ผู้บริโภควอนรัฐ-เอกชน ตรึงราคาสินค้า เทรนด์แรงปี 66 เป็นหนี้-จ่ายทีหลัง

ผู้บริโภควอนรัฐ-เอกชน ตรึงราคาสินค้า เทรนด์แรงปี 66 เป็นหนี้-จ่ายทีหลัง

นาทีนี้ประชาชนต้องการให้รัฐ-เอกชน หาทางตรึงราคาสินค้า บรรเทาความเดือดร้อน ถึงแม้ผู้บริโภคจะเผชิญภาวะข้าวของราคาแพง แต่การมีชีวิตอยู่ยังต้องกินต้องใช้ และสินค้าที่โดนใจบางครั้งไม่เคยรอผู้ซื้อ ทำให้เกิดพฤติกรรม ซื้อก่อน เป็นหนี้จ่ายทีหลัง

มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร ในเครือกรุ๊ปเอ็ม เปิดแนวโน้มหรือเทรนด์ของพฤติกรรมผู้บริโภคที่น่าสนใจในปี 2566 ซึ่งจะมีผลต่อการสื่อสารและทำการตลาดของแบรนด์สินค้าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

หลังโควิดคลี่คลาย สถานการณ์เศรษฐกิจเห็นภาพชัดขึ้นว่าทั้งโลกอยู่ใน “ภาวะถดถอย” หรือ Recession แต่ประเทศไทยยังมีสัญญาณการรีบาวด์ จากท่องเที่ยวฟื้นตัว การบริโภค การลงทุนภาคเอชนที่เคลื่อนการขยายตัวของจีดีพี เป็นต้น

ขณะที่ 6 พฤติกรรมผู้บริโภคต้องจับตาปีนี้ ณัฐา ปิยะวิโรจน์เสถียร ผู้อำนวยการแผนกวางแผนกลยุทธ์ มายด์แชร์ ประเทศไทย ฉายภาพรวมจะเห็นผู้คนใส่ใจตัวเอง และปรับตัวในการใช้ชีวิตมากขึ้น การจับจ่ายใช้สอยกลับมาอีกครั้ง หลัง 2-3 ปีเหมือนอยู่ในโหมดจำศีล เสียสละตัวเองเพื่อ “รัดเข็มขัด” เพื่อต่อกรกับโรคระบาด

สำหรับเทรนด์แรกคือการจับจ่ายใช้สอยแบบชักเย่อ(Tug of wall spending) ที่พฤติกรรมผู้บริโภคเป็นเช่นนี้ เพราะมองตัวแปร “เศรษฐกิจ” ยังไม่ดีขนาดที่จะกลับมาใช้จ่ายคึกคัก แต่จะให้ “ประหยัด” ต่อไปอีก หรือ “หยุดใช้จ่าย” คงไม่เกิดขึ้นแล้ว เพราะวิกฤติโควิดเสียสละมามากแล้ว

ผู้บริโภควอนรัฐ-เอกชน ตรึงราคาสินค้า เทรนด์แรงปี 66 เป็นหนี้-จ่ายทีหลัง ทว่า แนวทางการใช้เงินจะ “ชาญฉลาด” ยิ่งขึ้น พฤติกรรมการซื้อสินค้าจะมองหาแบรนด์ที่มีความ “คุ้มค่า” และอาจเป็นแบรนด์ที่ “ราคาต่ำลง” เช่น สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของห้างร้านต่างๆ

 

 “วันนี้เงิน 100 บาทหรือ 1,000 บาท ไม่สามารถซื้อสินค้าได้มากเหมือนในอดีต ดังนั้นเกมของความคุ้มค่า หรือ value equation game จะมีผลต่อการตัดสินใจจองผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการ”

 

ปัจจุบันผู้ผลิตสินค้าเผชิญภาวะ “ต้นทุนพุ่ง” จนหลายแบรนด์ต้องขยับราคาขายต่อเนื่อง สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคเกิดข้อเรียกร้องจาก “ภาครัฐ” และฝั่งเอกชนผู้ผลิตให้ช่วยกัน “ตรึงราคา” ในต่างประเทศ เช่น แคนาดา สหรัฐฯ ช่วงเวลาสำคัญอย่างเทศกาลยิ่งใหญ่ต่างๆ ได้ทำแคมเปญสินค้าราคาเดียวกับปีที่แล้ว เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าสำหรับการเฉลิมฉลอง สร้างโมเมนต์แห่งความสุขได้ต่อเนื่อง

ผู้บริโภควอนรัฐ-เอกชน ตรึงราคาสินค้า เทรนด์แรงปี 66 เป็นหนี้-จ่ายทีหลัง

 

