พาณิชย์ ลงนามมินิเอฟทีเอ ไทย-เตลังคานา บุกตลาดเมืองรองอินเดีย

พาณิชย์ ลงนามมินิเอฟทีเอ  ไทย-เตลังคานา บุกตลาดเมืองรองอินเดีย

“จุรินทร์ “ร่วมเป็นสักขีพยาน ลงนามมินิเอฟทีเอ ไทย-เตลังคานา ขยายความร่วมมือทางการค้าการลงทุน จ่อจัดทำข้อตกลงการค้าอีก 5 รัฐในอินเดีย

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยภายหลังเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจหรือมินิเอฟทีเอ รูปแบบออนไลน์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย  ว่า ไทยและอินเดียมีความผูกพันเชื่อมโยงกัน อย่างแนบแน่นในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา วรรณกรรม วัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติด้านเศรษฐกิจ อินเดีย เป็นหนึ่งในพันธมิตรทางการค้า ที่สําคัญยิ่งของไทย ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็น อันดับ 6 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และสหราชอาณาจักร และจํานวนประชากรกว่า 1,300 ล้านคน อินเดียเป็นประเทศคู่ค้าสําคัญอันดับที่ 11 ของไทย และเป็นประเทศคู่ค้า อันดับที่ 1 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ ขณะที่ไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 4 ของอินเดียในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี พ.ศ. 2564 การค้าระหว่างไทยและอินเดียมีมูลค่า 14,940 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 474,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.52% จากปีก่อน

ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโควิด-19 ตนได้นําคณะผู้แทนการค้าของไทย เยือนอินเดีย รวม 2 ที่เมืองมุมไบและเมืองเจนไน และครั้งที่ 2 ที่เมืองเบงการูลู และเมืองไฮเดอราบัด รัฐเตลังคานา นอกจากนี้ยังได้พบกับรัฐมนตรี KTR ของรัฐเตลังคานาเป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2563 โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันว่า ไทยและอินเดียควรพิจารณาจัดทําข้อตกลงการค้าเชิงลึกระหว่างกันมากยิ่งขึ้น

พาณิชย์ ลงนามมินิเอฟทีเอ  ไทย-เตลังคานา บุกตลาดเมืองรองอินเดีย

นอกเหนือจากความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ไทย-อินเดีย และอาเซียน- อินเดีย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องการขยาย ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับรัฐบาลระดับรัฐ มณฑล หรือเมืองรองของประเทศคู่ค้า โดยทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งหวังให้เกิดการอํานวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนระหว่างไทยและรัฐเตลังคานา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้สิทธิ ประโยชน์ด้านการลงทุนต่าง ๆ กรณีนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม เป้าหมายของรัฐเตลังคานา อาทิ การแปรรูปอาหาร เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

การลงนามมินิเอฟเอไทย- เตลังคานา จะเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกัน ใช้สิทธิประโยชน์ในการของการลงทุน  การแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพผ่านศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและระบบนิเวศด้านนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาสตาร์ทอัพของรัฐเตลังคานา ที่มีชื่อว่า “T-Hub” ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีของไทยในการเรียนรู้ เพื่อนํามาพัฒนาศักยภาพของ สตาร์ทอัพไทยให้เติบโตและแข่งขันในระดับสากลตลอดจนการเชื่อมโยงแพลตฟอร์มดิจิทัล “Thaitrade.com” ของไทยเข้ากับ Telangana State GlobalLinker”ของรัฐเตลังคานา เพื่อขยายเครือข่ายธุรกิจของแต่ละฝ่ายได้มากยิ่งขึ้น”นายจุรินทร์ กล่าว

ทั้งนี้การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ ถือเป็นการลงนามครั้ง ประวัติศาสตร์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับรัฐบาลระดับรัฐของอินเดียเป็น ครั้งแรก ขณะนี้ กําลังมีการจัดโครงการส่งเสริม การจําหน่ายสินค้าไทยร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตรีไลแอนซ์ ที่เมืองไฮเดอราบัด รัฐเตลังคานา รวม 17 สาขา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประเดิมการดําเนินความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ นอกจากนี้ การจัดพิธีลงนาม MOU ในวันนี้ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวาระสําคัญแห่งการครบรอบ 75 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดียในปีนี้ด้วย

สำหรับแผนการลงนามบันทึกความเข้าใจต่อจากรัฐเตลังคานาที่ลงนามได้สำเร็จแล้วนั้น กระทรวงพาณิชย์ยังมีแผนจัดทำข้อตกลงการค้าลักษณะดังกล่าวกับรัฐอื่น ๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจของอินเดียด้วย ได้แก่ รัฐกรณาฏกะ รัฐมหาราชฏระ รัฐเกรละ รัฐอัสสัม และรัฐคุชราต เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือถึงสาขาความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายก่อนเตรียมยกร่างบันทึกความเข้าใจและกำหนดจัดพิธีลงนามตามลำดับต่อไป

นายคาลวากุลท์ลา ทารากา รามา เรา รัฐมนตรีบริหารเทศกิจ พัฒนาชุมชนเมือง อุตสาหกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศและพาณิชย์ (KTR)รัฐเตลังคานา ผู้แทนรัฐบาลเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย กล่าวว่า ความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ครอบคลุมแทบทุกสาขา นับตั้งแต่การลงทุนจนถึงแพลตพอร์มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีส่วนต่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตของบริษัทไทยที่วางแผนเข้ามาลงทุนในรัฐเตลังคานา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เสนอให้โดยรัฐเตลังคานา อาทิ การอำนวยความสะดวกให้ได้รับอนุมัติจัดตั้งธุรกิจในรัฐเตลังคานาอย่างรวดเร็ว รวมถึงความช่วยเหลือในการจัดหาแรงงานและการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ  ในนามของรัฐบาลเตลังคานา ตนมีความเชื่อมั่นว่าบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเป็นแรงผลักดันสำหรับความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองรัฐบาลในอนาคต อันจะนำมาซึ่งการขยายตัวอย่างยั่งยืนของการค้าทวิภาคีระหว่างประเทศอันเป็นที่รักของเราทั้งสองประเทศในระยะยาวสืบไป