SMEs ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย บทเรียนปี 2564 การปรับตัวในปี 2565...(2)

SMEs ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย บทเรียนปี 2564 การปรับตัวในปี 2565...(2)

เมื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ขีดบนของ K-Shaped Recovery ได้ปรับตัวแล้ว ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังอยู่ขีดล่างของตัว K จะทำอย่างไรเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความ "เปราะบางสูง" ในปี 2565 เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ในปี 2565 การระบาดของ COVID 19 สายพันธุ์ Omicron เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่คาดไว้ ปัญหาเศรษฐกิจสำคัญที่มีสัญญาณมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2564 คือการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่มีการปรับเพิ่มขึ้นในหลายหมวดหมู่ โดยเฉพาะในหมวดอาหาร ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาเนื้อสัตว์ เนื้อสุกร และไก่ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง 

การระบาดของของโรค AFS ในสุกร ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษา ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่ม ทำให้ราคาสุกรสูงขึ้นอย่างฉับพลัน หมวดหมู่ที่มีการปรับตัวสูงสุดคือ หมวดการขนส่ง ที่มีการเติบโต 7.7% ในปี 2564 สูงที่สุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 มีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 25.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ปัญหาที่ตามมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น คือความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง ทำให้การบริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ความต่อเนื่องของแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิเช่น มาตรการสินเชื้อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของรัฐผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ดำเนินการมาในปี 2564 ยังไม่ส่งผลในทางบวกมากนัก ในขณะที่งบประมาณที่จะใช้ดำเนินการในปี 2565 ลดน้อยลง ทำให้เสถียรภาพของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบยังคงเปราะบางสัดส่วนของหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับสูง ล้วนเป็นปัจจัยลบต่อภาวะเศรษฐกิจในปี 2565 ทั้งสิ้น

ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งอยู่ในขีดล่างของ K-Shaped Recovery เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงหลายปีติดต่อกัน นับตั้งแต่ปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ มาจนถึงการแพร่ระบาดของไวรัส COViD-19 ทำให้เป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เพียงสิ้นไตรมาส 3 ของปี 2564 สูงถึง 7.18% ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ NPL เพียงแค่ 2.41%

ปัญหาหนี้เสียทำให้สถาบันการเงินมักจะคัดเลือกกลุ่มลูกค้าให้สินเชื่อ แก่กลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่ำ มีศักยภาพสูงในการชำระหนี้คืน ผู้ประกอบการ SMEs จึงยังคงมีความยากลำบากในการเข้าถึงสินเชื่อเช่นเดิม ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากได้ล้มหายตายจากไปจากระบบ เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจได้ ถ้าหากมีการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs ปัจจุบัน จำนวน SMEs คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญย่างแน่นอน

การหวังพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ ถือเป็นความเสี่ยงในการักษาธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้ เนื่องจากภาครัฐได้ก่อหนี้เพื่อเยี่ยวยาช่วยเหลือธุรกิจ จนมีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงมากแล้ว การแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของรัฐบาลยังคงเหมือนเดิมเดิม ในประเทศสหรัฐฯ

ในยุคของประธานาธิบดี โจ ไบเดน มีตัวอย่างของมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่น่าสนใจ คือการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือร้านอาหารมูลค่า 2.86 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากโควิด โดยธุรกิจที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุดถึง 10 ล้านดอลลาร์ มาตรการนี้สามารถช่วยเหลือร้านค้าได้กว่า 100,000 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา มาตรการแบบนี้คงเป็นความฝันในประเทศไทย

กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ขีดบนของ K-Shaped Recovery ได้ปรับตัวแล้ว ท่านผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังอยู่ขีดล่างของตัว K จะทำอย่างไรเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเปราะบางสูงในปี 2565 เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง...