ผันผวนเพิ่มจากล็อคดาวน์ที่จีน ระหว่างตลาดรอติดตามยูเครนและประชุมเฟด 

ผันผวนเพิ่มจากล็อคดาวน์ที่จีน ระหว่างตลาดรอติดตามยูเครนและประชุมเฟด 

ผลกระทบจากการล็อคดาวน์เมืองใหญ่ของจีน สถานการณ์โควิดในจีนเป็นประเด็นใหม่ที่เข้ามาสร้างความผันผวนให้กับตลาด หลังการพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ทำให้ทางการจีนสั่งล็อคดาวน์ในหลายพื้นที่ ซึ่งรวมถึงเมืองใหญ่ อาทิ ซีอาน, หยูโจว, อันหยาง, ฉางชุน และเสินเจิ้น

ทั้งนี้การล็อคดาวน์ดังกล่าวจะมีผลกระทบเบื้องต้นดังนี้ 1) กระทบต่อกลุ่มท่องเที่ยวเนื่องจากการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกนอกประเทศ มีแนวโน้มจะไม่เกิดขึ้นในเร็วๆนี้ 2) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ การล็อคดาวน์ กระทบต่อ supply chain โดย Toyota และ Volkswaken มีการชะงักของการผลิตที่โรงงานในฉางชุน ขณะที่ Foxconn, BYD และ Unimicron ต้องระงับบางส่วนของการผลิตโรงงานที่เสิ่นเจิ้น นอกจากนี้ในเบื้องต้นมีรายงานข่าวยืนยันว่ากระทบต่อการผลิต iPhone ที่โรงงานเสิ่นเจิ้น 
 

ราคาน้ำมัน/หุ้นเทคโนโลยีผันผวนจากหลากปัจจัย แม้การรบในยูเครนจะยังดำเนินอยู่และการเจรจาสันติภาพยังไม่ได้ข้อยุติ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงสะท้อนความกังวลเกี่ยวกับการปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจาก supply chain disruption โดยเฉพาะในยุโรป ขณะเดียวกันสะท้อนความกังวลการบริโภคน้ำมันระยะสั้นที่อาจชะลอตัวลงหลังกิจกรรมการผลิตในจีนอาจได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ // หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีจีน นอกจากความกังวลข้างต้น ยังมีประเด็นความกังวลสหรัฐฯ อาจบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ทำการออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน (de-list) หากไม่ปรับปรุงมาตรฐานด้านบัญชีให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของทางการสหรัฐฯ 
 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น) 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP 5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL 6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA 7) น้ำมันลง SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT

 

ภาพรวมกลยุทธ์: กลับมาผันผวนในกรอบ 1,640-1,666 จุด โดยโฟกัสจะเริ่มมาอยู่ที่การประชุมเฟดสัปดาห์หน้า ติดตามความเสี่ยงบาทอ่อนค่าหลังราคาน้ำมันขึ้นสูง อาจทำให้ไทยมีโอกาสขาดดุลการค้า ซึ่งอาจกระทบ Fund flow ระยะสั้น //หุ้นแนะนำ: OSP*, RAM*, PJW*, WORK*

แนวรับ: 1,640 / แนวต้าน : 1,666-1,680 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%
 

ประเด็นการลงทุน

อาร์เจนตินาระงับการส่งออกกากและน้ำมันถั่วเหลือง – 1) คาดเป็นปัจจัยกดดันระยะสั้นต่อจิตวิทยาของหุ้นในกลุ่มเกษตร โดยเฉพาะผู้ผลิตเนื้อสัตว์ แต่น่าจะเป็นการดำเนินการชั่วคราวก่อนปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมส่งออก 2) เป็นปัจจัยบวกต่อ TVO 3) ไม่กระทบต่อ TU ที่จำหน่ายอาหารทะเล 

NCL –  บริษัทตั้งเป้ารายได้และกำไรปี 65 เติบโตไม่ต่ำกว่า 50% เป็นไปตามธุรกิจโลจิสติกส์ โดยการให้บริการขนส่งยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากดัชนีค่าระวางเรือคอนเทนเนอร์ (Shanghai Containerized Freight Index : SCFI) ยังเป็นขาขึ้นอยู่ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทำให้การขนส่งเป็นไปได้ยากขึ้น

 

 

AAV – ตั้งเป้าเดือน เม.ย.65 พร้อมเปิดบินพร้อมกัน รวม 7 ประเทศ 18 เส้นทาง รวม 38 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และ เพิ่มขึ้นในเดือน พ.ค.รวม 81 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เชื่อว่าจะเป็นโอกาสที่ดีของการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ

BAY – ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 65 อยู่ที่ 3.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 2.85 แสนล้านบาท พร้อมทั้งตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ 8.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนทำได้ 7.65 หมื่นล้านบาท และมียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1.49 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 1.39 แสนล้านบาท

NEWS – ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ์ NEWS-W7 ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม สัดส่วน 2:1 อายุ 2 ปี ราคาใช้สิทธิ์ 0.05 บาท สำหรับเป็นเครื่องมือทางการเงินรองรับการขยายตัวและดำเนินธุรกิจในธุรกิจการเงิน (fintech) XD 28 มี.ค. โดยมีแผนจะเปิดตัวบริษัทย่อย บล.ลิเบอเรเตอร์ ที่ได้รับอนุมัติจาก.ล.ต. ในช่วงเม.ย.

 

ประเด็นติดตาม: 15-16 มี.ค. – US FOMC Meeting, 15 มี.ค. – US PPI เดือน ก.พ. / IEA Monthly Report, 16 มี.ค. – US Retail Sales เดือน ก.พ., 17 มี.ค. – EU CPI เดือน ก.พ.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)