วิกฤติธนาคารล้มในสหรัฐ คนและความเชื่อมั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด (2)

วิกฤติธนาคารล้มในสหรัฐ คนและความเชื่อมั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด (2)

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ SVB ทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในผู้บริหารของธนาคาร พากันแห่มาถอนเงินอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง คนและความเชื่อมั่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในธุรกิจธนาคาร

SVB เป็นธนาคารที่มีลักษณะพิเศษคือ “การมีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นสตาร์ทอัพ” การล่มสลายของ SVB เกิดจากปัญหาการจัดการภายใน ที่ส่งผลกระทบต่อฐานะของกิจการโดยเฉพาะการกรจุกตัวของสินทรัพย์และการบริหารสภาพคล่องที่ขาดประสิทธิภาพและความต่อเนื่อง โดยสินทรัพย์ที่นำเงินฝากไปลงทุนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตราสารหนี้ พันธบัตร และตราสารที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน (mortgage backed securities) เป็นการลงทุนที่มีความระมัดระวังค่อนข้างมาก 

แต่ผลกระทบจากนโยบายการเงินของสหรัฐคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมาก เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ลูกค้ากลุ่มสตาร์มอัปได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ปีรับเพิ่มขึ้นขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ จนกระทบต่อสภาพคล่องของธนาคาร สภาพคล่องจึงเป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจที่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในประเทศไทย กำลังเผชิญอยู่จนต้องหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบที่มีต้นทุนทางการเงินที่สูงมาก กรณีของธนาคารอีกสองแห่ง ได้แก่ Silvergate Bank ที่ปิดกิจการเพราะผลขาดทุนจำนวนมาก และ Signature Bank ถูกทางการสหรัฐเข้าควบคุม เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้น

Jerome Powell ได้กล่าวในการแถลงข่าวของ FED เมื่อวันที่ 22 มีค 66 โดยระบุว่าผู้บริหารของ SVB ได้ทำผิดหลายอย่าง อย่างร้ายแรง The management of Silicon Bank “failed badly” สิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารแห่งนี้แตกต่างออกไปจากธนาคารอื่น (This was a bank that was an outtier ในเดือนเมษายน 65 Laura Izurieta ที่เป็น Chief Risk Officer ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งอย่างกระทันหันโดยไม่แจ้งสาเหตุที่ชัดเจน

แต่ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาจนถึงเดือนตุลาคมปีเดียวกัน กว่า SVB จะแต่งตั้ง Kim Otson เข้ามารับตำแหน่ง CRO คนใหม่ ก็ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจนถึงเดือนม.ค. 66 ทำให้ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่เป็นระเบิดเวลาของ SVB ถูกปล่อยไว้โดยไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรงเป็นเวลายาวนานถึง 8 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐปรับดอกเบี้ยนโยบายจาก 0.5% เป็น 4.5% ซึ่งส่งผลกระทบสำคัญต่อตลาดการเงินอย่างมาก

จาการบริหารงานที่มีความผิดพลาดแล้ว พฤติกรรมของผู้บริหารของ SVB ก็มีหลายจุดที่ทำให้นักลงทุนตั้งข้องสัย เช่น ในวันที่ 27 กพ 66 ช่วงเวลาไม่ถึง 10 วัน ก่อนประกาศผลขาดทุนจากกายพันธบัตรและชอระดมทุนเพิ่มเติมจากนักลงทุน Greg Becker ที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของ SVB ได้ขายหุ้นออกไปเป็นมูลค่า 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในวันเดียวกัน Daniel Beck ที่ดำรงตำแหน่ง CFO ของ SVB ก็ได้ขายหุ้นออกไปมูลค่า 575,000 เหรียญสหรัฐ ในเดือน ธค 64 ชึ่งเป็นช่วงเวลา 4 เดือน ก่อน Laura Izurieta จะลาออก จากตำแหน่ง CRO เธอก็ได้ขายหุ้นออกไป มูลค่า 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ SVB ทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่นในผู้บริหารของธนาคาร พากันแห่มาถอนเงินอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง คนและความเชื่อมั่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในธุรกิจธนาคาร

แม้แต่ธนาคารเก่าแก่ที่มีอายุ 166 ปี อย่าง Credit Suisse ธนาคารระดับโลกที่ก่อตั้งตั้งแต่ปี 1856 ที่ตั้งอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ เป็น 1 ใน 9 ของกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินของโลก ยังอยู่ไม่ได้ เพราะมีปัญหาการบริหารภายในอย่างต่อเนื่อง ในปี 2018 ผู้บริหารของ Credit Suisse ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี ในข้อหาปลอมแปลงลายเซ็นลูกค้าเพื่อนำเงินไปซื้อหุ้น เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคนที่มีความสำคัญที่สุดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงิน

ตอนต่อไปผมจะนำเสนอรายละเอียดของระบมธนาคารพาณิชย์สหรัฐและไทย และประสบการณ์ช่วงที่ไต่เต้าจากเสมียนไปจนเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ ว่าถูกสแกนและตรวจสอบอย่างไรบ้าง……