SMD ยอดขายจะยังดีต่อเนื่อง แต่อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง

SMD ยอดขายจะยังดีต่อเนื่อง แต่อัตรากำไรขั้นต้นจะลดลง

เราคาดว่ายอดขายของ SMD จะยังคงแข็งแกร่งใน 1Q65 เนื่องจาก i) มียอด backlog เมื่อสิ้นปี 2564 อยู่ที่ 200 ล้านบาท (ตามปกติแล้ว 90% ของ backlog ทั้งหมดน่าจะโอนได้ภายใน 1Q65) และ ii) มีคำสั่งซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านบาท

ดังนั้น ยอดขายใน 1Q65
 

จึงน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง YoY และทรงตัว QoQ ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าผลการดำเนินงาน โดยรวมจะดีขึ้น QoQ ใน 1Q65 จากสัดส่วนยอดขายที่มี ATK เพิ่มขึ้น และต้นทุน logistic ลดลง ในขณะที่บริษัทยังคงใช้นโยบายคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่อง โดยสรุปแล้ว เราคาดว่ากำไรสุทธิใน 1Q65 จะเพิ่มขึ้นทั้ง YoY และ QoQ

 

ตั้งเป้ายอดขายปี 2565 ที่ 1.8 พันล้านบาท

ถึงแม้ว่ายอดขายของ SMD จะทำสถิติสูงสุดใหม่ในปี 2564 ที่ 1.6 พันล้านบาท แต่ผู้บริหารยังตั้งเป้าว่ายอดขายปีนี้จะทำสถิติใหม่อีกที่ 1.8 พันล้านบาท โดยจะได้แรงสนับสนุนจาก i) งบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 16% YoY ในปี 2565 และ ii) คำสั่งซื้อชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องจากการที่สถานการณ์ COVID-19 ยังคงยืดเยื้อต่อไป อย่างไรก็ตาม ยอดขายที่เพิ่มขึ้นจะต้องแลกกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลง (เนื่องจากชุดตรวจ ATKs) แต่การประหยัดต่อขนาดจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น และการคุมต้นทุนจะทำให้สัดส่วน SG&A ต่อยอดขายลดลง

 

 

 

 

ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2565-2566 ขึ้นอีก 65% และ 53%

จากแนวโน้มยอดขายที่แข็งแกร่งในปีนี้ เราจึงทบทวนสมติฐานใหม่ดังนี้ i) ปรับเพิ่มยอดขายปีนี้ขึ้นอีก
60% (เป็น 1.8 พันล้านบาท) และปี 2566 ขึ้นอีก 22% (เป็น 1.5 พันล้านบาท) ii) ปรับลดอัตรากำไร
ขั้นต้นปี 2565 ลง 7ppts (เหลือ 36%) เพื่อสะท้อนถึงยอดขายชุดตรวจ ATKs และ iii) ปรับลดสัดส่วน
SG&A ต่อยอดขายปีนี้ลงเหลือ 13.2% และปี 2566 เหลือ14.7% นอกจากนี้ เรายังนำผลกระทบจากการ
จ่ายหุ้นปันผล (20 หุ้นเดิมต่อหนึ่งหุ้นใหม่) เข้ามาใส่ไว้ในประมาณการของเราด้วย โดยสรุปแล้ว เราปรับ
เพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2565-2566 ขึ้นจากเดิมอีก 65% และ 53% ตามลำดับ โดยคาดว่า EPS ของ
SMD จะลดลง 2% YoY ในปี 2565 และจะเพิ่มขึ้น 7% ในปี 2566

 

Valuation & action

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลดีกับ SMD น้อยลง แลสัดส่วนรายได้จากโครงการใหม่ ๆ (ธุรกิจการเช่า และ sleep lab) ยังคงลดลง เราจึง de-rate PER ลงจากเดิม 20.0X เหลือ 10.0X (ค่าเฉลี่ยของโรงพยาบาลในประเทศไทย -2.0 S.D. หรือคิดเป็น PEG ที่ 1.4X จาก EPS ปี 2566) ทำให้ได้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2565 ใหม่ที่ 14.70 บาท จากเดิม 19.00 บาท ซึ่งเหลือ upside จากราคาปิดล่าสุดอีกเพียง 7% ดังนั้น เราจึงปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็นถือ

 

Risks

มีคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาด, ถูกบอกเลิกสัญญาการเป็นผู้จัดจำหน่ายก่อนกำหนด, เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป, ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของทางการ, ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน, ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ผลิตระดับโลก