อ่อนตัว อย่าอ่อนใจ (วันที่ 21 กันยายน 2564)

อ่อนตัว อย่าอ่อนใจ (วันที่ 21 กันยายน 2564)

ตลาดหุ้นวานนี้ - SET ร่วง -22.59 จุด (-1.39%) ปิดที่ 1,603.06 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.5 หมื่นลบ. ปรับลงในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ

กังวลวิกฤติหนี้บริษัท China Evergrande ในประเทศจีน และกังวล Fed เร่งลดวงเงิน QE ส่งผลให้สภาพคล่องส่วนเกินในตลาดลดลงเป็นลบกับตลาดสินทรัพย์เสี่ยง

 

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

คาด SET อ่อนตัวแนวรรับ 1,590 - 1,600 จุด ตามความกังวลการผิดนัดชำระหนี้ของไชน่า เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก นอกจากนี้คาดว่านักลงทุนจะชะลอการซื้อขายเพื่อรอผลการประชุม FOMC วันที่ 21 – 22 ก.ย.ว่าจะลดการใช้ QE หรือไม่ ซึ่งจะกดดันต่อภาวะตลาด ดังนั้นยังคงแนะนำเลือกซื้อหุ้นกลุ่มที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่มส่งออก กลุ่มกำไร 3Q21 โตต่อไป

 

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มได้อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า HANA KCE  TU CPF GFPT ASIAN EPG NER SUN APURE
  • กลุ่มกำไร 3Q21 เติบโต BANPU LANNA CKP GULF CHG BCH BDMS 

หุ้นแนะนำวันนี้

  • CKP (ปิด 5.35 ซื้อ/เป้า 6.5) คาดกำไรสุทธิ 3Q21 พุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนโดยเฉพาะเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวเพิ่มขึ้นจากผลของฤดูกาลและผลบวกจากจีนเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนหลังเผชิญพายุฝนตกหนักผิดปกติในปีนี้ (ฝนพันปี)
  • EPG (ปิด 11.8 ซื้อ/เป้า 16 บาท) แนวโน้ม 2Q22 (ก.ค.- ก.ย.) ยังแกร่งต่อจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของทั้ง ธุรกิจ คือ ฉนวนกันความร้อนชิ้นส่วนรถยนต์ และ Packaging ขณะที่วันนี้ได้ Sentiment บวกจากเงินบาท

 

บทวิเคราะห์วันนี้

BDMS (ปิด 22.6 ซื้อ/เป้า 26), TU (ปิด 21.8 ถือ/เป้า 22.6), Property sector

 

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ตลาดหุ้นร่วงแรงทั่วโลกกังวลวิกฤตหนี้เอเวอร์แกรนด์ และ Fed อาจลด QE: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 614 จุด (-1.78%) ปิดที่ระดับ 33,970 จุด ขณะที่ตลาดหุ้นในยุโรปปรับตัวลงเฉลี่ย 1.5-2% เนื่องจากนักลงทุนกังวลวิกฤติหนี้ของบริษัทเอเวอร์แกรนด์ของจีนจะลุกลามจนทำให้ ศก.จีนและ ศก. โลกชะลอตัว นักลงทุนจึงเลือกเทขายหุ้นและสินทรัยพ์เสี่ยงเพื่อไปถือครองสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยอาทิ ทองคำและพันธบัตร
  • (-) น้ำมันดิบร่วง 1.68 ดอลลาร์ กังวลหนี้เอเวอร์แกรนด์และดอลลาร์แข็งค่า: เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์เสี่ยงที่ถูกเทขายโดยราคาน้ำมันดิบWTI ลดลง 1.68 ดอลลาร์ หรือ 2.3% ปิดที่ 70.29 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยมีปัจจัยลบเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลกคือกังวลปัญหาหนี้ในจีนจะทำให้ ศก.ชะลอตัวกดดันดีมานด์พลังงานลดลงนอกจากนี้การเข้าถือเงินดอลลาร์ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยยิ่งหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าและเป็นลบกับราคาน้ำมันดิบมากขึ้น
  • (+/-) รัฐปรับเพิ่มเพดานหนี้ฯ เป็น 70% จากเดิม 60% ต่อ GDP กดดันเงินบาทอ่อนค่า: การปรับเพิ่มเพดานหนี้ดังกล่าวอาจจะกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงสั้นรวมถึงผลักดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทยเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มเพดานดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและศักยภาพในการบริหารประเทศของภาครัฐสามารถผลักดันให้ ศก.กลับมาฟื้นตัวได้ผลบวกหรือลบจากการเพิ่มเพดานหนี้จึงขึ้นอยู่กับภาครัฐว่าจะใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่