เทียบกันชัดๆ รถซด "น้ำมัน&ไฟฟ้า” อะไรถูกกว่ากัน?

เทียบกันชัดๆ รถซด "น้ำมัน&ไฟฟ้า” อะไรถูกกว่ากัน?

ในยุคที่ราคาน้ำมันแสนแพง มาพร้อมกับนโยบายรณรงค์ลดโลกร้อน รัฐบาลเร่งผลักดันให้เกิดการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อย่างแพร่หลาย

ปัจจัยหลักที่จะทำให้ประชาชนตัดสินใจที่จะเปลี่ยนรถยนต์ในเร็วๆ นี้ หันมาโฟกัสยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้นนั้น นอกจากจะสามารถชาร์จที่บ้านตามความต้องการแล้ว ค่าไฟที่ถูกกว่าอาจจะช่วยให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

สำหรับอัตราการเติบโตของยอดจองรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือราคาน้ำมันที่แสนแพงและมีความผันผวนมากขึ้น ยิ่งรัฐบาลไทยออกมาตรการอุดหนุนมอบส่วนลดต่างๆ เพื่อให้ราคารถไฟฟ้าเทียบเท่ารถเติมที่น้ำมัน สะท้อนให้เห็นกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการรถพลังงานสะอาดเป็นทางเลือกยังมีความต้องการอีกไม่น้อย 

นอกจาก 2 ปัจจัยดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้รถไฟฟ้ายังถูกมองเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ใส่ใจธรรมชาติ เพราะรถไฟฟ้าจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นปัญหาในยุคปัจจุบันสอดคล้องกับนานาประเทศ

วันนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” จะขอโฟกัสเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงกับไฟฟ้า โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ driveelectric ระบุว่า การขับรถด้วยรถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเพียง 1 บาทต่อกิโลเมตร หากเทียบกับปัจจุบันราคาน้ำมันจะเฉลี่ย 1 ลิตร (โซฮอลล์ 95 คือ 31 บาท) วิ่งในระยะทางตรงได้ 15 กิโลเมตรต่อลิตร เท่ากับว่ามีค่าใช้จ่าย 2.06 บาทต่อกิโลเมตร ถือว่าแพงกว่าเท่าตัว

อีกทั้ง ยังประหยัดในเรื่องของการซ่อมบำรุงเพราะรถไฟฟ้าไม่มีเครื่องยนต์ หัวใจหลักอยู่ที่แบตเตอรี่และมอเตอร์ที่มีการการันตีการเข้าเช็คสภาพอยู่ที่ 50,000 กิโลเมตร ประกันแบตเตอรี่ 8 ปี เป็นต้น

นายสาธิต ครองสัตย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศทไทย (กฟผ.) กล่าวพร้อมทำตารางเปรียบเที่ยบต้นทุนค่าใช้จ่ายระหว่างรถไฟฟ้าและรถที่เติมน้ำมัน พร้อมกับย้ำว่าด้วยความมั่นใจในการเป็นองค์กรหนึ่งของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยยานยนต์ไฟฟ้า และร่วมสร้างคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น

ตารางเปรียบเทียบ

เทียบกันชัดๆ รถซด \"น้ำมัน&ไฟฟ้า” อะไรถูกกว่ากัน? “ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฟผ. มีการเตรียมตัวเรื่องนี้มาโดยตลอด เพื่อให้ผู้ใช้ EV มีความมั่นใจว่า โครงข่ายระบบไฟฟ้ามีความพร้อมและสามารถจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ EV ทุกคน ซึ่ง กฟผ. จะพยายามขยายสถานีให้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยในระยะ 150-200 กิโลเมตรจะต้องมีสถานี หรือหาสถานีชาร์จได้ ทำให้เขาใช้ชีวิตได้มากขึ้น” นายสาธิต กล่าว

นอกจากนี้ กฟผ.ยังมีบริการขายพร้อมติดตั้งหัวชาร์จอีวีให้กับประชาชนทั่วไป หรือแม้แต่ผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม สนามกอล์ฟ ฯลฯ ที่สนใจแบ่งเป็นแพคเกจให้เลือกตามความเหมาะสมด้วย