Quantamental (3 ส.ค.64)

Quantamental (3 ส.ค.64)

เริ่มต้นทยอยสะสมหุ้น (อีกครั้ง) แม้จะสวนทางกับความรู้สึกของตลาดฯ

เดือน ก.ค. ตลาดหุ้นไทยแย่กว่าคาด

ดัชนี SET index ปรับลดลง -4.1% MoM ในเดือน ก.ค. เป็นผลจากความกังวลต่อความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นไทยจะถูกปรับลดประมาณการฯ (ผลจากวิกฤตโควิด-19 ระลอกล่าสุด) อย่างไรก็ดีจากข้อมูลใน Bloomberg consensus นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่กลับปรับประมาณการกำไรปี 2564 ขึ้น โดย EPS ปรับขึ้นเป็น 84.8 บาท (สวนทางกับที่นักลงทุนในตลาดกังวล)

Value factor: Valuation เริ่มน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยขณะนี้

จากบทวิเคราะห์ประจำเดือน ก.ค. เราได้เน้นย้ำในเรื่องของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนให้ Valuation ของตลาดหุ้นไทยยังยืนสูงได้ โดยล่าสุด Bond yield อายุ 5 ปี และ 10 ปี ของไทยปรับลดลงเป็น 0.80% และ 1.57% ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2564 เป็นต้นมา

i) Implied equity risk premium (iERP): iERP หรือส่วนชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ณ สิ้นเดือน ก.ค. = 3.5% เป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.2563 แม้ว่า Consensus จะมีการปรับลดประมาณการเงินปันผลปี 2564 – 66 ลงเล็กน้อย -0.4% MoM -0.6% MoM และ -0.6% MoM ตามลำดับ ก็ตาม แต่เนื่องจากดัชนี SET index ที่ปรับลงมากในเดือนที่ผ่านมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยดึง iERP ขึ้น ทั้งนี้หากพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยเข้ามาประกอบด้วยจะยิ่งพบว่าส่วนชดเชยความเสี่ยงในปัจจุบันมีความน่าสนใจลงทุนมากยิ่งขึ้นไปอีก โดย iERP/risk free ล่าสุดเท่ากับ 2.24 เท่า สูงสุดตั้งแต่ ม.ค.2564 … Note: เราใช้วิธี Reverse engineering DDM ในการคำนวณกลับเพื่อหา Discount rate หรือ iERP

ii) Modified yield gap (M-yield gap): M-yield gap ณ สิ้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมายิ่งมีความน่าสนใจ โดย M-yield gap พุ่งขึ้นทะลุกรอบ +2.0 จุด สะท้อนว่า Valuation ปัจจุบันของตลาดหุ้นไทย มีความน่าสนใจเชิงเปรียบเทียบกับตลาดพันธบัตรมากขึ้น โดยในบทวิเคราะห์ฉบับก่อน เราประเมินว่ามีความเสี่ยงที่ Consensus จะปรับลดประมาณการ EPS ลงในเดือน ก.ค.- ส.ค. สะท้อนสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในประเทศ อย่างไรก็ดี ผลในเดือน ก.ค.กลับออกมาตรงกันข้าม (นักวิเคราะห์กลับปรับประมาณการ EPS ขึ้นเล็กน้อย) แต่เรายังแนะให้จับตาเดือน ส.ค. ที่เป็นช่วงการรายงานผลประกอบการ 2Q64 ว่ายังมีความเสี่ยงเรื่องของการปรับลดประมาณการ EPS อยู่ ซึ่งอาจทำให้ M-yield gap ในปัจจุบันมีความเสี่ยงที่จะลดลงเล็กน้อย ซึ่งเราประเมินว่าผลของการปรับลดประมาณการ EPS ในภาพรวมจะไม่กระทบมากนักเนื่องจากยังถูกถ่วงดุลด้วยหุ้นที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกที่ยังโดดเด่นอยู่ ดังนั้นโดยสรุปเราประเมินว่า ณ ระดับดัชนีในปัจจุบันยังมีความน่าสนใจลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ … Note: จากสถิติในอดีต M-yield gap ที่ทะลุกรอบ +2.0 จุด ดัชนี SET index จะเริ่มปรับขึ้นหลังจากนั้น

iii) Cyclical adjusted PE (CAPE): CAPE ล่าสุด = 19.1 เท่า ต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค.2564 และที่น่าสนใจคือ Excess CAPE yield (ECY) ที่เป็นส่วนต่างระหว่าง Invert CAPE (1/CAPE) กับ Bond yield อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นเป็น 3.6% โดย ECY ของตลาดหุ้นไทยที่เราคำนวณได้สูงกว่า ECY ของตลาดหุ้นสหรัฐฯปัจจุบันที่ 3.08%

Momentum factor: เริ่มสูญเสีย Momentum จากทั้ง 2 ตลาด

Momentum ของตลาดหุ้นไทยพลิกกลับมาเป็นลบครั้งแรกตั้งแต่เดือน ต.ค.2563 เป็นต้นมา โดยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน พลิกเป็นลบ -1.3% ต่อเดือน นอกจากนี้ อัตราผลอตแบทนจากการลงทุนในตลาดพันธบัตรไทยเป็นลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน

เริ่มทยอยสะสมหุ้น แม้จะสวนทางกับความรู้สึก

เราเริ่มต้นแนะนำให้นักลงทุนลดพอร์ตหุ้นลงไปตั้งแต่เดือน มี.ค.2564 และคงน้ำหนักไว้จนถึงปัจจุบัน ล่าสุดจากที่เราวิเคราะห์ในมุมของ Valuation model ต่างๆ ตั้งแต่เดือน ส.ค. 2564 เราแนะนำให้ “ทยอยเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง” สำหรับนักลงทุนระยะกลาง – ยาว อย่างไรก็ดีเรายังไม่คาดหวังถึงการรีบาวด์ของตลาดหุ้นไทยมากนัก เนื่องจาก Momentum ที่ยังอ่อนแอ ดังนั้นสำหรับนักลงทุนระยะสั้น เราแนะนำให้เลือก Selective buy เก็งกำไรหุ้นรายตัวในลิสต์ที่เราคัดกรองมาแล้วในรูปที่ 1

ในเชิง Technical analysis เราประเมินแนวรับดัชนี SET index ที่ 1,500 จุด และ 1,480 จุด ตามลำดับ ขณะที่ประเมินแนวต้านไว้ที่ 1,540 จุด และ 1,560 จุด ตามลำดับ

ทั้งนี้ สำหรับผลตอบแทนรวมจากพอร์ตที่เราคัดกรองหุ้นจาก Quantitative model ของเราในเดือน ส.ค. ให้ผลตอบแทนที่ติดลบ -8.4% และ -7.2% อิงการคำนวณ Equal weight และ Market cap weight ตามลำดับ โดยผลตอบแทนที่ Underperform ตลาดฯ เป็นผลจาก “Momentum crash” เนื่องจากหุ้นที่เราคัดกรองมาใช้ Momentum เป็น 1 ในปัจจัยการคำนวณ