BROOK ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล มูลค่า1.29 พันล้าน เดินหน้าProject ‘ขุดเหรียญ’

BROOK ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล มูลค่า1.29 พันล้าน เดินหน้าProject ‘ขุดเหรียญ’

BROOK เผย ลงทุนลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล มูลค่า1.29 พันล้าน ลุยเดินหน้าโปรเจกต์นำร่อง ’เปิดเหมืองขุดเหรียญ’ ตามแผนงาน

นายวริศ บูลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BROOK  เปิดเผยว่า บริษัทได้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลตั้งแต่ 29 มีนาคม จนถึงปัจจุบัน ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2564 มีมูลค่ารวมกว่า 1,291 ล้านบาท เทียบเป็นมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้ลงทุนไปแล้วอยู่ที่ 36.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยราคาตลาดอยู่ที่ 41.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงกว่าลงทุนจริง ด้านคณะกรรมการยังไม่ได้ตัดสินใจขายเงินลงทุนใดๆ เนื่องจากมีหลักในการลงทุนว่าจะต้องไม่เป็นรูปแบบ Trading Activity หรือการซื้อๆขายๆทุกวันหรือทุกสัปดาห์

สำหรับการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ ผู้บริหารและคณะกรรมการได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการลงทุน นโยบายทางบัญชีและผลกระทบงบการเงินสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมาอย่าต่อเนื่อง ซึ่งกรอบการลงทุนได้กำหนดโดยคณะกรรมการบริษัทในการตัดสินใจเพิ่มหรือลดตามความเหมาะสมของสถานการณ์นั้นๆได้ ที่ผ่านมา

โดยกลยุทธ์การจัดสรรพอร์ตลงทุน บริษัทแบ่งสัดส่วนออกเป็น 60 : 40  โดยสัดส่วน 60% จะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Bitcoin, Ethereum, Binance และ Stable Coin โดย Bitcoin มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นผู้นำในตลาดคริปโทเคอเรนซี รวมถึงได้รับการยอมรับในระดับนักลงทุนสถาบัน Bitcoin ถือว่าได้รับการทดสอบมานานกว่า 10 ปี สำหรับ Ethereum นั้น เป็นเหรียญที่มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สอง แต่เป็นผู้นำในด้านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) และมีมานานกว่า 7 ปี

สำหรับ Binance เป็นเหรียญที่มีมูลค่าตามราคาตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ Top 10 แต่เป็นผู้นำในด้านการแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์ (Centralize Exchange) โดย Binance มีบัญชีที่ลงทะเบียนด้วยมากกว่า 70 ล้านบัญชี นำมาซึ่งมูลค่าเครือข่ายที่แข็งแกร่งมาก ซึ่งเป็นธีมหลักของการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทสุดท้ายคือ Stable Coin ซึ่งถือเป็นการลงทุนตามเงิน Fiat ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงต่ำกว่าเหรียญอื่นๆ

ส่วนการลงทุนอีก 40% ที่เหลือจะเป็นเหรียญอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งเหรียญเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นเหรียญที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เนื่องจากระบบนิเวศที่ยังอยู่ในช่วงพัฒนาและมูลค่าตามราคาตลาดที่น้อยกว่ากลุ่มแรก อย่างไรก็ตามการลงทุนในเหรียญเหล่านี้เป็นส่วนที่จำเป็นในการดำเนินการในระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งบริษัทฯ เชื่อว่าจะเติบโตไปด้วยกันในฐานะสินทรัพย์ประเภทใหม่ ดังนั้นบริษัทฯ จึงตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหลากหลายประเภทมากขึ้นเพื่อติดตามโครงการใหม่ๆ ไปตามกรอบแนวทางความเสี่ยง กล่าว

นายวริศ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการติดตามพอร์ตภายหลังการเข้าลงทุน บริษัทไม่ได้ใช้หลักมาตรวัดเพื่อทำการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) แต่จะอยู่ในรูปแบบการติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด (Closely monitoring) หากปรากฏว่ามีข้อมูลข่าวสารที่ทางแผนกการลงทุนพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นปัจจัยที่มีความเป็นวิกฤติ (critical point) เช่น ระบบ Bitcoin หรือ Blockchain ถูกโจมตีก่อให้เกิดความล้มเหลวในเทคโนโลยี หรือมีเงินจำนวนมหาศาลถูกขโมยออกจากระบบ ในทางกลับกันหากเป็นปัจจัยบวก เช่น การค้นพบเทคโนโลยีใหม่หรือการต่อยอดเทคโนโลยีเดิมซึ่งประสบความสำเร็จเกินกว่าที่คาดไว้ แผนกการลงทุนก็จะใช้ดุลยพินิจในการขอเรียกประชุมคณะกรรมการการลงทุนเพื่อรายงานสถานการณ์และข้อมูลเพื่อให้ความเข้าใจเพิ่มเติมถึงความผันผวนว่าสามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง เพื่อให้ทางคณะกรรมการการลงทุนได้ดำเนินการตัดสินใจต่อไปว่าควรจะทำอย่างไร

ขณะที่การลงทุนโปรเจกต์ใหม่ในระบบคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับเครือข่ายสินทรัพย์ดิจิทัล มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) สร้าง Knowledge Base ตลอดจนสร้างแบรนด์ในฐานะผู้ที่มีข้อมูลเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลที่ครอบคลุมในส่วนต่างๆ (Integrated Knowledge Base) ปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการไปบางส่วนแล้ว  ซึ่งหากสภาวะไม่เหมาะสม อาจจะมีการลงทุนไม่ถึงตามจำนวน 70 ล้านบาทตามเป้าหมายที่วางไว้ได้