'Vans' ยกไทยท็อป 5 ตลาดสำคัญเอเชีย ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู่ฐานใหม่

'Vans' ยกไทยท็อป 5 ตลาดสำคัญเอเชีย ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู่ฐานใหม่

Vans ชูไทยยืนหนึ่งในตลาดรองเท้าที่สำคัญติดท็อป 5 ของเอเชีย และยังมีการฟื้นตัวเร็วสุดหลังโควิดคลี่คลาย เปิดแผนโต ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สร้างคอมมูนิตีเชื่อมฐานลูกค้าเก่า ขยายสู่กลุ่มใหม่ทั้งศิลปะ ดนตรี โกยขุมทรัพย์ใหญ่

จากจุดเริ่มต้นผลิตรองเท้าเจาะทุกกลุ่มเป้าหมาย แต่เจอจุดเปลี่ยนเหล่าสเก็ตเตอร์ถูกใจในความทนทานขั้นสุด สีสันลวดลายจี๊ดโดนใจ ทำให้ “Vans”(แวนส์) ถูกยกชั้นเป็นแบรนด์รองเท้าสำหรับใส่เล่นสเก็ตที่ดีสุดในโลก

จุดแข็งดังกล่าว ทำให้ Vans ต่อยอดการทำตลาด สร้างการเติบโตในกลุ่มคอมมูนิตี้ผู้ชื่นชอบการเล่นสเก็ตบอร์ด จนถึงปัจจุบัน แม้การจับกลุ่มเป้าหมายถูกมองเป็น Niche Market แต่สำหรับ Vans นั่นคือ DNA ของแบรนด์ที่ละทิ้งไม่ได้

Vans ทำตลาดในประเทศไทยมานาน แต่ปี 2561 มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีพันธมิตรอย่างบริษัท ไทย เอาท์ดอร์ สปอร์ต จำกัด เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ Vans ในไทยอย่างเป็นทางการ

รองเท้า Vans มีรุ่นยอดนิยมมากมายที่เป็น “ตำนาน” ไม่ว่าจะเป็น Authentic Era หรือ Old Skool ซึ่งผู้บริโภควัยรุ่น อาจมีไว้ซักคู่ ทว่า ปี 2565 Vans ได้จัดงาน “ครบรอบ 30 ปี รองเท้าสเก็ตบอร์ด Vans รุ่น Half Cab” ในวันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2565 โดยตลาดเอเชียมีขึ้นในประเทศไทยและเกาหลีใต้ จึงเป็นโอกาสดีที่แม่ทัพธุรกิจคนสำคัญเดินทางมาเยือนไทย พร้อมบอกเล่าแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจสร้างการเติบโต

เจสัน กู้ด รองประธานฝ่ายแบรนด์ภูมิภาคเอเชีย ของแวนส์(Vans) ฉายภาพว่า Vans ในประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญท็อป 5 ของเอเชีย แนวทางทำตลาดยังเน้นต่อยอด DNA ของแบรนด์คือการโฟกัสวัฒธรรมสเก็ตบอร์ด สร้างสัมพันธ์หรือ Engagement กับเหล่าสเก็ตเตอร์ในคอมมูนิตีต่างๆ

\'Vans\' ยกไทยท็อป 5 ตลาดสำคัญเอเชีย ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู่ฐานใหม่

เจสัน กู้ด 

ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทั่วโลกไม่สามารถทำกิจกรรมเอ็กซ์สตรีม ออกมาพบปะกันในชุมชนของตัวเอง การเล่นสเก็ตบอร์ดก็เช่นกัน ส่วนประเทศไทย “เซิร์ฟสเก็ต” กลายเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้น ได้รับความนิยมข้ามคืน เพราะการกักตัวเองอยู่บ้านเป็นเวลานาน ต้องหากิจกรรมสนุกๆฆ่าเวลา และเป็นปัจจัยหนุนให้รองเท้า Vans เติบโต ทว่า จุดยืนที่แบรนด์รักษาอย่างเหนียวแน่น ยังคงมุ่งไปที่การสนับสนุนให้ผู้คนชื่นชอบสเก็ตบอร์ดได้มีพื้นที่เล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีม

