ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น "ของฝากจากกรุงเทพฯ"

ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น "ของฝากจากกรุงเทพฯ"

เปิดกลยุทธ์ “kanom” แบรนด์เบเกอรีไทยที่อยู่มากว่า 20 ปี กับการเปลี่ยนมือครั้งที่ 3 สู่ผู้ถือหุ้นใหม่ ภายใต้การบริหารของ “FNS Holdings PLC” โดย “ศนิษฐา อัศวจินดา” ตั้งเป้าเป็น “ของฝากประจำกรุงเทพฯ” ปรับให้ทันสมัยเข้าถึงทุกช่วงอายุ

หากพูดถึงแบรนด์เบเกอรีไทยที่ขึ้นชื่อในเรื่องของ “ทาร์ตไข่” หลาย ๆ คนคงจะต้องนึกถึงชื่อของ “kanom” อย่างแน่นอน แม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่า 24 ปีแล้ว แต่ kanom ยังคงรักษาคุณภาพ รสชาติ และมาตรฐานของเบเกอรีไว้ได้ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า และขยายสาขาแล้ว 23 แห่งในปัจจุบัน 

หลายคนอาจไม่ทราบว่า นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2542 ร้านเบเกอรีแบรนด์นี้ ได้เปลี่ยนมือ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” มาแล้ว 3 ครั้งด้วยกัน โดยล่าสุดตกอยู่ใต้ร่ม “FNS Holdings PLC” ที่เข้าถือหุ้นในบริษัท ขนม คาเฟ่ จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท ขนมแฟคตอรี่ (1999) จำกัด) เจ้าของแบรนด์ร้านเบเกอรี ‘kanom’ ในสัดส่วน 30% เมื่อเดือนมิถุนายน 2564

หลังจากประคองตัวฝ่ามรสุมพิษเศรษฐกิจจากโควิด-19 มาได้แล้ว ก็ถึงเวลากดปุ่มรีสตาร์ทให้กับ kanom อีกครั้ง โดย “กรุงเทพธุรกิจ” ได้พูดคุยกับ “ศนิษฐา อัศวจินดา” กรรมการบริหารบริษัท ขนม

คาเฟ่ จำกัด และผู้บริหาร FNS Holdings PLC บริษัทโฮลดิ้งส์เพื่อการลงทุนของไทย ซึ่งย้อนความถึงตอนที่ FNS เข้ามารับช่วงต่อเป็น “ทีมบริหารรุ่นที่ 3” ของแบรนด์ kanom ว่า

“kanom เป็นธุรกิจที่มีรากฐานที่มั่นคง มีลูกค้าเหนียวแน่น และทางผู้บริหารหลาย ๆ คนต่างชื่นชอบในรสชาติของ kanom เรามองเห็นหนทางที่จะพัฒนาและเติบโตไปต่อได้ แบรนด์ไม่ได้ดูแแก่เกินไป ตอนนี้เราถือหุ้นอยู่ 30% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดของแบรนด์”

ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น \"ของฝากจากกรุงเทพฯ\"

ปัจจุบัน ร้าน kanom มีด้วยกันทั้งสิ้น 23 สาขา โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ สำหรับ “kanom Dining room” สาขาสุขุมวิท 49 เป็นสาขาที่ให้บริการเต็มรูปแบบ ทั้งเมนูคาว ของหวาน เบเกอรี่ และเครื่องดื่ม ซึ่งถูกปรับปรุงใหม่ให้มีภาพลักษณ์และเมนูให้มีความทันสมัยขึ้น เข้าถึงคนรุ่นใหม่ แต่ยังเป็นร้านที่เป็นมิตรกับคนทุกวัย

ส่วน “kanom Café” ร้านที่เน้นเมนูทานง่าย ทั้งอาหารและเบเกอรีในรูปแบบ Quick Meal เหมาะสำหรับกลุ่มพนักงานออฟฟิศและคนเมืองที่อาจไม่ได้มีเวลามากนัก ก็จะมีสาขาลาวิลล่า อารีย์, สามย่านมิตรทาวน์, อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิชั้น 3 และสาขาใหม่ ปั๊มน้ำมันปตท. พระราม 4 

ขณะที่ Grab & Go จะเป็นร้านที่ไม่มีที่นั่ง จะมีขายแต่เบเกอรี ส่วนใหญ่จะอยู่ตามห้างสรรพสินค้าและภายในเกตของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่ลูกค้าสามารถซื้อและถือขึ้นเครื่องบินได้ทันที

ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น \"ของฝากจากกรุงเทพฯ\"

ร้าน kanom Dining room สาขาสุขุมวิท 49

 

  • เข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น

ศนิษฐา เผยถึงผลการดำเนินงานในปี 2565 ว่า ภาพรวมรายได้ของร้าน kanom เติบโตขึ้นเกือบ 100% เมื่อเทียบกับปี 2564 เนื่องจากทุกสาขาสามารถกลับมาเปิดทำการได้เป็นปกติ อีกทั้งยังมีการเปิด 2 สาขาใหม่ในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นจุดที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงลูกค้าคนไทย ทั้งชาวกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยสินค้าที่ขายดีที่สุดยังคงเป็น ทาร์ตไข่ และปาท่องโก๋

