Bank Sector ตลาดตราสารหนี้คึกคักมากขึ้น

Bank Sector ตลาดตราสารหนี้คึกคักมากขึ้น

ธนาคารส่วนใหญ่หันมาเร่งเพิ่มสถานการณ์ถือครองตราสารหนี้ โดยพอร์ตการลงทุนรวมขยายตัวถึง 7%MoM และ YTD ทั้งนี้ KTB มีการเคลื่อนไหวคึกคักที่สุด

โดยสถานะการลงทุนของธนาคารโตถึง +24%MoM และ +7% YTD รองลงมาคือ KBANK (+6% MoM และ +60% YTD) และ TTB (+7% MoM และ+9% YTD) อย่างไรก็ตาม สถานะของ BBL ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องมา 5-6 เดือนแล้วในขณะที่ SCB ยังคงไม่เคลื่อนไหวมากนักในตลาดนี้

 

การกู้ยืมในตลาดเงินเพิ่มขึ้นอีก +10% MoM +5% YTD

กิจกรรมการกู้ยืมในตลาดเงินคึกคักมากขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่สถานะของธนาคารต่าง ๆ ทรงตัวติดต่อกันมาสามไตรมาส โดยมีเพียง KTB/SCB เท่านั้นที่ปล่อยกู้เพิ่มขึ้น MoM (+28%/+23%) ในขณะที่ KBANK ลดสถานะในตลาดเงินลง (-8% MoM และ -40% YTD) ส่วนของ BBL ยังทรงตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง

 

การขยายตัวของสินเชื่อยังคงซบเซา โดยทรงตัว MoM แต่เพิ่มขึ้น +4.5% YTD

สินเชื่อโดยรวมยังคงทรงตัว MoM โดยของ BBL หดตัวลงเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าเป็นผลสะท้อนจากการจ่ายคืนเงินกู้สินเชื่อระยะสั้นสำหรับเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทที่ค้าขายสินค้าโภคภัณฑ์ที่ธนาคารปล่อยในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่สินเชื่อของ KTB เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงการปล่อยสินเชื่อตามโครงการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหา ในขณะเดียวกัน สินเชื่อของ KBANK และ KKP ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วน TTB SCB และ TISCO ยังคงระมัดระวังในการขยายสินเชื่อ

 

 

 

 

Valuation and action - เราชอบธนาคารใหญ่มากกว่า

จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการ lockdown เพื่อกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือนตุลาคม 2564 ทำให้ KBANK และ KKP ซึ่งขยายสินเชื่ออย่างหนักในช่วง 12 เดือนก่อนหน้ากลับมาแผ่วลงในเดือนตุลาคม 2564 แสดงว่าสินเชื่อส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้น่าจะเป็นสินเชื่อตามโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหา ในขณะเดียวกัน TISCO, TTB และ SCB ยังคงขยายสินเชื่อแบบระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม งบดุลของ KTB ที่มีลักษณะสมดุลมากขึ้นแสดงว่ารัฐบาลมีการดำเนินการออกพันธบัตรมากขึ้นเพื่อมาใช้ในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรายจ่ายอื่น ๆ ของรัฐบาล ทั้งนี้ การที่สินเชื่อขยายตัวตามนโยบายของรัฐบาลจะกดดันทั้งรายได้และกำไรของ KTB ในขณะเดียวกัน เราคิดว่าการสิ้นสุดมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาจะลดแรงกดดันทางฝั่งรายได้ของธนาคารใหญ่อื่น ๆ ลง

 

Risks

การปรับเพิ่มขึ้น NPL และคชจ.สำรองฯ หลังจบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้, ผลตอบแทนสินเชื่อถูกกดดัน