“สเก็ตบอร์ดไม่ใช่เทรนด์ แต่คือตัวตนของแบรนด์ Vans ส่วนเทรนด์มาแล้วก็ไป ดังนั้นการทำตลาดรองเท้า Vans จึงมุ่งไปที่การสนับสนุนให้คอมมูนิตีของเหล่าสเก็ตเตอร์มีสถานที่ทำกิจกรรม” เขาเล่าและขยายความว่า การมี “พื้นที่” ให้สเก็ตเตอร์ได้เล่นสเก็ตบอร์ด ทำกิจกรรมๆต่างๆ จะสร้างโอกาสให้แบรนด์เชื่อมสัมพันธ์กับคอมมูนิตีได้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

นอกจากตลาดเป้าหมายคือชาวไทยที่ชื่นชอบการเล่นสเก็ตบอร์ด แต่ภารกิจการขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น สำคัญไม่แพ้กัน โดย Vans จะต่อยอดจากกิจกรรมเอ็กซ์ตรีมดังกล่าวไปสู่ศิลปิน ผู้ชื่นชอบศิลปะต่างๆด้วย อย่างการจัดงานฉลองครบรอบ 30 ปี รองเท้าสเก็ตบอร์ด Vans รุ่น Half Cab ซึ่งมีขึ้น ณ “บ้านพรีดิ๊วซ์” พันธมิตรของ Vans และ "ไทย เอาท์ดอร์ สปอร์ต" นอกจากมีนักสเก็ตระดับตำนานของโลกอย่าง “Steve Caballero” มาร่วมงาน ยังมีคนดนตรี ศิลปะ และการออกแบบเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ตอกย้ำการสร้างสรรค์พื้นที่ศูนย์กลางวัฒนธรรมสเก็ตบอร์ด ดนตรี ศิลปะเข้าด้วยกันอย่างแท้จริง

\'Vans\' ยกไทยท็อป 5 ตลาดสำคัญเอเชีย ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู่ฐานใหม่

สตีฟ คาบาลเลโร - เจสัน กู้ด

เป้าหมายภายใน 3-5 ปี “เจสัน” ยังคงสานต่อภารกิจการสร้างเครือข่ายคอมมูนิตีของ Vans ให้ใหญ่ขึ้น เป็นแหล่งให้ผู้ชื่นชอบกีฬาแนวผาดโผน ดนตรี ศิลปะฯ กลับมาพบปะกันอีกครั้ง หลังจากโควิดทำให้ทุกอย่างชะงักงันไปนาน

“ช่วงโควิดกิจกรรมเหล่านั้นหายไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายในทิศทางที่ดี เราจะสนับสนุนพื้นที่กิจกรรมต่อเนื่อง ฟังเสียงผู้บริโภคตอบทุก Journey ของกลุ่มเป้าหมาย”

“เจสัน” เล่าว่า หลังโควิด-19 คลี่คลาย ตลาดรองเท้า Vans ในประเทศไทย ถือว่ามีการ “ฟื้นตัวเร็วสุด” แรงส่งสำคัญยกให้พันธมิตรอย่าง “ไทย เอาท์ดอร์ สปอร์ต” ที่ทำงานอย่างยอดเยี่ยม ส่วนแนวโน้มการเติบโตในอนาคตจะยังรักษาระดับ “ความเร็ว” ได้ดังเดิมไหม การฟังเสียงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นกุญแจสำคัญ

นอกจากนี้ การวางแนวทาง “ขยายฐานลูกค้า” ต่อยอดจากภาพจำหรือ DNA ของ Vans ที่เป็นรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู้กลุ่มเป้าหมายกว้างขวางขึ้นจะเป็น “ขุมทรัพย์” ทางการตลาดที่มหาศาล

