3 หุ้นใหญ่ “แบตเตอรี่” นำสตอรี่สู่ยานยนต์ไฟฟ้า

3 หุ้นใหญ่ “แบตเตอรี่”   นำสตอรี่สู่ยานยนต์ไฟฟ้า

เมกกะเทรนด์ใหญ่ของโลกจับตาไปยังธุรกิจ new s curve มีประเภทธุรกิจที่น่าสนใจ ประกอบไปด้วย ยานยนต์ EV กักเก็บพลังงานหรือ แบตเตอรี่ – โรงไฟฟ้า-โรงพยาบาล ดิจิตอล และ ความปลอดภัยด้านไซเบอร์

ธุรกิจดังกล่าวยังมีปัจจัยสนับสนุนแต่ละประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งในไทยธุรกิจเกี่ยวข้องแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้า ภาครัฐให้การสนับสนุนชัดเจนด้วยมาตรการทางภาษี ทั้งลดภาษีนำเข้ารถยนต์   ลดภาษีสรรพสามิตรจาก 8% เหลือ 2%   

สนับสนุนให้เงินอุดหนุนผู้ซื้อรถ ครอบคลุมทั้งซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งการผลิตชิ้นส่วนและแบตเตอรี่ในประเทศ รวมไปถึงการลงทุนสถานีชาร์ต   และที่ผ่านมามีการเสนอเข้าครม.พิจารณาอย่างต่อเนื่องแต่ยังไม่ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการจะเริ่มเมื่อไร

ดังนั้นจึงถือว่าเป็นข่าวที่หนุนที่นักลงทุนเฝ้ารอคอยและมีผลต่อราคาหุ้น  ซึ่งต้องยอมรับว่ากลุ่มธุรกิจแรกที่ได้ประโยชน์สูงสุดในไทย คือ โรงงงานแบตเตอรี่ เนื่องจากมีผู้ประกอบการไม่กี่ราย คู่แข่งมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับซัพพรายเชนอุปกรณ์ยานยนต์ไฟฟ้าที่มีหลายเจ้า และไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีขั้นต้น (Tier1)

ปัจจุบันหุ้นแถวหน้าที่เข้าสู่การเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อย่างชัดเจนในไทยมีเพียง 3 ราย อันดับ 1ยกให้ บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA  กดปุ่มผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรไปปลายปี 2564   ภายใต้กำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ผ่านบริษัทย่อยคือ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัดกำลังการผลิตเฟสแรก 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี (GWh)

3 หุ้นใหญ่ “แบตเตอรี่”   นำสตอรี่สู่ยานยนต์ไฟฟ้า

พร้อมตั้งเป้าหมายระยะยาวจะมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี เน้นป้อนเข้าสู่กลุ่มรถเชิงพาณิชย์ที่จดทะเบียนอยู่ราว 1.3 ล้านคัน ซึ่งธุรกิจที่เข้ามารองรับต่อจาก EA ผลิตแบตเตอรี่แล้ว บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX

NEX เป็นผู้ผลิตและรับจ้างผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก ตามคำสั่งซื้อของลูกค้า   ธุรกิจให้เช่ารถบัสโดยสารทางการเงินในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ผ่านบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด  และยังประอบไปด้วยศูนย์ซ่อมบำรุง ที่ถือหุ้นโดย NEX  ซึ่งมีสัญญาซ่อมรถของสมาร์ทบัส  

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ บล.บียอนด์ (BYD) ดำเนินธุรกิจการเงินเป็นตัวกลางในการวางแผนจัดซื้อรถบัสไฟฟ้าทั้งสิ้น 337 คัน ภายใน 3 ปี และยังดูแลระบบเทคโนโลยี ที่ติดตั้งในระบบ EV เช่น ติดติดตั้งกล้องวงจรปิด ระบบ GPS  ระบบการชำระค่าโดยสารผ่านบัตรอิเล็กทรอนิคส์ และโฆษณาที่จะปล่อยให้เช่าอีกด้วย

ยักษ์ใหญ่อันดับ 2 บริษัท โกลบอล เพาเวอร์  ซินเนอร์ยี่  จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC สตาร์ทโรงงานผลิตหน่วยกักเก็บพลังงาน ด้วยเทคโนโลยี Semi-solid  ด้วยการร่วมลงทุนตั้งแต่ก.พ. 2563   งบลงทุนโครงการดังกล่าวมีประมาณ 1,100 ล้านบาท

ปัจจุบัน GPSC มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ในไทย 30 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) ซึ่งเริ่มเดินเครื่องผลิตจากการร่วมลงทุนพันธมิตรที่ประเทศจีนกำลังการผลิตแบตเตอรี่ 1GWh ซึ่งGPSC ถือหุ้น 11.1% คาดเริ่มเดินเครื่องผลิตในปี 2566

สอดคล้องกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT พลังงานเบอร์ 1 ของไทย        เร่งเสริมธุรกิจดังกล่าวลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Foxconn ด้วยการจัดตั้ง บริษัทร่วมทุน 3,220 ล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจผลิต    ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย  ทั้งแบตเตอรี่และPlatform Drivetrain หรือ Motor ในช่วง 5-6  ปีมีเป้าหมายการผลิตในระยะแรก 50,000 คัน/ปี และขยายเป็น 150,000 คัน/ปี ในอนาคต

อีกรายที่ว่าทุ่มเงินครั้งใหญ่   บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG    ลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นกู้แปลงสภาพบริษัท วีอาร์บี เอนเนอร์ยี่ (VRB Energy) ประเทศจีน วงเงิน 24 ล้านดอลลาร์ หรือ 772 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตนวัตกรรมด้านแบตเตอรี่วานาเดียมระดับโลก

โดยเงินลงทุนจะใช้ในโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตและประกอบแบตเตอรี่กำลังการผลิต 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะนี้ VRB อยู่ระหว่างดำเนินการผลิตแบตเตอรี่เฟสแรกขนาด 40 เมกะวัตต์/200 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWh) และสร้างโรงงานผลิตและประกอบแบตเตอรี่ขนาด 50 เมกะวัตต์ต่อปี

BCPG มีแผนในไทยนำแบตเตอรี่มาใช้บริหารจัดการการจำกัดการรับซื้อไฟ (Curtailment) ของโรงไฟฟ้า รวมทั้งได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างโรงงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ในประเทศไทย

กล่าวได้ว่า 3 รายใหญ่ที่ก้าวเข้ามาในธุรกิจต้นน้ำ EV  ทำให้มีผลต่อราคาหุ้นปรับขึ้นไปรอรับข่าวล่วงหน้า และยังสะท้อนได้ว่าเป็นหุ้นกลุ่มที่นำอุตสาหกรรมไปสู่การพลิกโฉมในอนาคต