CPF - กังวลต้นทุนแพง (วันที่ 1 มีนาคม 2565)

CPF - กังวลต้นทุนแพง (วันที่ 1 มีนาคม 2565)

เราคาดราคาสุกรและเนื้อสัตว์อื่นในประเทศจะยังอยู่ในระดับสูงใน 2022 แต่ต้นทุนอาหารสัตว์จะยังเป็นความเสี่ยงหลัก ต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งจะยังอยู่ในระดับสูงจนถึง 1H22 เป็นอย่างน้อย

ขณะที่ราคาสุกรจีนทำระดับต่ำสุดใหม่จากภาวะอุปทานส่วนเกิน ปรับคำแนะนำลงเป็น ถือ ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 28.50 บาทต่อหุ้น (จาก 33.75 บาท)

 

กำไร 4Q ต่ำกว่าประมาณการของเรา

CPF รายงานกำไรสุทธิ 4Q21 ที่ 6.7 พันลบ. (+5% yoy) จากขาดทุนสุทธิ 5.4 พันลบ. ใน 3Q21 ต่ำกว่าประมาณการของเราและตลาด 43% และ 25% เนื่องจาก (1) อัตรากำไรขั้นต้นที่ 7.1% เทียบกับสมมติฐานของเราที่ 12.4% และ (2) ส่วนแบ่งกำไรที่ 2.6 พันลบ. เทียบกับประมาณการ 3.7 พันลบ.

 

ราคาสุกรสูงขึ้น และต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้น

ราคาสุกรและไก่เนื้อในประเทศสูงขึ้นเป็น 85 บาทต่อกก. (+5% yoy) และ 39 บาทต่อกก. (+22% yoy) ตามลำดับ เราคาดราคาสุกรในไทยจะยังอยู่ในระดับสูงที่ใน 2022 เนื่องจากวัฏจักรการผลิตสุกรที่ยาว (300 วัน) ซึ่งจะหนุนราคาไก่เนื้อและกุ้งให้สูง ส่วนราคาสุกรในเวียดนามจะฟื้นตัว เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยชะลอการเชือดและขายสุกรจากกรณีโรค ASF ระบาด แต่ราคาสุกรในจีนกลับทำจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 35 เดือน เนื่องจากภาวะอุปทานส่วนเกิน อย่างไรก็ตามต้นทุนอาหารสัตว์เป็นความเสี่ยงหลัก เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนค่าขนส่งยังอยู่ในระดับสูงใน 1H22 เป็นอย่างน้อย สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในทวีปอเมริกาใต้ทำให้ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ต้นทุนกากถั่วเหลืองและข้าวโพดเพิ่มเป็น 21.6 บาทต่อกก. (+13% yoy) และ 11.1 บาทต่อกก. (+16% yoy) ตามลำดับ

 

 

ผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์ รัสเซีย - ยูเครน

บริษัทคาดมีผลกระทบเล็กน้อยจากเหตุการณ์ รัสเซีย - ยูเครน เนื่องจากการดำเนินงานที่เน้นไปที่ตลาดในประเทศ นอกจากนี้บริษัทใช้สินเชื่อธนาคารด้วยสกุลเงินท้องถิ่น แต่คาดว่า CPF อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากค่าเงินรูเบิลของรัสเซียอ่อนค่า

 

ปรับคำแนะนำเป็น ถือ TP ใหม่ที่ 28.50 บาทต่อหุ้น (จาก 33.75 บาท)

เราปรับประมาณการกำไรปี FY22F ลง 17% เป็น 1.63 หมื่นลบ. หลัง (1) ปรับสมมติฐานต้นทุนขึ้น, (2) ลดอัตรากำไรขั้นต้น, และ (3) ลดส่วนแบ่งกำไรจาก CTI โดย TP ของเราอ้างอิง 15x FY22F PER