\'Vans\' ยกไทยท็อป 5 ตลาดสำคัญเอเชีย ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู่ฐานใหม่ เนื่องจากสินค้าเป็นหนึ่งในอาวุธการตลาด แต่ละปี Vans มีการออกรองเท้ารุ่นใหม่ ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเฉลี่ยต่อปีมี 3-4 คอลเล็คชัน นอกจากนี้ ยังร่วมกับ ไทยเอาท์ดอร์ สปอร์ต ในการออกสินค้าที่เหมาะกับคนไทยหรือมีความ Localized มากขึ้น

“เราขึ้นชื่อในการรับฟังเสียงลูกค้า อย่างรองเท้า Vans รุ่น Half Cab เดิมข้อสูง แต่เมื่อเหล่านักสเก็ตมองว่าข้อสูงเกินไป จึงปรับเปลี่ยนเป็น Half Cab ในปัจจุบัน”

ส่วนแนวทางการทำตลาดอื่น ทั้งการเปิดร้านเพิ่มในต่างจังหวัด ทั้งในรูปแบบ Vans shop concept การฝากขายสินค้า(Vans Consignment) เพิ่มคู่ค้าใหม่ และขยายช่องทางอีคอมเมิร์ซมากขึ้นในปี 2566 จากปุจจุบัน Vans มีสาขาทั้งหมด 62 แห่งในประเทศไทย แบ่งเป็น Vans ช็อป ซึ่งเป็นคอนเซปต์สโตร์ จำนวน 16 สาขา เคาท์เตอร์แบรนด์ 44 สาขา เอาท์เล็ต 2 สาขา และคู่ค้า(Authorized Vans Dealer) จำนวน 24 แห่ง

\'Vans\' ยกไทยท็อป 5 ตลาดสำคัญเอเชีย ต่อยอดรองเท้าสเก็ตบอร์ด สู่ฐานใหม่

ปิยาพร ศิลปอวยชัย

ปิยาพร ศิลปอวยชัย ผู้จัดการฝ่ายแบรนด์แวนส์(Vans) บริษัท ไทย เอาท์ดอร์ สปอร์ต จำกัด เล่าว่า รองเท้า Vans เป็นแบรนด์เรือธงของบริษัทที่สร้างยอดขายและการเติบโตสูงสุด โดยภาพรวมตลาดรองเท้าหลังจากโควิดคลี่คลาย มีการฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยมีเพียงร้านที่ทำตลาดจับกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต ยังชะลอตัว

ทั้งนี้ หลังสถานการณ์โควิด-19 Vans มีการเติบโตขึ้นมากกว่า 30% จากปัจจัยเศรษฐกิจ ฟื้นตัวและ Vans การสร้างฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ พร้อมสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ Vans ให้เป็นแบรนด์ผู้นำทางด้านสตรีทแวร์ ด้วยการทำตลาดต่างๆ เช่น เปิดโอกาสให้ผู้ชื่นชอบศิลปะออกแบบรองเท้า Vans ลุ้นรับรางวัลเป็นตัวแทน Vans ประเทศไทย เพื่อทำรองเท้าลายนั้นผลิตขายจริงในปีถัดไป ตามโจทย์ Localized มากขึ้น

การทำกิจกรรมเกี่ยวกับดนตรีอย่าง Musician Wanted เปิดโอกาสให้ผู้รักในดนตรีมาประกวดวงดนตรีพร้อมร่วมเป็นตัวแทนได้ทำเพลงกับนักร้องที่มีชื่อเสียงระดับโลก และกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬา ซึ่งเป็นกลยุทธ์หลักของ Vans อย่างสเก็ตบอร์ดและ BMX ต่าง ๆ

จากแผนดังกล่าว ผนวกกับแนวโน้มการท่องเที่ยวฟื้นตัว โดยเฉพาะหากจีนกลับมาเดินทางได้ปกติ Vans คาดว่าจะผลักดันยอดขายโตอย่างน้อย 50%