วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง

วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง

เวทีวปอ. เปิดแสดงความคิดเห็น ผ่าแผนยุทธศาสตร์ชาติเสนอรัฐ ลดขนาดอำนาจ ลดขนาดภาครัฐ เพิ่มความคล่องตัวบริหารบนโลกใหม่ ลดภาระภาคการคลังในอนาคต พร้อมเปิดทางคนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมคิดแผนยุทธศาตร์ชาติเพื่อกำหนดทิศทางประเทศ

วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง       วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เปิดเวที Leadership talk Series  หัวข้อ From Strategy to Execution เพื่อเปิดเวทีในการแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์”ที่สำคัญของประเทศไทย

     โดยมี 3 วิทยากรมาให้ข้อคิดเห็น ทั้ง “วิรไท สันติประภพ”อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) “ปกรณ์ นิลประพันธ์” เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ“โจ ฮอร์น พัธโนทัย” กรรมการอำนวยการ บริษัท strategy613 จํากัด โดยมี “ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์” กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ดำเนินรายการ 

    “วิรไท สันติประภพ” กล่าวว่า โจทย์ใหญ่ ของเศรษฐกิจไทย ของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ ต้องยอมรับว่า วันนี้ “เรา”อยู่ในโลกที่คาดการณ์อนาคตได้ยากขึ้นเรื่อยๆ หรืออยู่บนโลกที่เรียกว่า “VUCA” ที่เต็มไปด้วยความผันผวนสูง ความไม่แน่นอน และความซับซ้อน ความคลุมเครือมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราไม่สามารถคาดเดา หรือใช้เครื่องมือแบบเดิมๆ ก็ไม่ได้ส่งผลเหมือนเคย

วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง

      ภายใต้การทำแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ ต้องคำนึงถึง การเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม ทั้งของคนในองค์กร และนอกองค์กร ถึงจะได้ outcome หรือผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งเป็นน้ำหนักที่สำคัญภายใต้การคาดเดาอนาคตไม่ได้

     อย่างไรก็ตาม การทำแผนยุทธศาสตร์ในช่วงที่ผ่านมามักจะติดกับ base line แบบเดิมๆ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของโลกที่มีความไม่แน่นอนสูง จึงทำให้เราติดอยู่ในกรอบเดิม ไม่สอดคล้องกับบริบทที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือต้องอยู่บนซินาริโอ และปรับให้เท่าทัน ซินาริโอต่างๆ ต้องมองตัวแปรต่างๆที่เปลี่ยนไปเข้ามาในการทำแผนต่างๆด้วย
 

    เรื่องการทำแผนยุทธศาสตร์ หากกลับไปดูจุดเริ่มต้น พบว่า ปัญหาที่สำคัญ คือเราติดกรอบคิดเดิม เช่นกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 13 ที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางเรื่องต่างๆ แต่บนโลกที่ทุกอย่างเชื่อมกันด้วยดิจิทัล ด้วยเน็ตเวิร์ก ทำให้โลกวันนี้ ไม่มีศูนย์กลาง 

    ขณะเดียวกันอุปสรรคด้านหนึ่ง ในการทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ คือ การมีระบบราชการที่ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดภาระกับประเทศ กับภาระทางการคลัง ยิ่งใหญ่ยิ่งต้องมีกรอบกฎหมายมากมาย เหล่านี้ทำให้เป็นข้อจำกัดทางสังคม ข้อจำกัดในการพัฒนานวัตกรรม

    “ที่ผ่านมาเราเห็นการตั้งหน่วยงานเพิ่ม ขออัตราคนเพิ่ม โดยไม่มองข้อจำกัดของประเทศ ไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ เรามักทำแผนหรือนโยบาย ที่หวังให้สามารถหาทางที่จะได้งบประมาณ เหล่านี้ก็กลายเป็นเบี้ยหัวแตก ไม่ค่อยรู้สึกถึงผลหรือทางปฏิบัติ  และทำให้เศรษฐกิจไม่โตแบบที่ควร และเวลาภาครัฐใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ระบบภาครัฐจะเป็น SILO ทำให้ปัญหาหลายเรื่องแก้ไขไม่ได้ เพราะประเด็นปัญหาจาก“โครงสร้างอำนาจรัฐ” และการออกแบบกฎหมายการทำงานที่อิงกับโลกเก่ามากขึ้นเรื่อยๆ"

    อีกทั้งมองว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ต่างๆ execution guiding principles การดำเนินการ การนำทาง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

    “การสื่อสาร” ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะสื่อสาร ฐานะภาครัฐต้องทำหน้าที่จัดการความกลัวของ Stakeholder ผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างไร และทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชน เหล่านี้เป็นหน้าที่ของผู้กำกับดูแล ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

    ขณะเดียวกัน การสื่อสาร ก็ต้องทำให้เกิดความทั่วถึง วันนี้การสื่อสารมักจะมาจากการสื่อสารจากคนระดับเดียวกัน แต่อย่างลืมว่าสังคมมีหลายระดับ มีบริบทที่ต่างกัน เจเนอเรชั่นที่ต่างกัน ดังนั้นโจทย์ที่สำคัญคือ เวลาจะทำอะไรให้ถึงระดับประชาชน ต้องทำให้การสื่อสารข้ามระดับ ข้ามชนชั้น

