กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปะการัง หอยมือเสือ “ห้ามค้า ห้ามเพาะ ห้ามครอบครอง”

กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปะการัง หอยมือเสือ “ห้ามค้า ห้ามเพาะ ห้ามครอบครอง”

ความงามใต้ทะเล ปัจจุบันกำลังถูกคุกคามจากมนุษย์ มลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลักลอบจับสัตว์น้ำสวยงามขึ้นมาใช้ประโยชน์ ฯลฯ ทำให้ระบบนิเวศทางทะเลและสัตว์น้ำลดจำนวนลง บางสายพันธุ์ถูกคุกคามจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมงในฐานะโฆษกกรมประมง เปิดเผยว่า จากนโยบายของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล โดยมอบนโยบายให้กรมประมงเร่งดำเนินการสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ

 

กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปะการัง หอยมือเสือ “ห้ามค้า ห้ามเพาะ ห้ามครอบครอง”

เนื่องจากพบว่าระบบนิเวศทางทะเลของประเทศไทยเสื่อมโทรมลงส่งผลให้เกิดการสูญเสียของระบบหมุนเวียนสารอาหารส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะแนวปะการังซึ่งถือเป็นแหล่งสืบพันธุ์ วางไข่ อนุบาลตัวอ่อน ที่หลบภัยของสัตว์น้ำถูกลักลอบเก็บขึ้นมาจำหน่ายในตลาดปลาสวยงามเพื่อตกแต่งเลียนแบบระบบนิเวศใต้ท้องทะเล

และอาจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ค้าและผู้ซื้อ กรมประมงจึงขอชี้แจงว่าสัตว์น้ำบางชนิดไม่สามารถซื้อ ขายหรือครอบครองได้  โดยปัจจุบันกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง ใช้กฎหมายหลักในการคุ้มครองสัตว์ป่า  2 ฉบับ ดังนี้

กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปะการัง หอยมือเสือ “ห้ามค้า ห้ามเพาะ ห้ามครอบครอง”

พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวได้ถูกปรับปรุงขึ้นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ใช้เครื่องมือที่ไม่เอื้อต่อการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษา ฟื้นฟูสัตว์ป่า ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกในข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสัตว์ป่าและพืชป่าซึ่งมีผลทำให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว

เพื่อจัดให้มี มาตรการในการควบคุม ครอบครองการค้า การนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านซึ่งสัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า และผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า โดยกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2546 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

สัตว์ป่าไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ

  • กัลปังหาทุกชนิดในอันดับ (Order) Gorgonacea
  • กัลปังหาดำทุกชนิดในอันดับ (Order) Antipatharia
  • ดอกไม้ทะเลทุกชนิดในอันดับ (Order) Actinaria
  • ปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ (Order) Scleractinia และในอันดับ (Order) Stylasterina
  • ปะการังไฟทุกชนิดในสกุล (Genus) Milleporina
  • ปะการังสีฟ้าทุกชนิดในอันดับ (Order) Helioporacea
  • ปะการังอ่อนทุกชนิดในอันดับ (Order) Alcyonacea
  • หอยมือเสือทุกชนิดในวงศ์ (Family) Tridacnidae

 มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง

มาตรา 17 ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว เว้นแต่

(1) เป็นการครอบครองโดยผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ตามมาตรา 33 หรือสวน
สัตว์ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่

(2) เป็นการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ของผู้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการเพาะพันธุ์
สัตว์ป่าตามมาตรา 28 ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว

(3) เป็นกรณีตามมาตรา 10 หรือมาตรา 11

มาตรา 23 ผู้ใดจะนำเข้าหรือส่งออกซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ สัตว์ป่าควบคุม ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมประมง

กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปะการัง หอยมือเสือ “ห้ามค้า ห้ามเพาะ ห้ามครอบครอง”

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 29 ห้ามมิให้ผู้ใดค้าสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าดังกล่าว

  • พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

  1. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ข้อ 2 ห้ามมิให้บุคคลใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน
ราชอาญาจักรซึ่งสัตว์น้ำที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายประกาศนี้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมประมงมอบหมาย

 

กัลปังหา ดอกไม้ทะเล ปะการัง หอยมือเสือ “ห้ามค้า ห้ามเพาะ ห้ามครอบครอง”

หมวด 1 กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า และนำผ่านราชอาณาจักร เพื่อป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ จำพวกสัตว์น้ำอื่นๆ ได้แก่ ดอกไม้ทะเล ปะการัง กัลปังหา แมงกะพรุน

 2. ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ ที่ห้ามจับหรือนำขึ้นเรือประมง พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 7 เมษายน 2559

ข้อ 2 กำหนดให้สัตว์น้ำชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำที่หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ (รายชื่อตามพรบ.สัตว์ป่าสงวน) เป็นสัตว์น้ำที่ห้ามมิให้ผู้ใดจับหรือนำขึ้นเรือประมง

ข้อ 3 ความตามประกาศนี้ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีจําเป็นเพื่อการช่วยชีวิตของสัตว์น้ำนั้น

สำหรับบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดต้องระวางโทษ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

มาตรา 89 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 หรือมาตรา 29 ถ้ากระทำต่อสัตว์ป่าคุ้มครอง ซากสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 92 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 17 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 55 (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มาตรา 93 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 32 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนมาตรา 32 วรรคสามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

2. พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา 144 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ในกรณีผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์ไปปล่อยในที่จับสัตว์ฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 145 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 66 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสามล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่จับหรือนำขึ้นเรือประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

           กฎหมายทั้ง 2 ฉบับมีบทกำหนดโทษที่รุนแรงเพื่อป้องกันการกระทำผิด ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์ทะเลเพื่อความสวยงามผู้เลี้ยงและผู้ค้าจะต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ชัดเจนเสียก่อนว่าสัตว์น้ำชนิดไหนสามารถเลี้ยงได้