หุ้นรพ. นับถอยหลังเปิดเมือง โฟกัสรายได้ฟื้น-ลูกค้าต่างชาติ

หุ้นรพ. นับถอยหลังเปิดเมือง  โฟกัสรายได้ฟื้น-ลูกค้าต่างชาติ

นับถอยหลังการเปิดประเทศในเดือน ต.ค. พร้อมการปรับตัวขึ้นมาของธีมหุ้นเปิดเมือง (อีกครั้ง) จนส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนกลุ่มที่ลงทุนหันมาเน้นการบริโภคในประเทศ ส่วนหุ้นที่เป็นดาวเด่นในช่วงโควิดระบาด “หุ้นรพ.” หมดเสน่ห์ลงทุนแล้วหรือยัง

ตลอดครึ่งปี 2564  การระบาดโควิดรอบที่ 3 และรอบ 4  ที่มีความรุนแรงจากจำนวนผู้ติดเชื้อแตะ 2 หมื่นรายต่อวัน ผู้เสียชีวิตหลักร้อยราย  และในไทยยังขาดแคลนวัคซีนสะท้อนจากจำนวนการฉีดวัคซีนในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.  ระดับ 1-2 แสนรายต่อวัน  ต่ำกว่าเป้าหมายในฉีดวัคซีนให้ครบ 50 ล้านคนปี 2564  และการเปิดประเทศ 120 วัน

จนเริ่มเห็นมาตรการเพิ่มเติมรมว.ท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มเติม 1 ต.ค. ใน 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี ,เพชรบุรี ,ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดที่เหลือจะเดินตามแผนให้เปิดให้ท่องเที่ยวได้ใน 21 จังหวัด ในวันที่ 15 ต.ค.นี้  พร้อมทั้งขนโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" และ "ทัวร์เที่ยวไทย" จะประกาศให้มีการดาวน์โหลดได้ในวันที่ 24 ก.ย.นี้  ซึ่งคาดว่าจะสามารถใช้เดินทางได้ในวันที่ 15 ต.ค.  

ปัจจัยหนุนสำคัญทำให้หุ้นโรงพยาบาลทุกตัวที่มีการซื้อขายราคาหุ้นบวกโดดเด่นในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา   แม้ว่าบางบริษัทจะมีสภาพคล่องน้อย ฟรีโฟลตต่ำ แต่ด้วยภาวะดังกล่าวทำให้กลายเป็นหุ้นที่ลงทุนแล้วปลอดภัยที่สุด

ราคาหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลในช่วง 8 เดือนแรก ปี 2564  ให้ผลตอบแทบจากการลงทุนมากกว่าดัชนี และยังเป็นกลุ่มที่ปรับตัวสูงอันดับต้นๆของตลาดหุ้นไทย  โดยมีอัตราเฉลี่ยรวมแล้วราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับตัวขึ้นมาก กว่า 40 %

ปัจจุบันราคาเริ่มปรับตัวลดลงและไม่ได้ร้อนแรงเปรียบเทียบ 2 เดือนที่ผ่านมาด้วยสถานการณ์โควิดในไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้น  และมีเงื่อนตายสำคัญอยู่ที่จำนวนวัคซีนที่นำเข้ามาฉีดให้กับคนไทย ตามเป้าหมายทำให้การเดินหน้าเปิดประเทศในครั้งนี้อยู่บนฐานที่มีความเป็นไปได้และคุ้มค่ากับความเสี่ยงหากต้องมีผู้ติดเชื้อแต่อัตราเสียชีวิตลดลง และเศรษฐกิจสามารถกลับมาฟื้นตัวได้

หุ้นโรงพยาบาลยังลงทุนรับธีมเปิดเมืองไปด้วยเพื่อคาดหวังจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นต้องหันไปอิงกับตลาดต่างประเทศ ซึ่งถือว่าไทยมีความแข็งแกร่งในตลาดนี้อยู่หลายบริษัท

โดยโรงพยาบาลกลุ่มที่มีลูกค้าต่างชาติมากที่สุดหนีไม่พ้น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  จำกัด (มหาชน) หรือ BH  มีสัดส่วนรายได้ลูกค้าต่างชาติ 60% รองมาคือ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)หรือ BDMS มีสัดส่วนรายได้ลูกค้าต่างชาติ 30% มีกำไรปี 2563 อยู่ที่ 1,204 ล้านบาทลดลง 67% จากปีก่อน และ  7,214  ล้านบาท ลดลง 53.50% จากปีก่อน ตามลำดับ          

ส่วนบริษัท ธนบุรี แฮลท์แคร์  กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ  THG มีสัดส่วนรายได้ลูกค้าต่างชาติ 10% มีกำไรอยู่ที่  62.42 ล้านบาท ลดลงมากสุดถึง 86 %  จากปีก่อน  ซึ่งนอกจากรายได้บริการทางการแพทย์แล้วยังมีรายได้จากการขายโครงการที่พักสุขภาพJin Welbeing ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ส่วน บริษัท บางกอก เชน ฮอลสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH สัดส่วนรายได้ต่างชาติ 12% พบว่าเป็นโรงพยาบาลที่ทำกำไรเติบโตในช่วงโควิด-19 เนื่องมาจากการรับตรวจหาเชื้อ โควิดและฐานลูกค้าเป็นกลุ่มประกันสังคมเป็นโรงพยาบาลเข้าร่วมให้บริการพักรักษากักตัวมากที่สุดในกลุ่มด้วยกัน

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย)  ประเมินแนวโน้มช่วยปลดล็อกกลุ่ม  Medical Tourism และต่างชาติ กลับเข้าใช้บริการโรงพยาบาลมากขึ้น   ซึ่งตามแผนการเปิดประเทศกำลังพิจารณาพิจารณาลดวันกักตัวเหลือ 7-10 วัน เป็นผลบวกต่อกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและโรงพยาบาลที่รับคนไข้ต่างชาติน่าจะทำให้ต่างชาติสามารถกลับเข้ามาใช้บริการ ในไทยได้มากขึ้น

จากก่อนหน้าตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 เป็นต้นมาชะลอรับคนไข้ต่างชาติ  เนื่องจากมีการระบาดมากในประเทศ  ซึ่งทั้งนี้คาดจะเห็นคนไข้ต่างชาติกลับเข้าใช้โรงพยาบาลมากขึ้นกว่าเดิมจาก ค่าใช้จ่ายภายในการกักตัวลดลง (จากเดิม 14 วัน) บวก กับหลายๆประเทศได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจำนวนมาก  

สำหรับหุ้น BH และ BDMS  ได้เปรียบเนื่องจากมีรายได้ต่างชาติมากที่สุดในกลุ่ม ก่อน COVID-19 ที่ราว 65% และ 30% รองลงมา ได้แก่ EKH (ลูกค้าจีน 15%) และ BCH 10%  “ลงทุนมากกว่าปกติ”’ BDMS เป็น Top pick  ทางฝ่ายแนะนำ “ลงทุนมากกว่าปกติ” ยังคงเลือก BDMS เป็น Top pick ของกลุ่ม