RATCH ต้องเผชิญกับผลจาก dilution (9 มี.ค. 65)

RATCH ต้องเผชิญกับผลจาก dilution (9 มี.ค. 65)

RATCH ยังคงเป้าหมายจะเพิ่มกำลังการผลิตในระยะยาวเป็น 10,000MWe (จากปัจจุบันที่ 9,115MWe) หรือเพิ่มมูลค่ากิจการ (enterprise value) เป็น 2 แสนล้านบาท (จาก 6.4 หมื่นล้านบาท) ภายในปี 2568

ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าภายในปี 2578 จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน (RE) เป็น 40% ของกำลังการผลิตรวม (จาก 15%) ก่อนจะบรรลุภารกิจ carbon neutrality ในปี 2593 สำหรับในปี 2565 บริษัทตั้งเป้าจะ 2022 ซื้อโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 700MWe (75%: ฟอสซิล และ 25%: พลังงานหมุนเวียน) โดย RATCH ได้ตั้งงบลงทุน (capex) สำหรับปี 2565 ไว้ที่ 3 หมื่นล้านบาท (ธุรกิจไฟฟ้า 93% และธุรกิจที่ไม่ใช่ไฟฟ้า 7%) (ไม่รวมงบลงทุนส่วนที่เหลืออีก 1.8 หมื่นล้านบาทสำหรับ Paiton) ทั้งนี้ เราคาดว่าโครงการ Paiton (931MWe) จะเริ่มส่งผลการดำเนินงานมาที่ RATCH ได้ใน 2Q-3Q65 โดยขณะนี้บริษัทกำลังอยู่ระหว่างศึกษาโครงการใหม่อีก 5 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศไทย, ลาว, เวียดนาม และ ออสเตรเลีย

 

ความคืบหน้าแผนเพิ่มทุน

ในขณะที่ RATCH มีแผนเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่ ≤769 ล้านหุ้น และคาดว่าจะระดมทุนได้ ≤3หมื่นล้านบาท โดยคาดว่ากระบวนการเพิ่มทุนจะดำเนินการเสร็จเรียบร้ยใน 2Q65 ทั้งนี้เพื่อปิด gap ของ dilution และโครงการที่กำลังจะหมดอายุ บริษัทจึงต้องเข้าลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนดี ซึ่งเรามองว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับ RATCH โดยเราคาดว่าสัดส่วน D/E สุทธิจะต่ำกว่า 1x (จากปัจจุบันที่ 0.64x และ covenant ที่ 1.3x)

 

 

คาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักจะลดลง QoQ ใน 1Q65F

เราคาดว่ากำไรหลักใน 1Q65 จะลดลง QoQ เนื่องจากผลการดำเนินงานของ RAC อ่อนแอลง (แรงลมลดลงตามฤดูกาล) และของ RCO อ่อนแอลง (ต้นทุนก๊าซเพิ่มขึ้นอย่างมาก) แต่จะได้แรงหนุนบางส่วนจากผลประกอบการของ Ratchgen (RG) ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เราคาดว่าส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทในเครือจะลดลงตามปัจจัยฤดูกาลของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก

 

โครงการที่อยู่ใน pipeline

เราพบว่ามีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และอาจจะมี downside จากความล่าช้าในการเปิดดำเนินการหลังจากที่สายพันธุ์ Omicron ระบาดไปทั่วโลก ทั้งนี้ โครงการในปี 2565 ประกอบด้วยโครงการ NRER กำลังการผลิต 92MW (ถือหุ้น 49% กำหนด SCOD เดือนเมษายน 2565), การขยายโครงการ RCO กำลังการผลิต 30MW (ถือหุ้น 100% กำหนดเปิดดำเนินการปี 2565), โครงการ Eco Wind Farm กำลังการผลิต (ถือหุ้น 51% กำหนดเปิดดำเนินการ 2Q65) (Figure 4) ในขณะที่โครงการ Riau กำลังการผลิต 296MW (ถือหุ้น 49%) เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565

RATCH ต้องเผชิญกับผลจาก dilution (9 มี.ค. 65)

 

สรุปผลประกอบการ 4Q64 และปี 2564: ดีเกินคาด

กำไรสุทธิ RATCH ใน 4Q64 อยู่ที่ 2.12 พันล้านบาท (+48% QoQ, -0.3% YoY) และกำไรหลักอยู่ที่ 1.96
พันล้านบาท (+23% QoQ, +4% YoY) ดีกว่าประมาณการของเราและตลาดคาด (Figure 1) โดยกำไรสุทธิ
ในปี 2564 อยู่ที่ 7.77 พันล้านบาท (+24% YoY) และกำไรหลักอยู่ที่ 7.57 พันล้านบาท (+27% YoY) จาก
กำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้น และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทในเครือ ทั้งนี้ เราพบว่าผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าหลายแห่งดีขึ้น (ได้แก่โรงการ RG, RATCH-Australia Corp (RAC), และ Ratch Cogeneration (RCO), Hongsa Power (HPC), และโรงไฟฟ้าพลังน้ำทุกโครงการ)

RATCH ต้องเผชิญกับผลจาก dilution (9 มี.ค. 65)

 

 

Valuation & action

เรากำลังอยู่ระหว่างทบทวนราคาเป้าหมาย DCF โดยคาดว่ากำไรของ RATCH จะเพิ่มขึ้นในปี 2565-2566 แต่บริษัทยังต้องเผชิญกับผลจาก dilution ที่เกิดจากการเพิ่มทุน ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการปิด gap และทำให้อัตราการเติบโตเป็นไปอย่างช้า ๆ ทั้งนี้ ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้น เราเชื่อว่านักลงทุนจะรอดูสถานการณ์ไปก่อนจนกว่า RATCH จะชนะประมูลโครงการใหม่ที่ให้ผลตอบแทนดี

 

Risks

มีการปิดซ่อมบำรุงนอกแผน, ปัญหา cost overruns จากความล่าช้าของงานก่อสร้างโครงการใหม่, ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย