีโอสตรีมมิ่ง เพราะมีทั้งสตรีมมิ่ง ไลฟ์ทีวี VOD (Video On Demand) เพลง ข่าวและบทความ

“เราคัดสรรคอนเทนต์ให้ตรงใจผู้ใช้งานชาวไทยมากที่สุด”

เจาะจุดแข็ง ‘ทรูไอดี’ กลยุทธ์ต่อกรสมรภูมิ \'สตรีมมิง\'

TrueID มีการเติบโตของฐานผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU: Monthly Active Users) 36 ล้านราย (ข้อมูล ณ พ.ค.66) เพิ่มจากช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในปี 2562 ที่มีเพียง 10 ล้านราย โดยผู้ใช้งานปัจจุบันแบ่งเป็นฐานลูกค้าทรู 75% และผู้ใช้งานทั่วไป 25%

ทั้งนี้ กลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ของ TrueID มีมากมาย ดังนี้

1. Partnership การการผนึกกำลังกับพันธมิตรอย่าง TrueVisions Now ที่เป็นผู้นำด้านคอนเทนต์กีฬาในตลาด ทำให้มีการถ่ายทอดรายการกีฬาระดับโลก เช่น ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ซึ่งคอนเทนต์กีฬาเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ผู้ชมนิยม วัดได้จากฟุตบอลโลกปี 2565 มียอดผู้ชมจาก TrueID สูงสุดถึง 42 ล้านคน

2. Exclusive Content คอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ ทั้งคอนเทนต์ลิขสิทธิ์และการผลิต Original Series โดยความร่วมมือกับ True CJ Creation (บริษัทร่วมทุนระหว่าง TrueVisions Group และ CJ ENM จากเกาหลีใต้) เช่น ซีรีส์เรื่อง 23:23 สัญญาสัญญาณ

เจาะจุดแข็ง ‘ทรูไอดี’ กลยุทธ์ต่อกรสมรภูมิ \'สตรีมมิง\' 3. Localization การพากย์ภาษาไทยในคอนเทนต์เกือบ 100% เพื่อรองรับกลุ่มผู้ชมไทยในระดับกว้าง(Mass) ให้เข้าถึงคอนเทนต์ต่างประเทศได้ง่าย ไม่มีอุปสรรคด้านภาษา และ 4.Personalization การคัดสรรคอนเทนต์ตรงความสนใจผู้ใช้งานเฉพาะบุคคล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอไอ(AI) มีการแบ่งกลุ่มไว้ถึง 10 Persona Segments เช่น แฟนอบล คออนิเมะ เรียลติลี้ ติดซีรีส์งอมแงม เป็นต้น

  • พัฒนาแอปฯ ก้าวสู่การเป็น Content Aggregato

นอกจากนี้ การพัฒนาแอปพลิเคชั่น ยังคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ให้เข้าถึงทุกอุปกรณ์ เพื่อรับบริการอย่างเท่าเทียมกัน

เราพยายามลดความยากในการใช้งาน พร้อมกับการปรับปรุงให้สอดรับกับสภาพสังคมของผู้ใช้งานในปัจจุบันที่หลากหลาย เช่น เพิ่มเมนูภาษาเมียนมา การทำให้ฟีเจอร์หลายอย่างง่ายมากขึ้น ตอบโจทย์ผู้ใช้งานกลุ่มผู้สูงวัย เป็นต้น”

TrueID ยังปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อก้าวสู่อนาคตอันใกล้ ในการมุ่งเป็น “Content Aggregator” จะผนึกพันธมิตรเพื่อคัดสรรและรวบรวมบริการที่หลากหลายไว้ด้วยกัน ต่อยอดด้านสิทธิประโยชน์กับพันธมิตร และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา เสนอแพ็กเกจในลักษณะ Bundle ที่คุ้มค่าและมีทางเลือกหลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้าหลายกลุ่ม รวมถึงเป็นการลดอัตราการเลิกเป็นลูกค้า (Churn Rate) ของกลุ่มลูกค้าเดิมด้วย

อีกหนึ่งความแตกต่างที่ TrueID เหนือ “คู่แข่ง” ในตลาด คือการมีฟีเจอร์ Community ในลักษณะของ User-Generated Content (UGC) โดยผู้ใช้งานในชุมชนนี้จะมีการสร้างคอนเทนต์ที่สดใหม่ หลากหลาย เอื้อประโยชน์ต่อกลยุทธ์การเป็น Content Aggregator

เจาะจุดแข็ง ‘ทรูไอดี’ กลยุทธ์ต่อกรสมรภูมิ \'สตรีมมิง\'

  • “ทีมงาน” เบื้องหลังความสำเร็จ

การนำเสนอคอนเทนต์ที่โดนใจผู้ชมของ TrueID ยกให้ “ทีมงาน” กว่า 200 ชีวิต ที่มีทักษะและความหลากหลาย เติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาบริการใหม่ ๆ “ทุกมุมมอง ประสบการณ์ และความคิดเห็นของทีมงาน คือตัวแทนเสียงของผู้ใช้งานในตลาดได้ทั้ง 10 Persona Segments”

พสธร สุวรรณศรี Data Scientist จากส่วนงาน Digital Growth Insight ผู้รับผิดชอบงานด้านข้อมูลในระบบหลังบ้าน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ได้มีการปกป้องข้อมูลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เล่าว่าการทำงานกับทีมที่มีภูมิหลังและประสบการณ์การใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมข้อมูลให้เหมาะกับสายงานต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายนำไปต่อยอดสร้างสรรค์งานได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น

จิราพัชร ใจเย็น Associate Product Owner และ รัฐมณฑน์ ฑีฆวาณิช Senior Product Owner ที่รับผิดชอบดูแลฟีเจอร์ Community เล่าว่า การทำงานกับคนที่มีความหลากหลายช่วยจุดประกายความคิดในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในงานได้เสมอ ยิ่งเมื่อองค์กรเปิดกว้างและส่งเสริมให้ทุกคนได้กล้าแสดงความเป็นตัวเองในทุกมิติ นำมาต่อยอดสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด