“สุพัฒนพงษ์” เปิดมาตรการสู้วิกฤต “น้ำมัน-ค่าไฟ”

“สุพัฒนพงษ์” เปิดมาตรการสู้วิกฤต “น้ำมัน-ค่าไฟ”

“สุพัฒนพงษ์” กางแผนสู้วิกฤตค่าพลังงานพุ่ง วอนประชาชนร่วมประหยัดพลังงาน “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ยัน พร้อมอุ้มดีเซล 30 บาทต่อไปจนกว่าจะไม่ไหว เร่งคลอดแผนหนุนผู้ใช้เบนซินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จ่อช่วยหนุนค่าไฟบ้านที่ใช้ไม่ถึง 300 หน่วยต่อเดือน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์ด้านพลังงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ขณะนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น ทั้งสาเหตุโควิด-19 ที่คลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้น การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น กำลังผลิตที่เพิ่มกำลังไม่ทันต่อโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงช่วงอากาศหนาวเย็นช่วงที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเกือบ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ รัฐบาลมีมาตรการต่างๆ ที่ได้พิจารณาการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตรมาโดยตลอด และล่าสุดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่รวมแล้ว 16 วัน ส่งผลกระทบเกิดความวิตกกังวลโดยตรงกับความผันผวนราคาพลังงานเกิดขึ้นที่เรียกว่าน้ำมันขึ้นสูงกว่ารอบ14 ปีที่ผ่านมา

ซึ่งนโยบายและแผนพลังงานแนวมีความผันผวนรุนแรงทั้งน้ำมันและก๊าซแอลเอ็นจีที่อยู่ในระดับสูงเมื่อวันที่  9 มี.ค. 2565 ถือว่าสูงสุดในรอบ 14 ปี ที่ 180 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล น้ำมันดิบดูไบที่ 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนก๊าซแอลเอ็นจี เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 84.37 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ล่าสุดกองทุนชดเชยดีเซลแล้ว 14 บาทต่อลิตร ซึ่งรัสเซียหยุดการส่งออกทั้งน้ำมันและก๊าซทำให้ซัพพลายในตลาดตรึงตัว ความผันผวนหลายประเทศมีนโยบายการเก็บสำรองในประเทศมากขึ้น เช่น จีนมีการเก็บสำรองไม่ส่งออก ทำให้ราคาทั้ง 2 ปรับเพิ่มรุนแรง อีกทั้งโอเปกพลัส ยังคงปรับเพิ่มแค่ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน

สำหรับการบริหารจัดการในประเทศไทยยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผลกระทบ เนื่องจากมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียแค่ 3% ไม่กระทบสัญญาจัดหาในปัจจุบัน การช่วยเหลือตั้งแต่เดือน ต.ค. 2564 ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชยไปแล้วกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ทั้งปรับสัดส่วนผสมบี100 ไม่ให้เกิน 5% ขอความร่วมมือค่าการตลาดไม่เกิน 1.40 บาท และลดภาษีสรรพสามิตรน้ำมันดีเซล 3 บาท

“ยังยืนยันที่จะตรึงราคาดีเซลไว้ที่ 30 บาททต่อลิตร ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบไม่เกิน 115 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเงินจากกองทุนน้ำมันที่กู้มารวมเพดาน 4 หมื่นล้านบาท จะอุดหนุนได้ถึงเดือน พ.ค. 2565 และเตรียมมาตรการรองรับวิกฤตพลังงาน โดยได้ประสานผู้ค้าน้ำมัน เพื่อเตรียมประกาศเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย ให้ปริมาณน้ำมันดิบสำรองเพิ่มเป็น 5% จากเดิม 4% และน้ำมันสำเร็จรูปสำรองเพิ่มเป็น 2% จาก 1%”

ส่วนจะปรับลดสูตรบี 100 ที่ปัจจุบันเหลือไม่เกินบี 5 นั้น กระทรวงจะหารือกับกระทรวงพาณิชน์โดยดูสถานการณ์ สต็อกผลผลิตต่างๆ ว่าจะมีการปรับลดสูตรอีกหรือไม่ ยอมรับว่าทุกมาตรการอาจเป็นไปได้หมด และกระทรวงยืนยันว่าวางมาตรการเป็นระดับไว้แล้ว แต่ไม่สามารถบอกได้ตอนนี้ รอให้ถึงเวลาตจะชี้แจงอีกครั้ง  

“จึงอยากให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้พลังงานอย่างน้อย 10% ก็จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองตามสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนในเบื้องต้นก่อน และอยากยืนยันอีกครั้งว่าบริมาณน้ำมันในประเทศไทยมีสำรองเพียงพอ แต่อาจจะราคาสูงก็ต้องยอมรับตรงนี้”

สำหรับกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซิน กระทรวงพลังงานพยายามหารือกับกระทรวงการคลัง โดยจพช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 13.5 ล้านคน โดยจะโฟกัสกลุ่มผู้ใช้รถจักยานยนต์ ปัจจุบันพบว่าประชาชนที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งมีอยู่ 21 ล้านคัน จึงจะต้องดูจำนวนรถกับจำนวนผู้ถือบัตร ยอมรับว่าพยายามให้ออกมาเร็วที่สุด และข้อมูลจะต้องนิ่งจึงขอดูจำนวนก่อน แล้วมาดูงบประมาณให้สอดคล้องกับปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินที่ 50 ลิตรต่อเดือน

นอกจากนี้ ในกช่วยเหลือก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคครัวเรือน จะขยับเพดานราคากก.ละ 1 บาท มาอยู่ที่ 333 บาทต่อถัง 15 กก. โดยราคาใหม่จะเริ่มใช้วันที่ 1 เม.ย.2565 ซึ่งจะมีระยะเวลาเท่าไหร่ คงต้องรอดูสถานการณ์ต่อไป แต่ยืนยันว่า ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มทั่วไปจะไม่รู้สึกว่าราคาขยับขึ้นสูงมากจนเกินไปแน่นอน โดยจะยังใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนอยู่ การขยับราคาจะเป็นการลดภาระกองทุน

นอกจากนี้ จะช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางผ่านผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยปัจจุบันผู้ถือบัตรกว่า 13.5 ล้านราย ที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าซื้อก๊าซที่ 45 บาท ต่อครัวเรือน ต่อ 3 เดือน และจะพิจารณาเพิ่มอีก 55 บาท เป็น 100 บาท ซึ่งกำลังเร่งทำแผนงบประมาณผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และจะพยายามดำเนินการให้ทันเดือน เม.ย.2565

สำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า จากที่ได้ประกาศปรับค่าเอฟทีที่ราว 16 สตางค์ต่อหน่วยรอบเดือนม.ค.-เม.ย.2565 และรอบเดือนพ.ค.-ส.ค. 2565 จะปรับขึ้นเป็นขั้นบันไดในงวดต่อไป ยอมรับว่าจะต้องปรับขึ้นแน่นอน แต่จะพยายามบริหารจัดการไม่ให้ขึ้นสูงมาก โดยกกพ.ได้ทำการบ้าน และพยายามทำให้ยู่ในกรอบเดิม ซึ่งมีแนวคิดจะช่วยประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าระดับไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน หรือคิดเป็นเงินประมาณ 1,200 บาทต่อเดือนให้อยู่ในราคาเดิม ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมหางบประมาณว่าจะต้องใช้เท่าไหร่