รายได้ผู้บริโภคไม่แน่นอน โจทย์แบรนด์ปรับขนาด-ราคาสินค้า ตอบความคุ้มค่า

รายได้ผู้บริโภคไม่แน่นอน โจทย์แบรนด์ปรับขนาด-ราคาสินค้า ตอบความคุ้มค่า

ผ่านไป 1 ไตรมาส การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนการตลาดยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง แต่เพื่อให้นักการตลาดเห็นภาพใหญ่ และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ไว้เตรียมตัวรับมือ กำหนดกลยุทธ์การตลาดให้ถูก การเกาะติดเทรนด์ จึงต้องห้ามกระพริบตา

บังอร สุวรรณมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ฮัมมิ่งเบิร์ด คอนซัลติ้ง จำกัด ผู้ให้บริการงานวิจัยด้านการตลาด ซึ่งคร่ำหวอดการตามติดผู้บริโภคได้ชี้แนะ 4 เทรนด์ที่เกิดขึ้น และ 4 ทิศทางการตลาดจากนี้ไป ประกอบด้วย 1.การเงินผู้บริโภคไม่มีความแน่นอน ซึ่งเป็นผลพวงจากพิษสงโรคโควิด-19 ระบาดกินเวลานาน กระทบรายได้ของประชาชน อำนาจซื้อหดหาย กลายเป็นการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการต้อง “ระมัดระวัง” มากยิ่งขึ้น

แม้เงินน้อยลง แต่ความต้องการสินค้ายังมีเพื่อปรนเปรอชีวิต ลูกค้าจึงเริ่มมองหาสินค้าที่ “จับต้องได้” มากขึ้นทั้งในแง่ “ราคา” และ “ขนาด” ดังนี้การทำตลาดโอกาสที่จะเห็นสินค้าอุปโภคบริโภคแบบซองหรือซาเช่จะ “แข่งดุ” ยิ่งขึ้น ซึ่งแบรนด์ต้องหาทางตอบโจทย์ด้าน “ความคุ้มค่า” กว่าเดิมด้วย รวมถึงการสื่อสารตลาดต้องชี้ให้เห็นมูลค่า คุณค่าที่่จะได้รับจากแบรนด์อย่างแท้จริงด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ลบเครื่องสำอางบางแบรนด์ราคาแพงขึ้น 10-20 บาท แต่ช่วยลดปริมาณการใช้โลชั่นเช็ดผิว(โทนเนอร์) 52% ประหยัดเงินในกระเป๋าหลักพันบาท เป็นต้น

เทรนด์ที่ 2 ความไม่สอดประสานกันของสังคม การทำงาน แม้กระทั่งการเรียน ฯ ซึ่งไม่เป็นเวลาแบบเดิม เช่น เริ่มทำงาน เรียนเช้า เลิกตอนเย็น กลายเป็นทำงานทุกที่ทุกเวลา เป็นตัวแปรทำให้ผู้บริโภคมีความเครียด ต้องบริหารจัดการชีวิตมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำตลาดของแบรนด์ต้องพลิกศาสตร์ใหม่ ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างความน่าเชื่อถือ โปร่งใส และซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น

รายได้ผู้บริโภคไม่แน่นอน โจทย์แบรนด์ปรับขนาด-ราคาสินค้า ตอบความคุ้มค่า

เทรนด์ที่ 3 สิ่งที่เป็นวิถีใหม่ของจริง การเกิดโรคระบาดทำให้นักการตลาดเห็นว่าอะไรเป็นวิถีปกติใหม่หรือ New Normal แต่บางอย่างเกิดชั่วคราว ไม่ใช่ถาวร จึงเป็นเวลาที่ต้องมาทบทวนประเด็นดังกล่าว เช่น การประชุมออนไลน์ การชอปปิงออนไลน์ การเสพคอนเทนท์ความบันเทิงภายในบ้านผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์(OTT) และบริการเดลิเวอรี ฯ เพื่อให้นำไปต่อยอดกำหนดกลยุทธ์การทำตลาดตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้ต่อเนื่อง ปิดท้ายด้วยเทรนด์ที่ 4 ผู้บริโภคตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม พร้อมซื้อสินค้าที่รักษ์โลกมากขึ้น ซึ่งแบรนด์ต้องตระหนักในการทำตลาด เพื่อให้เกิด win-win ทุกฝ่าย