“ถึงแม้เราจะยังไม่ได้ไปเปิดสาขาในต่างจังหวัด หรือ ต่างประเทศ แต่คนรู้จักเราในฐานะของฝาก” ศนิษฐากล่าวเสริม

ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น \"ของฝากจากกรุงเทพฯ\"

สำหรับเป้าหมายในปีนี้ ทางผู้บริหารต้องการให้ kanom เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกวัย ตั้งมั่นให้เป็น “ของฝากประจำกรุงเทพฯ” ที่ทุกคนต้องนึกถึง โดยวางแผนจะขยายสาขาตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำและทำเลใหม่ที่มีผู้คนสัญจรเป็นจำนวนมาก รวมถึงใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการจัดจำหน่ายสินค้า เพื่อขยายฐานลูกค้ารุ่นใหม่และต่างจังหวัด

เราเพิ่มช่องทางการขายผ่านช่องทางออนไลน์ในหลาย ๆ แพลตฟอร์ม เป็นการกระจายสินค้าของเราให้ลูกค้าได้เห็นมากขึ้น สามารถส่งให้ลูกค้าต่างจังหวัดได้ ซึ่งเราต้องหาวิธีการจัดส่งให้ขนมไม่เสียหาย และพัฒนาอายุของสินค้าให้นานขึ้น”

อย่างไรก็ตาม แม้ลูกค้าชาวไทยและชาวต่างชาติเรียกร้องให้ kanom ขยายสาขาไปยังต่างจังหวัด และต่างประเทศ แต่ ศนิษฐา ยอมรับว่าแบรนด์ยังไม่พร้อมทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ และขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ แต่มีพูดคุยถึงการนำสินค้าไปวางขายในร้านสะดวกซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น \"ของฝากจากกรุงเทพฯ\"

 

  • คงคุณภาพเป็นสำคัญ

ปัจจุบันธุรกิจเบเกอรีระดับพรีเมียมมีการแข่งขันกันสูง ไม่เพียงแค่แบรนด์ขนมอบของไทยเท่านั้นที่เข้าร่วมสมรภูมินี้ แต่ยังมีแบรนด์จากต่างประเทศที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดนี้อีกด้วย ทำให้ kanom ต้องชูจุดเด่นด้วย “รสชาติดั้งเดิม” ที่ทุกคนคุ้นเคย และแสดงถึงคุณภาพของวัตถุดิบ

“ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้าของเราพรีเมียมอย่างไร เราต้องทำให้ลูกค้าเห็นคุณค่าและคุณภาพของวัตถุดิบที่เราคัดสรรมาอย่างดี ไม่ยอมลดคุณภาพลง สมกับราคาที่จ่ายไป กินแล้วรู้ทันทีว่านี่คือ ทาร์ตของ kanom ที่คงรสชาติเดิม ซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา”

อีกสิ่งหนึ่งที่ขนม kanom ให้ความสำคัญ คือ การรักษาคุณภาพให้สินค้าทุกชิ้นมีคุณภาพเท่ากันทั้ง 23 สาขา ซึ่ง ศนิษฐา ถือเป็นความท้าทายที่สุดในการทำธุรกิจขนม 

“แม้ว่าในปัจจุบันจะมีครัวกลางอยู่ แต่ท้ายที่สุดแล้วยังมีขั้นตอนที่ต้องทำหน้าร้านด้วย เป็นความประณีตในแบบเฉพาะของเรา เพราะลูกค้าจะต้องได้รับความอร่อยที่คุ้นเคยในขนมทุกชิ้น ดังนั้นเราต้องสร้างทีม อบรมพนักงานให้เข้าใจสิ่งที่เราให้ความสำคัญ”

kanom ยังคงไม่หยุดนิ่ง คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าทุกวัยที่ยังมีความอบอุ่นสไตล์ kanom ด้วยการนำเทรนด์มาปรับให้เข้ากับแบรนด์ และอยู่ได้อย่างมั่นคง ทำให้ใช้เวลานานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด ตอบโจทย์ความเป็น kanom โดยพัฒนาจากสิ่งที่แบรนด์ถนัด เห็นได้จาก “ทาร์ตทอง” สินค้าชิ้นล่าสุดที่เป็นการนำไส้ของทาร์ตไข่ที่เป็นสินค้าขายดี มาใส่ในแป้งครัวซองค์ที่ขึ้นชื่อและได้รับความนิยมของแบรนด์

จึงต้องติดตามกันต่อว่า หลังจากนี้ “FNS Holdings PLC” นั้นจะพาแบรนด์ kanom ไปได้ไกลขนาดใด ในสมรภูมิตลาดเบเกอรีที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยมูลค่าสูงถึง 90,000 ล้านบาท และจะมีอะไรใหม่ ๆ มาให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อกันอีก

ร้าน “kanom” ซีซั่นใหม่! ในมือผู้ถือหุ้นใหม่ ตั้งเป้าเป็น \"ของฝากจากกรุงเทพฯ\"