“สิ่งที่ผู้บริโภคมองหาคือแบรนด์มีส่วนช่วยทำให้เงินที่ใช้จ่ายมีมูลค่าขึ้นอย่างไรได้บ้าง เช่น การตรึงราคาสินค้า”

 

นอกจากนี้ การใช้จ่ายจะเห็นพฤติกรรมอยู่เพื่อวันนี้ ยอมจ่าย(หนี้)ภายหลัง หรือ Live for Today, Pay(debt) Later เนื่องจากทุกคนมีกิเลสและความต้องการบริโภควันนี้ เงินเดือนออก ต้องกินต้องใช้ แต่เศรษฐกิจท้าทายทำให้เกิดความย้อนแยง เพราะสินค้าบางอย่างไม่ได้รอลูกค้าเสมอ ใน 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น

เทรนด์ดังกล่าวจึงเห็นเทคโนโลยีการเงิน ซื้อวันนี้ จ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later : BNPL) คว้าสร้างโอกาสโต และอนาคตคาดการณ์ปี 2569 จะโตถึง 260%

 

ผู้บริโภควอนรัฐ-เอกชน ตรึงราคาสินค้า เทรนด์แรงปี 66 เป็นหนี้-จ่ายทีหลัง

 

เทรนด์รักสุขภาพ : การใส่ใจตัวเองไม่แค่ร่างกายฟิต แข็งแรง กินอยู่ดี แต่สุขภาพจิตต้องดีด้วย หากสินค้าตอบสนองความต้องการได้ย่อมเพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย เช่น ผลิตภัณฑ์แพลนท์เบส ตอบเทรนด์สุขภาพและสร้างความยั่งยืนให้โลก

“เทรนด์โลกพบว่าผู้บริโภค 70% ให้ความสำคัญกับการรักษาร่างกายและจิตใจให้ดี”

 

การมองหาประสบการณ์ที่ดีจากแบรนด์ : ที่ตอบโจทย์เฉพาะแต่ละบุคคลมากขึ้น ซึ่งการเก็บข้อมูลช่วยให้เชื่อมต่อผู้บริโภคได้แม่นยำ เพิ่มความสะดวกสบาย ยกระดับชีวิตให้ลูกค้าดีขึ้น

 

ยุคการบริโภคอย่างชาญฉลาด : โดยผู้บริโภคยุคนี้ห่วงหลายมิติ ทั้งสิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียม ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ความเห็นต่าง การกลั่นแกล้ง ฯ จึงพร้อมทำหน้าที่สอดส่อง และ “ตรวจตรา” แบรนด์ที่ไม่ตระหนักในเรื่องดังกล่าว ข้อมูลจากยูโรมอนิเตอร์ ระบุคนไทยมองหาทริปเที่ยวในประเทศ 48% แม้การเปิดประเทศทำให้คนเที่ยวต่างแดนได้ก็ตาม

 

ผู้บริโภควอนรัฐ-เอกชน ตรึงราคาสินค้า เทรนด์แรงปี 66 เป็นหนี้-จ่ายทีหลัง

 

การแสดงพลังในฐานะผู้บริโภค : ปัจจุบันเสียงของลูกค้ามีความสำคัญกับแบรนด์มากขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าและบริการ สร้างประสบการณ์ที่ดี ตัวอย่าง ยูนิลีเวอร์ เปิดกว้างให้ผู้บริโภคมีส่วนแนะนำนวัตกรรม ไอเดียต่างๆ เมื่อต่อยอดสู่ธุรกิจยังได้รับผลตอบแทนกลับไป

 

การหลอมรวมทุกอย่างเข้ากับโลก : ปี 2565 ถือเป็นการ “ซ้อมใหญ่” เพื่อกลับสู่การใช้ชีวิตหลังโรคระบาด และปี 2566 คนกลัวไม่ได้ใช้ชีวิต จึงพร้อมออกไปสัมผัสทุกประสบการณ์ ซื้อสินค้าจริง แต่การทำตลาดแบรนด์ต้องผสานโลกจริงและโลกดิจิทัลให้ตื่นเต้นตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากขึ้นอข้อมูลยูโรมอนิเตอร์ ระบุว่า

  • คนไทย 71% ต้องการกลับไปใช้ชีวิตเหมือนก่อนโควิด
  • ชาวอาเซียน 50% ต้องการเดินทางในอีก 6 เดือนข้างหน้าเชื่อมต่อโลกกว้าง เพิ่มพูนประสบการณ์หลายมิติ
  • 65% ต้องการเที่ยวจริงไม่แค่ผ่านหน้าจออีกต่อไป