บังอร ยังฉายภาพ 4 เทรนด์การตลาด ที่จะมีอิทธพลในปีนี้ ประกอบด้วย 1.ออมนิชาแนลเป็นของจริง ธุรกิจจึงต้องเพิ่มความแกร่งช่องทางขายสินค้าทุกด้านตอบทุกเส้นทางการซื้อของผู้บริโภค(Customer Journey) ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ดอทคอม หรือเว็บไซต์ของแบรนด์เอง ช่องทางการซื้ออื่นที่สร้างความเอ็นจอยให้กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งห้างค้าปลีกเซ็นทรัล เป็นตัวอย่างของการสร้างออมนิชาแนลที่ดี

รายได้ผู้บริโภคไม่แน่นอน โจทย์แบรนด์ปรับขนาด-ราคาสินค้า ตอบความคุ้มค่า เทรนด์ที่ 2 ช่องทางขายเจาะลูกค้าย่อยโดยตรง(D2C) ยุคดิจิทัล แพลตฟอร์มชอปปิงมีมากมาย แต่นับวันการขายตรงถึงผู้บริโภคปลายทางจะมีบทบาทมากขึ้น จน “ตัดตัวกลาง” ออกไป ในส่วนนี้ แบรนด์ดอทคอม ยังสำคัญ ที่จะเสริมพลังให้แบรนด์มากขึ้น เพราะไมเพียงตอบโจทย์การขายสินค้า แต่ยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูล(Data)ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งในอนาคตจะทำยากขึ้นจากพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(PDPA) 

เทรนด์ที่ 3 การทบทวนห่วงโซ่การผลิตหรือซัพพลายเชนใหม่ มีความสำคัญมากขึ้น การผลิตสินค้าที่ต้องดูแหล่งวัตถุดิบ คู่ค้า ตลอดจนการผลิตสินค้าที่ต้องพิจารณาว่าโรงงานยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง หรือผลิตตามที่ตนเองต้องการป้อนสู่ตลาด

รายได้ผู้บริโภคไม่แน่นอน โจทย์แบรนด์ปรับขนาด-ราคาสินค้า ตอบความคุ้มค่า

บังอร สุวรรณมงคล 

ปัจจุบันโลกการผลิต การค้าขายพลิกโฉมไปมาก วงการเสื้อผ้าแฟชั่น เกิดปรากฏารณ์ไลฟ์สดซื้อขายสินค้าส่งจนสั่นสะเทือนตลาดมาแล้ว ดังนั้นผู้ประกอบการต้องมาดีไซน์ซัพลายเชนใหม่จะผลิตมากๆป้อนตลาด หรือบางสินค้าผลิตแล้วต้องไม่ทารุณสัตว์ ฯ ส่วนเทรนด์สุดท้าย “เมตาเวิร์ส” จะเข้าไปบุกตลาดเพื่อนให้ทันกระแส หรือควรเตะเบรก “ชะลอ” ไว้ แล้วตีโจทย์ ตั้งเป้าหมายให้ชัดก่อนว่าจะลุยโลกเสมือนจริงเพื่ออะไร

“การทำตลาดจะเข้าสู่โลกเมตาเวิร์สแบบไม่เข้าใจอินไซต์ลูกค้าจริง อันตราย ดังนั้นแบรนด์ นักการตลาดจึงต้องใจเย็นๆ ทำความเข้าใจความต้องการผู้บริโภคเชิงลึก แล้วค่อยคิดหาวิธีการ กลยุทธ์เพื่อเอาชนะในตลาด”