พาณิชย์ ย้ำการค้าต่างประเทศมุ่งสู่ การมีส่วนร่วม Climate Change

พาณิชย์ ย้ำการค้าต่างประเทศมุ่งสู่ การมีส่วนร่วม Climate Change

พาณิชย์ เผย ทุกเวทีการค้าต่างประเทศ นำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม คุมเข้มนำเข้าสินค้า แนะ ผู้ประกอบการไทยเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  กล่าวในการสัมมนา  FAST TRACK to the NET ZERO ที่น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ จัดขึ้น ในหัวข้อเวทีการค้าระหว่างประเทศกับประเด็น Climate Changeว่า ขณะนี้ทุกเวทีการค้าระหว่างประเทศแตะประเด็นClimate Change หรือพูดง่ายๆถนนทุกสายมุ่งไปสู่การมีส่วนร่วมในการดูแลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์หรือClimate Change โดยองค์การการค้าโลก (WTO )มีข้อยกเว้นให้สมาชิกจำกัดการน่าเข้าเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่ต้องสมเหตุสมผล  มีคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม (CTE)

ขณะที่เอเปกให้จัดทำบัญชีรายการสินค้าสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาษีนำเข้าให้เหลือไม่เกิน 5% ในสินค้า 54 รายการและอยู่ระหว่างจัดท่าแนวทางส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่บริการ    ด้านเวทีการเจรจาการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ พบว่า ในการเจรจา เอฟทีเอ ยุคใหม่มักมีข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อม Climate Change  นอกจากนี้ในเวทีของอาเซียน ใน AEC Blueprint 2025 ได้กำหนดให้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเป็นกลยุทธ์การเติบโตของอาเซียน รับรองกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับ AEC (Framework for Circular Economy for the AEC)

ด้านเวทีสหประชาชาติก็มีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) มีหลักการที่ระบุถึงผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ไม่ควรเลือกปฏิบัติหรือกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และจัดทำพิธีสารเกียวโตกำหนดเป้าหมายก๊าซเรือนกระจก ความตกลงปารีส ที่มีเป้าหมายร่วมกันของโลก คือการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศา และมุ่งพยายามควบคุมให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา ขณะที่ที่ประชุมCOP 26 ก็กำหนดกติกาเกี่ยวกับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ

สำหรับ มาตรการสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศที่นำมาใช้ นั้น มีมาตรการ 827 มาตรการ โดยใน  1 ใน 3 สิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปหรืออียูได้ประกาศมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ที่เกี่ยวกับการสินค้า จะมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.2566 โดยในช่วง 3 ปีแรก ถือเป็นระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมสินค้า ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม และในอนาคตก็อาจจะขยายรายการสินค้าที่ครอบคลุมอีก

สินค้าของไทยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ CBAM โดยในปี2564 ไทยส่งออกสินค้าตามรายการ CBAM ไปยังอียู 186.61 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 3.52%ของการส่งออกสู่โลก อย่างไรก็ตามหลายประเทศมองว่ามาตรการดังกล่าวขัดกับหลักการและกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศภายในดับบลิวทีโอ และมีวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจมากว่าสิ่งแวดล้อม แต่ทางอียูยืนยันว่าเป็นมาตรการสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การกีดกันทางการค้า

สำหรับ ทางรอดของสินค้าส่งออกไทยนั้น ผู้ประกอบการต้องปรับตัวโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้กระบวนการผลิตให้มีการปล่อยคาร์บอนต่ำเพื่อพยายามมุ่งสู่ Net Zero โดยอาจน่าแนวคิดเรื่อง BCG modelมาประยุกต์ใช้ เตรียมความพร้อมเรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและของผลิตภัณฑ์

การเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยและการซื้อขายคาร์บอนเครดิต  นอกจากนี้จะต้องใช้ climate change เป็นจุดขาย เพื่อช่วยดึงดูดผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยอาจพิจารณาการติดฉลากสิ่งแวดล้อม (eco-labeling) และการใช้กลไกราคาคาร์บอนภายในองค์กร

รวมทั้งการแสวงหาโอกาสใหม่ๆที่เกี่ยวกับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น สินค้าและบริการสิ่งแวดล้อมและพลังงานหมุนเวียน พิจารณาสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ภาครัฐของไทยมีให้ และอาจขอรับการสนับสนุนทางเทคนิคและ การเงินจากต่างประเทศ ติดตามพัฒนาการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเกี่ยวกับประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมาย และศึกษารายละเอียดของมาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจ

รศ. ดร. สิงห์ อินทรชูโต  หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัย  และนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) กล่าวว่า ขณะนี้ทุกคนพุ่งเป้าไปยังปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ขณะนี้ส่งผลเกิดภาวะโลกรวนเกิดปัญหาสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น  ในรอบ 100 ปี อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆจนถึงร้อนมากจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อคน  และภูมิอากาศของโลกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้น เช่น มหาสมุทรอาร์ติกพื้นที่หายไปทุกๆปี  ภัยธรรมชาติทั่วโลกเกิดขึ้นมากว่า 820 ครั้งต่อไป หรือ วันละ2-3 ครั้ง 

“การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นทำให้ทุกคนกลับมามองและเริ่มคิดวิธีการลดภาวะโลกร้อน เพื่อให้เราอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมในอนาคต ซึ่งปัญหานี้ไม่ใช่กระทบเฉพาะแค่สิ่งแวดล้อม แต่กระทบไปยังสังคม เศรษฐกิจด้วย