กระหน่ำขาย BGRIM นิวโลว์ ตระหนกต้นทุนก๊าซกดดัน

กระหน่ำขาย BGRIM นิวโลว์  ตระหนกต้นทุนก๊าซกดดัน

สัปดาห์ที่ 3 แล้วหลังรัสเซียบุกโจมตียูเครนตามด้วยการต่อต้านของชาติตะวันตกและสหรัฐ แทรกแซงทางเศรษฐกิจ-ตัดเส้นทางการเงินของรัสเซีย ท่ามกลางราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องมีสิทธิแตะ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันและพลังงานรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีตลาดซื้อขายใหญ่สุดคือกลุ่มประเทศยุโรป   นั้นหมายความว่าประเทศรัสเซียมีบทบาทสำคัญต่อสินค้าน้ำมันและก๊าซอย่างมาก ซึ่งโกลด์แมน แซคส์  เปิดเผยว่า การใช้ก๊าซทั่วโลกมาจากรัสเซียราว 17% มีตัวเลขในปี  2564 ยุโรปตะวันตกใช้ก๊าซมากถึง 40% จากรัสเซีย

สอดคล้องกับการวิเคราะห์สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน มองว่าราคาพลังงานหลายตัวปรับขึ้นสูง เนื่องจากความกังวลผลของการแบนพลังงานรัสเซีย เนื่องจากยุโรปนําเข้าน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ  27% และ 38%  ของที่นําเขาทั้งหมด ตามลำดับ

นอกจานี้รัสเซียยังส่งออกน้ำมันเตาไปยุโรป 820,000 บารเรล์ต่อวัน (12% ของ Global demand)  ผลจากการแบนพลังงานรัสเซีย หรือการที่ประเทศต่างๆเลี่ยงการใช้พลังงานจากรัสเซีย ซึ่งมีการผลิตน้ำมันดิบคิดเป็น 5% ของทั้งโลก  ตามสถานการณ์ดังกล่าว (รวมทั้งการที่ประเทศต่างๆ เลี่ยงไปส่งน้ำมันจากประเทศอื่น) ทำให้มีโอกาสผลักดันราคาพลังงานทั้งน้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้น

กระหน่ำขาย BGRIM นิวโลว์  ตระหนกต้นทุนก๊าซกดดัน

ราคาพลังงานเพิ่มสูงย่อมไม่เป็นผลดีต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งหุ้นที่กระทบหนักจากการถูกเทขายในประเด็นดังกล่าวหนีไม่พ้น กลุ่มโรงไฟฟ้า  ซึ่งมีต้นทุนพลังงานคือราคาก๊าซมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า

หุ้นที่ถูกกระหน่ำเทขายมากสุดตั้งแต้ต้นปีที่ผ่านมา บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM  ซึ่งราคาหุ้นลดลงต่อเนื่องจากสิ้นปี 2564 ที่ 40.50 บาทมาอยู่ที่  30.75 บาท  (9 มี.ค.65) ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี หรือลดลง  24 %

สอดคล้องกับช่วงราคาพลังงานทยอยปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยล่าสุด ราคาน้ำมันในตลาดเบนท์ (Brent) อยู่ที่ 123.21 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดตั้งแต่เดือนเม.ย. 2555 ,น้ำมันดิบดับบลิวทีไอ (WTI) 119.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สูงสุดนับตั้งแต่ ก.ย. 2551 หรือในรอบ 14 ปี

BGRIM เป็นรายใหญ่ในกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) มีลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรม (IU) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT   ตั้งเป้าเพิ่มกำลังไฟฟ้าในมือ 5,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2565  จากที่มีอยู่ที่ 3,424 เมกะวัตต์ และ COD ไปแล้ว 2,455 เมกะวัตต์   

นอกจากนี้ BGIRM สามารถได้โควต้านำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ  LNG  มากที่สุดในกลุ่มจำนวน  6.5 แสนตันต่อปี ส่งผลต่อต้นทุนที่ลดลง และสามารถหนุนอัตรากำไรในอนาคตอีกด้วย  

บล.กรุงศรี คาดการณ์ว่ากำไรของ BGRIM จะถูกกดดันในช่วงครึ่งปีแรก 2565 เนื่องจากต้นทุนก๊าซที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สัดส่วนกำลังการผลิตเจ้าของ (equity MW) 67% ของ BGRIM เป็นโรงไฟฟ้าพลังงาน ก๊าซ และ 1 ใน 4 ของส่วนนี้ขายให้ผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรม (IU) ฝ่ายบริหารคาดต้นทุน ก๊าซจะเพิ่มเป็น 380-430 บาท /ล้านบีทียู  ปี 2565 (จาก 266 บาท ใน 2021)

ส่วนปริมาณขายไฟฟ้าให้ IU จะพึ่งพาค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นผ่านการปรับค่า Ft โดยกกพ. ได้ อนุมัติการปรับขึ้นค่า Ft 0.1671 บาทต่อกิโลวัตต์  เป็น 0.013 บาทต่อกิโลวัตต์  ในช่วงม.ค. - เม.ย. 2565  และอาจเพิ่มอีกในระดับเดียวกันในช่วง พ.ค. -ส.ค. และ ก.ย. - ธ.ค.

BGRIM ต้อง รับผลของต้นทุนก๊าซที่สูงขึ้นก่อนการปรับค่า Ft ที่ระดับต้นทุนก๊าซปัจจุบัน 2 จาก 53 โรงไฟฟ้าของ BGRIM มีผลขาดทุนเนื่องจากอายุของโรงไฟฟ้า BGRIM คาดต้นทุนก๊าซ จะสูงสุดใน ไตรมาส 1 ปี 2565 ก่อนลดลงในไตรมาสถัดมา  

ดังนั้นจึงยังระวังลงทุนเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ราคา LNG อยู่ในระดับสูง นานขึ้น และทำให้ราคาก๊าซในอ่าวไทยสูงขึ้น เนื่องจาก 1 ใน 3 ของ ราคาก๊าซอ้างอิงราคาน้ำมัน คงคำแนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 33 บาท

ส่วน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ที่มองว่า กำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี2565 ของ BGRIM มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน แต่ยังลดลงจากปีก่อน โดยสาเหตุของการฟื้นตัวจากปีก่อน เป็นเพราะ ฤดูกาลในประเทศเวียดนาม ที่มีปริมาณฝนน้อยลงจากไตรมาสก่อน ประกอบกับ เริ่มรับรู้รายได้ จากการร่วมทุนกับ UV เข้ามาเต็มไตรมาส ราว 35 – 40 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในระดับสูง ยังคงกดดันอัตราการทำกำไรของธุรกิจโรงไฟฟ้าธรรมชาติ ส่งผลให้ GPM ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงไตรมาสก่อน ทำให้กำไรสุทธิในช่วงดังกล่าว คาดทำได้ 300 – 350 ล้านบาท