    ทั้งนี้การทำแผนยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือต้องทำให้คนรุ่นใหม่ มีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศ ออกแบบประเทศ เพราะโลกข้างหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยๆ ดังนั้นวิธีคิดของคนรุ่นเก่าๆจะตามไม่ทัน และติดกรอบ paradigm แบบเดิม และเปิดให้คนในเจเนอเรชั่นเข้ามาช่วยคิดมากขึ้น เพื่อเปิดให้คนรุ่นใหม่แสดงฝีมือ

      วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง  “ปกรณ์ นิลประพันธ์” กล่าวว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ มองว่าด้านที่ความท้าทายสำคัญ คือภาครัฐมีขนาดที่ใหญ่มาก และยังคงยึดติดกับการทำงานรูปแบบเดิมๆ มีกฎหมายคลุมค่อนข้างมาก  

    ในมุมนักกฎหมาย ไม่แฮปปี้ที่มีกฎหมายเยอะ เพราะจำกัดสิทธิเสรีภาพคน ในทางตรงกันข้าม ภาครัฐยิ่งขยายภารกิจรัฐไปเรื่อยๆ เพราะการมีกฎหมายมาก ภาครัฐต้องส่งคนไปดู ซึ่งทำให้เสียทั้งเวลา ยิ่งสร้างต้นทุน

    อย่างไรก็ตามปัจจุบัน ประเทศอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์แบบเดิมยังอิงกับยุทธ์ศาสตร์เดิม 80-90% มาจากแผนเดิม มา Set โครงการใหม่ เพื่อของบประมาณ หรือตั้งหน่วยงานซ่อนมาในแผน ซึ่งการตั้งหน่วยงานเป็นร้อย ก็ไม่สามารถการันตีว่าจะประสบความสำเร็จ เหล่านี้ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีความคล่องตัว

     ไม่สอดคล้องกับโลกข้างหน้าที่เรากำลังเข้าสู่ สังคมสูงวัย Aged Society แล้วรัฐ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายบำเหน็จบำนาญ ไม่มีทางเพียงพอ เพราะโลกข้างหน้าจะเปลี่ยนไป ดังนั้นการมีหน่วยงานจำนวนมาก มีแต่เจ๊งกับเจ๊ง เพราะมีแต่ต้นทุน ดังนั้นภาครัฐควรลดขนาดลงมา

   “ที่ผ่านมาเราพยายามเลียนแบบระบบเลือกตั้งของต่างประเทศ เช่นเยอรมัน สหรัฐ เราทดสอบทุกระบบแต่ใช้กับไทยไม่ได้สักระบบเดียว เพราะแต่ละประเทศต่างกัน ดังนั้นเราจะเอามาเปรียบเทียบ ทำลอกกันไม่ได้ และลอกได้ในสิ่งที่ลอกได้เท่านั้น หากจับแพะชนแกะไปเรื่อยๆ เหมือนทุกวันนี้ จะลำบาก ดังนั้นการคิดยุทธศาสตร์ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ทั้งภาพรวมและองค์กรด้วย”

   “ วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง กล่าวว่า สิ่งที่ต่างเกี่ยวกับรัฐบาลไทย และจีน คือรัฐบาลจีนมีขนาดเล็กมาก หากเทียบกับสหรัฐที่รัฐบาลมีถึง 1 ล้านคนไม่รวมทหาร ตำรวจ ฯลฯ แต่รัฐบาลจีนมีเพียง 1 แสนคน ขณะที่จีน มีการห้ามเพิ่มหน่วยงานทุกระดับ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ขณะที่จีนสามารถควบคุมทุกอย่างได้ โดยเฉพาะการบริหารงาน ที่มีการส่งต่อไปสู่ระดับมณฑล สู่ระดับเมืองเพื่อบริหารส่วนต่างๆแทนซึ่งถือว่าทำได้ดี

    ทั้งนี้มองว่า โจทย์ที่เป็นปัญหา เช่นการทำให้รัฐไซส์เล็กลง (Downsizing) ถือเป็นเรื่องระยะยาว แต่สิ่งที่ทำได้เลย และพยายามต้องทำ คือการปรับโครงสร้างภาครัฐ ให้เกิดการใช้ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งอย่าไปเร่งทำเรื่องใหญ่ แต่เน้นเรื่องๆเล็กๆให้ได้ผลจริงก่อน เร่งจุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก่อน ทั้งการปรับโครงสร้างวิธีการทำงาน การปรับทัศนคติในด้านต่างๆ

    "แผนยุทธศาสตร์ ไม่ควรมีใครรับผิดชอบ แต่แผนยุทธศาสตร์ชาติเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน ที่ต้องร่วมมือกัน ต้องลงไม้ลงมือ เพื่อไม่ให้เป็นภาระใครคนเดียว ดังนั้นทุกส่วนต้องร่วมมือกัน"

วปอ.ชงแผนยุทธศาสตร์ชาติ ลดไซส์ภาครัฐ ลดภาระการคลัง