หุ้นสื่อสาร X ดิจิทัล เกมใหญ่ในยุคหลังโควิด

หุ้นสื่อสาร X  ดิจิทัล  เกมใหญ่ในยุคหลังโควิด

ลือให้สนั่นชาวหุ้น (อีกครั้ง)จากกระแสการซื้อ-ขายกิจการของกลุ่มสื่อสารในตลาดหุ้น มีผู้เล่นเพียงแค่ 3 รายแต่เป็นธุรกิจที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนระดับแสนล้านบาท จึงทำให้ทุกดีลที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ดังล่าวล้วนแต่สร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น

กระแสดังกล่าวเกิดกับผู้เล่นในตลาดเบอร์ 2 และ เบอร์ 3 คือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUEและ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC อาจจะมีดีลเซอร์ไพรส์ด้วยการ TRUE เข้าซื้อกิจการ DTAC เพื่อควบรวมกิจการและขึ้นมาแข่งกันกับเบอร์ 1 ในตลาด

ตามตัวเลขจำนวนผู้ใช้บริการแบ่งเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดเบอร์ 1 ตกเป็นของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)หรือ ADVANC ด้วยจำนนผู้ใช้บริการในมือ 43.2 ล้านเลขหมาย เบอร์ 2 TRUE มีผู้ใช้บริหาร 31.7 ล้านเลขหมาย และเบอร์ 3 DTAC มีผู้ใช้บริการ 19.2 ล้านเลขหมาย

การคาดการณ์ดังกล่าวมาจากการแข่งขันอุตสาหกรรมสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงโควิดระบาด ทุกธุรกิจต่างพุ่งตัวไปสู่ดิจิทัล ซึ่งสื่อสารถือว่าเป็นธุรกิจพื้นฐานที่เข้าสู่เทรนดังกล่าวได้ง่าย

โดยเห็นได้ชัดเจนผ่านช่วงการระบาดโควิด ปี 2563 ทำให้ธุรกิจหยุดชะงัก แต่ในช่วงที่เกิดปัจจัยลบกลับเป็นโอกาสให้เกิดการข้ามกลุ่มเกิดขึ้นแทน จากการเข้ามาทยอยซื้อหุ้น ADVANC โดยบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลวอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และกลายเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 แทนกลุ่มสิงห์เทล เพื่อต่อยอดธุรกิจพลังงานไปสู่ดิจิทัลในอนาคต

ตามมาด้วยการเปลี่ยนแปลงของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ขอเป็น SCBX รายแรกที่เข้าทำธุรกิจด้วยกันคือ ADVANC ด้วยการร่วมปล่อยสินเชื่อดิจิทัล ซึ่งเป็นรายแรกที่เข้าสู่การผนวกธุรกิจการเงินและสื่อสารจนสร้างแรงกระแทกครั้งใหญ่เพราะถือว่าเป็นการจับมือกันระหว่างเบอร์ 1 ด้วยกันในอุตสาหกรรม

ส่วน TRUE มีจุดเด่นที่กลุ่มค้าปลีกรายใหญ่ในไทยภายใต้ร่มธงของ  "ซีพี" ทำให้เป็นทุนธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้มีการขยับทั้งการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพร่วมกับ SCBX   หรือการที่ TRUE เข้าลงทุนใน"ZAPGROUP " ที่ประเทศฟิลิปปินส์

บริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับสิทธิประโยชน์ และแพลตฟอร์มที่เชื่อมระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ (O2O) ในสัดส่วน 70 % มูลค่า 162  ล้านบาท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของการให้บริการดิจิทัลของบริษัทตลอดจนเพื่อโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอนาคต   ซึ่งการจะขยับเข้าสู่ตลาดดิจิทัลเต็มตัวไม่ใช่เรื่องยากแต่อยู่ที่กลยุทธ์ที่จะขึ้นไปเป็นเบอร์ 1 มากกว่า

หุ้นสื่อสาร X  ดิจิทัล  เกมใหญ่ในยุคหลังโควิด

ขณะที่ DTAC เผชิญแรงแข่งขันมาตลอด ตั้งแต่มีการประมูลคลื่น 4G และตามมาด้วย 5G และกลายเป็นจุดที่ทำ DTAC มีจุดอ่อนจากจำนวนคลื่นนำไปแข่งขันน้อยกว่าคู่แข่ง ท่ามกลางอีก 2 รายใหญ่ ที่มีมูลค่าหนี้มหาศาลจากการกู้การประมูลคลื่น มีภาระผ่อนชำระรายปีต่อกสทช. ทำให้ต้องเร่งสร้างเครือข่ายสู้กับคู่แข่งขัน เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาใช้บริการเพิ่มกระแสเงินในมือ

ช่วงดังกล่าวกลายเป็น ADVANC และ TRUE แข่งขันกันเอง ส่วน DTAC แทบจะไม่มีบทบาทแข่งขันในตลาดนี้มากเท่า 2 รายแรก เป็นสาเหตุที่ทำให้ TRUE เข้าขึ้นมากวาดฐานลูกค้าขึ้นมาเป็นอันดับ 2 แทน DTAC ได้ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา

รวมไปถึงการทำการตลาดในประเทศที่ไม่โดดเด่นของ DTAC ที่รุกแต่ไม่เข้มข้น อยู่ในโหมดระมัดระวังตัวเก็บกระแสเงินสดจนมีเงินในมือแตะ 7,000 ล้านบาท กลายเป็นหุ้นสื่อสารที่จ่ายปันผลดีแทนการเติบโต

ปัจจัยดังกล่าวหนุนทำให้โบรกหลายสำนักเริ่มมองความเป็นไปได้ที่จะเกิดดีลระหว่าง TRUE และ DTAC เกิดขึ้น เนื่องจากจะเกิด Synergy กับ TRUE ได้มากที่สุด นอกเหนือจากฐานลูกค้าที่ได้มาแล้วยังเป็นการรวมคลื่นในมือเพิ่มขึ้นโดยปริยายช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจอีกจำนวนมหาศาล

ทางที่จะเป็นไปตามคาดการณ์หากเกิดขึ้นจริงบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย คาดว่ามีความเป็นไปได้ 25 % เห็นการ      ควบรวมกิจการ คาดว่า DTAC ขายสินทรัพย์ ให้กับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมดิจิทัล (DIF) ของ TRUE

อย่างไรก็ตามดีลดังกล่าวไม่ง่ายยังมีข้อคำนึงถึงอุปสรรคตามกฎเกณฑ์ของกสทช. และกฎหมายการแข่งขันทางการค้าแต่ทำให้ดีลนี้สามารถจุดกระแสได้ไม่จบต่อไป