สวพส. พัฒนาน้ำ ฟื้นฟูชมชน แก้จน คนพื้นที่สูง

สวพส. พัฒนาน้ำ  ฟื้นฟูชมชน แก้จน คนพื้นที่สูง

เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งใน ชุมชนบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็ก ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาด้านแหล่งน้ำของชุมชนบนพื้นที่สูงได้ถึง 104 ชุมชน ที่สำคัญสามารถช่วยเกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เปิดเผยว่า เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างเร่งด่วน สวพส. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำขนาดเล็กเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งขึ้น ทำให้เกษตรกรมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และใช้ในการทำเกษตร มีความมั่นคงทางอาหาร มีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

 

สวพส. พัฒนาน้ำ  ฟื้นฟูชมชน แก้จน คนพื้นที่สูง

ภายใต้ระบบการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้องค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของโครงการหลวง ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางของโครงการหลวง โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก จึงเป็นการพัฒนานวัตกรรมการส่งมอบการให้บริการแก่ชุมชน เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ตอบโจทย์ความต้องการการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน เกิดการพัฒนาชุมชนได้ตรงตามความต้องการ และตามภูมิสังคมชุมชน และตามภูมิศาสตร์ในที่นั้น ๆ

โดยคำนึงถึง “การดำเนินงานอย่างรวดเร็ว เร่งด่วน มีส่วนร่วมของชุมชน ทันท่วงที และใช้งานได้….. ” รูปแบบแหล่งกักเก็บน้ำของการส่งเสริมการพัฒนาแตกต่างกัน อยู่ที่ความต้องการของชุมชน อาทิ

ถังเก็บซีเมนต์เก็บน้ำ ถังเก็บน้ำ (บ่อวง) บ่อขุดปูพลาสติก ชนิด LDPE และ HDPE ถังเก็บน้ำขนาด 1,000 ลิตร และ ท่อน้ำ PVC ระบบกระจายน้ำขนาดเล็ก ระบบน้ำดื่มสะอาด เป็นต้น

เป็นการพัฒนาระบบน้ำที่ประหยัดคุ้มค่า คำนึงถึงการใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าสูงต่อยอดเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งการดำเนินงานโครงการมีวิธีการดังนี้

  •  1.วิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง จากนั้น “จัดทำฐานข้อมูลการพัฒนาแหล่งน้ำ” 

                        สวพส. พัฒนาน้ำ  ฟื้นฟูชมชน แก้จน คนพื้นที่สูง                                              

                       โดยนำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินทำกินรายแปลงของชุมชน ข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ แหล่งน้ำ ลำห้วย พื้นที่รับน้ำธรรมชาติ ระดับวิกฤตของสถานการณ์ภัยแล้งของชุมชน เข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์เทคโนโลยี GIS เพื่อหาความเหมาะสมในการสนับสนุนพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม                                                                                                             

  • 2.ส่งเสริมพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กได้ตรงตามความต้องการของชุมชน โดยชุมชนมีบทบาทในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้วยตนเอง
  • 3ติดตามและประเมินผล เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคและหาแนวทางปรับปรุง แก้ไข ป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำสำหรับการพัฒนางานส่งเสริมในครั้งต่อไป โดยคำนึงถึงการใช้งานได้จริง
  • 4ถอดบทเรียนความสำเร็จขยายผลสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของของโครงการสนับสนุนให้ชุมชนมีการตั้ง คณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการน้ำ กลุ่มการใช้น้ำ รวมถึงถอดองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่กิจกรรมสู่สาธารณะ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้ ต่อยอดได้ด้วยตนเอง

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านแหล่งน้ำของชุมชน 104 ชุมชน เป็นน้ำอุปโภคบริโภค 16 แห่ง และน้ำเพื่อการเกษตร 222 แห่ง มีเกษตรกรได้รับประโยชน์จำนวน 1,263 ครัวเรือน 3,606 ราย ความจุน้ำ 50,886 ลบ.ม. เกษตรกรมีรายได้สะสมกว่า 28 ล้านบาท

สวพส. พัฒนาน้ำ  ฟื้นฟูชมชน แก้จน คนพื้นที่สูง

จากภาคการเกษตรหลังจากได้รับการสนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ำ ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีรายได้ของครอบครัวที่พอเพียงแก่การดำรงชีวิตขั้นต้น ชุมชนสามารถต่อยอดการพัฒนา ปรับระบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในพื้นที่ 11,603 ไร่

โดยลดการเสียหาย/พัฒนาคุณภาพของผลผลิตเดิม และสามารถปลูกพืชทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ ใช้พื้นที่น้อย และพืชที่ปลูกมีมูลค่าสูง ทดแทนพืชเดิมที่ต้องอาศัยน้ำฝน สร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับชุมชน เช่น ข้าว พืชผักในโรงเรือน/ นอกโรงเรือน ไม้ผลยืนต้น ไม้ผลอายุสั้น-กลาง กาแฟ ไม้เศรษฐกิจ Food bank ปศุสัตว์ ฯลฯ

ชุมชนไม่บุกรุกทำลายป่า ขยายพื้นที่ทำกิน และมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าต้นน้ำลำธาร สร้างความชุ่มชื้น และเพิ่มความหลากหลายของระบบนิเวศ 253,924 ไร่  มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น จากการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น และไม้เศรษฐกิจ 58 ชนิด

มีกลุ่มชุมชนในการบริหารจัดการน้ำ มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ลดความขัดแย้งในการใช้แหล่งน้ำ   เกิดโครงการต้นแบบ และชุมชนต้นแบบ ในการพัฒนาแหล่งน้ำบนพื้นที่สูง และการบริหารจัดการน้ำ ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า สู่การพัฒนาชุมชนตามแนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

โดยได้รับรางวัลในระดับประเทศ (รางวัลเลิศรัฐ จาก กพร., รางวัลผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านน้ำ จาก สทนช.) เป็นการสื่อสารผลสำเร็จรวมทั้งยกระดับขององค์กร สร้างการยอมรับจากสาธารณชนและหน่วยงานและสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ตัวอย่างที่ดี ขยายผลสำเร็จไปสู่ชุมชนบนพื้นที่สูงในประเทศต่อไป