"อีอีซี" เดินหน้า "ออโตเมชั่น พาร์ค" ดึง 200 โรงนำร่องอุตสาหกรรม 4.0

"อีอีซี" เดินหน้า "ออโตเมชั่น พาร์ค" ดึง 200 โรงนำร่องอุตสาหกรรม 4.0

อีซี จับมือ มิตซูบิชิสานพลังความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่น ในงาน EEC connecting Thailand and Japan Collaboration 2021 เดินหน้าอีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ดึงผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 200 ราย นำร่องสู่อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมสร้างบุคลากรรองรับ 15,000 คนใน 5 ปี

วันนี้ (29 ก.ย.64) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันอออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี ร่วมกับ บริษัท มิตซูบิชิ อิเลคทริก EEC Automation Park และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชนไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน EEC connecting Thailand and Japan Collaboration 2021 "Digital Manufacturing Platform" แสดงความพร้อมของ
EEC Automation Park ที่จะเป็นฐานสำคัญ ขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตอบโจทย์การพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างทักษะแรงงาน อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยมี


ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร
(EEC HDC) นายอัทสึชิ  ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO ร่วมกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านพัฒนาการศึกษา บุคลากรและเทคโนโลยี สกพอ.

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการ EEC Automation Park และผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 200 ราย เข้าร่วมงาน

ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า การจัดงานฯ ครั้งนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์และเข้มแข็งของภาคเอกชนญี่ปุ่นในพื้นที่ อีอีซี ที่มีมายาวนาน และยังคงต่อเนื่องเดินหน้ายกระดับการผลิตภาคอุตสาหกรรมแบบดิจิทัล (Digital Manufacturing Platform) แม้จะเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งนำโดย บ. มิตซูบิชิฯ ที่ริเริ่มแนวคิด e-F@ctory Alliance พร้อมพันธมิตรเครือข่ายร่วมพัฒนา EEC Automation Park ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพา ให้เป็นฐานหลักขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ Robotics & Automation สร้างความเชื่อมโยง Ecosystem เอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะใช้นวัตกรรมนำการผลิต เกิด Industry 4.0 ขึ้นจริงในพื้นที่ อีอีซี ดึงดูดเงินลงทุนนวัตกรรมขั้นสูง
จากนักลงทุนทั่วโลก

          โดยคาดว่า การลงทุนด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) เป็นเครื่องมือสำคัญ
ให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ซึ่งคาดว่าใน 3 ปีข้างหน้า จะเกิดลงทุนสูงถึง 500,000 ล้านบาท
เป็นการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี โดยปี 2565 ตั้งเป้าหมายให้โรงงานในอีอีซี เริ่มประยุกต์ใช้
เตรียมความพร้อมสำรวจการออกแบบระบบและเชื่อมหาแหล่งทุนได้ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง และตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing 4.0 ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ยกระดับรายได้แรงงานไทย ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
อย่างสมดุลและยั่งยืน   

ด้าน นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธาน JETRO กล่าวถึง ความร่วมมือระหว่าง JETRO และอีอีซี ด้านการสนับสนุน Robotic & Automation ว่า ปัจจุบัน JETRO ได้จัดตั้งเว็บไซต์พิเศษ เพื่อแนะนำบริษัทญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

ซึ่งได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ คู่ไปกับการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งได้ร่วมกับ อีอีซี จัดสัมมนา และประชุมออนไลน์ สร้างโอกาสการลงทุนขึ้นจริง เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ของบริษัทญี่ปุ่นและไทยแล้วกว่า 50 บริษัท การจัดประชุมเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ทางธุรกิจร่วมกันกว่า 60 ครั้ง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นพร้อมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของไทยผ่านทางภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรม Robotic & Automationที่ EEC Automation Park แห่งนี้ จะเป็นฐานความร่วมมือสำคัญ พัฒนาอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ Industry 4.0 และการพัฒนาทักษะบุคลากรร่วมกันต่อไปในอนาคต

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการผู้จัดการ มิตซูบิชิฯ กล่าวเสริมถึง การร่วมจัดทำ EEC Automation Park
ว่า บริษัทฯ ได้นำระบบสายการผลิตอัจฉริยะ หรือ e-F@ctory เข้ามาใช้ในการสนับสนุน และผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมใช้นวัตกรรมขั้นสูงในประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาระบบ SMKL (Smart Manufacturing Kaizen Level)
ที่จะเป็นเครืองมือประเมินระดับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในโรงงาน เพื่อช่วยในการตัดสินใจลงทุนของผู้บริหาร โดยจะแสดงวัตถุประสงค์ ทิศทางการพัฒนา และผลที่จะได้รับจากการลงทุนในแต่ละขั้นตอน นำมาใช้ในการประเมินระดับความสามารถ
ในการผลิตแบบดิจิทัล รวมทั้ง ทำให้เกิดมาตรการควบคุมลดการใช้พลังงานในไลน์การผลิต นอกจากนี้ ยังได้ใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยี 5G ทั้งด้าน IT (Information Technology) และด้าน OT (Operation Technology) มาใช้ระบบ Factory Automation เพิ่มความยืดหยุ่นในการนำไปใช้งานได้อย่างเสถียร และ Real Time ได้อย่างแท้จริง รองรับการขยายตัว
ของอุตสาหกรรมไทยในยุคดิจิทัล และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทยตามนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 อย่างยั่งยืน

ดร. อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร (EEC HDC) กล่าวถึงการพัฒนาบุคคลากร ว่า ทาง EEC HDC ได้เชื่อมโยงการพัฒนาบุคลากร ตามแนวทางสร้างคนให้ตรงกับงาน หรือ EEC Model
ซึ่งความร่วมมือฯ ครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรใน อีอีซี (New, Up, Re -Skill) ซึ่งได้ตั้งเป้าหมาย
รวมภายใน 3 ปี ผลิตไม่น้อยกว่า 120,000 คน โดยเป็นบุคลากรรองรับด้านดิจิทัล 5G ให้ได้ 50,000 คน

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาบุคลากรฯ สกพอ. กล่าวเสริมท้ายว่า EEC Automation Park
จะยกระดับไปสู่ ศูนย์เครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร หรือ EEC-NET ด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสู่โรงงานอัจฉริยะ ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี จะได้รับความรู้ และเกิดการใช้ระบบสายการผลิตอัตโนมัติแบบดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี 5G ที่ครอบคลุมในพื้นที่ อีอีซี 100% แล้วเพิ่มขึ้น เกิดบริการข้อมูลฮาร์ดแวร์
และซอฟท์แวร์ในรูปแบบการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากบริษัทในกลุ่มพันธมิตรเพื่อให้เกิด
การนำไปใช้ได้จริง พร้อมกันนี้ EEC Automation Park จะสามารถฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญให้แก่บุคลากรที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะทักษะด้าน Robotics & Automation ได้มากกว่า 25 หลักสูตร โดยตั้งเป้าหมายจะพัฒนาให้ได้ประมาณ 2,000 คน/ปี และภายใน 5 ปี ได้สูงถึง 15,000 คน ยกระดับให้ไทยก้าวสู่ยุคใช้นวัตกรรมขั้นสูงต่อไป