แรงซื้อคืนในหุ้นสหรัฐฯ สอดคล้องที่เราประเมินจุดเปลี่ยนทางจิตวิทยา

แรงซื้อคืนในหุ้นสหรัฐฯ สอดคล้องที่เราประเมินจุดเปลี่ยนทางจิตวิทยา

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวแรง โดย DJIA (+1.65%), S&P500 (+2.43%) และ Nasdaq (+3.13%) ทั้งนี้ เราประเมินว่าเกิดจาก

1) Valuation ของหุ้นที่ถูกลงหลังดัชนีและหุ้นรายตัวจำนวนมากปรับลดลงมากกว่า 10% ในช่วงที่ผ่านมา 2) ความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระยะสั้นถูกผลักไปหลังการประชุมรอบหน้า 15-16 มี.ค. 3) แรงซื้อคืน (Short covering) ของนักลงทุนที่ขายทำกำไรหรือขายชอร์ตไปก่อนหน้า ทำให้หุ้นขนาดใหญ่ฟื้นตัวได้ดี อาทิ VISA (+10.60%), Master Card (+9.12%), Microsoft (+2.81%). Google (+3.37%), Meta (+2.40%), Apple (+6.98%), Nvidia (+4.08%) ทั้งนี้การฟื้นตัวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ อาจดึงให้กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ในไทยมีการฟื้นตัวขึ้นตาม อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากดัชนีของกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์ (Philadelphia Semiconductor - SOX) ที่ฟื้นตัวขึ้นเพียง +1.83% น้อยกว่าการฟื้นตัวของ Nasdaq และหุ้นใหญ่จำนวนมาก ทำให้นักลงทุนไม่ควรคาดหวังมากเกินไปกับการฟื้นตัวที่จะเกิดขึ้น และการเก็งกำไรควรกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง โดยเรายังคงมุมมองกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์จะเผชิญความเสี่ยงของพรีเมี่ยมการซื้อขายที่ลดลง (แม้กำไรจะเติบโตได้ต่อเนื่อง) ดังที่เราเตือนนักลงทุนมาตั้งแต่ช่วงต้นธ.ค.64 ที่ผ่านมา
 

การเติบโตของอาเซียนยังเป็นปัจจัยบวกต่อเงินทุน ขณะที่ติดตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของ ASEAN ปี 65-66 ที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เป็นทิศทางที่ดีกว่าภาพรวมของประเทศส่วนใหญ่ในโลกจะยังเป็นปัจจัยบวกต่อภาพของการประจายเงินลงทุน (asset allocation) มายังประเทศในกลุ่ม ASEAN

 

ขณะที่มีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในระยะสั้นน้อยกว่า (ยุโรปมีปัจจัยลด QE และความเสี่ยงความขัดแย้งกับรัสเซีย) อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อาจส่งผลต่อความผันผวนของกระแสเงินทุนระยะสั้น
 

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ 2) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ตลาดเก็งกำไรการเข้าสู่ธุรกิจใหม่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล และผลประกอบการปี 2564 ที่น่าจะเห็นการจ่ายปันผลในระดับที่ดี อย่างไรก็ตามยังมีความไม่ชัดเจนของภาพรายได้ปี 2565 อีกมาก การเก็งกำไรจึงควรกำหนจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง KGI, ASP, CGH, FSS 3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 4) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 5) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, VPO, CPI, TOP, GJS, RAM, IND, MAKRO

ภาพรวมกลยุทธ์: คาดความผันผวนจะทยอยลดลง และจิตวิทยาของตลาดมีโอกาสทยอยปรับดีขึ้นจากแนวโน้มการรายงานผลประกอบการ แม้อาจเกิดแรงซื้อคืนกลุ่มที่ลงมาเยอะ เช่น อิลเล็กทรอนิกส์ แต่ไมได้เปลี่ยนภาพใหญ่ ที่เป็นการเกิด rotation จากการขายลดกลุ่มผู้ชนะจากโควิด และหมุนไปยังกลุ่มที่ปลอดภัยหรือ Valuation ต่ำ รวมทั้งที่ได้ประโยชน์จากวัฏจักรดอกเบี้นขาขึ้น //หุ้นแนะนำ: PTTEP*, TU, WHAUP*, TWPC*
แนวรับ: 1,620-1,630 / แนวต้าน : 1,650-1,660 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

ประเด็นการลงทุน

LH. ปักธงยอดโอนปีนี้พุ่ง 33,000 ล้านบาท ตุนแบ็กล็อก 6,000 ล้านบาท บุ๊กทั้งหมดในปีนี้

TU-RBF. TU ผนึกกำลัง RBF และ SCPL ตั้งบริษัทร่วมทุนบุกตลาดธุรกิจส่วนผสมอาหารในอินเดีย พร้อมพิจารณาตั้งโรงงานการผลิตในอินเดีย

BCPG. ทุ่มงบ 6 พันล้านบาท ลุยพัฒนาโครงการโซลาร์ฟาร์มในไต้หวันอีก 357 เมกะวัตต์ คาดเริ่มก่อสร้างปี 65-67 กำหนด COD ปี 65-68 หวังเพิ่มความสามารถการแข่งขันในระยะยาว

DTAC. จ่ายปันผลครึ่งหลังปี 64 หุ้นละ 1.05 บาท ส่งผลให้ราคาเทนเดอร์ฯที่ "ชิทริน โกลบอล" จะรับซื้อตามแผนควบรวมกิจการกับ TRUE ลดเหลือ 46.71 บาท จากเดิม 47.76 บาท

SUPER – อนุมัติให้บริษัทย่อย (SEG HK) จำหน่ายหุ้น 49% ของ Solar NT (ลงทุนไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเวียดนาม 9 โครงการ 837MW) ให้แก่ ACEV (บริษัทด้านพลังงานในผิลิปปินส์) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic partner) โดยมีขนาดรายการ 5,490 ล้านบาท

 

ประเด็นติดตาม: 28 ม.ค. – US PCE Price Index เดือน ธ.ค. / 31 ม.ค. – Chinese Manufacturing PMI เดือน ม.ค. / 4 ก.พ. – TH CPI เดือน ม.ค.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)