บทเรียนตู้คอนเทนเนอร์  กับการฟื้นตัวแบบไม่สมดุล

หนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 และมีผลกระทบต่อภาคภาคเศรษฐกิจทั่วโลกคือ ภาวะที่ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์กะทันหัน ตามที่หลายท่านคงได้ติดตามข่าว (ไม่ใช่ข่าวเรื่องเรือยักษ์ติดขวางคลองซุเอซนะครับ)

หนึ่งในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจาก COVID-19 และมีผลกระทบต่อภาคภาคเศรษฐกิจทั่วโลกคือ ภาวะที่ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์กะทันหัน ตามที่หลายท่านคงได้ติดตามข่าว (ไม่ใช่ข่าวเรื่องเรือยักษ์ติดขวางคลองซุเอซนะครับ)

เหตุการณ์นี้เริ่มต้นจากความไม่แน่นอนทางการค้าตั้งแต่ต้นปี 2563 จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ผู้ประกอบการส่งออกนำเข้า เริ่มเห็นความต้องการสินค้าลดลงจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หายไป ทำให้สายเรือขนส่งระหว่างประเทศเริ่มชะลอและหยุดการเดินเรือ โดยเฉพาะสายเรือขนาดใหญ่ที่ช่วงหลังเริ่มต่อเรือขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น หวังจะลดต้นทุนการขนส่ง แต่ต้องมาเสี่ยงกับการหาตู้มาใส่ในแต่ละเที่ยวให้เต็ม เมื่อเกิดความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจ หลายสายเรือเลยหยุดและจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางใหม่ ประกอบกับปัญหาเรื่องแรงงานที่ใช้ในการจัดการหน้าท่าและขนส่งตู้ ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ตามปกติ ส่งผลให้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ภาวะขาดแคลนตู้และการลดลงของเรือเดินสมุทรเริ่มเห็นชัดขึ้น ราคาค่าขนส่งปรับตัวสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน สินค้าหลายประเภทแทบไม่คุ้มที่จะขนส่งทางเรืออีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ปลายปีที่แล้วมีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์นี้น่าจะจบได้ในกลางปีนี้ เพราะเชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้นจากการฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศ

ทว่าข้อเท็จจริงวันนี้ ประเด็นตู้คอนเทนเนอร์ยังเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงและยังต้องติดตามอยู่อย่างมาก เพราะมีปัญหาเพิ่มเติมอีกข้อหนึ่ง การที่หลายประเทศเริ่มฉีดวัคซีน โดยเฉพาะประเทศใหญ่ที่มีปริมาณการค้านำเข้าส่งออกมาก อาทิ สหรัฐ ยุโรป และเมืองจีน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคเริ่มกลับมา เศรษฐกิจฟื้นตัวรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ คนเริ่มอยากจับจ่ายใช้สอย และ eCommerce เป็นส่วนที่สนับสนุนให้จับจ่ายโดยง่ายยิ่งขึ้น

การที่วันนี้แต่ละประเทศกลับมาเติบโต (Recovery) อย่างไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดปรากฏการขาดแคลนคอนเทนเนอร์รอบใหม่อีกครั้ง ด้วยความแตกต่างด้านอัตราและลักษณะของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่างกันทั้งระหว่างประเทศ และทวีป ทำให้ความต้องการส่งออกและนำเข้ามีความไม่สมดุล เช่น ในสหรัฐถึงแม้ผู้บริโภคจะเริ่มกลับมาใช้จ่าย แต่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าโดยเฉพาะจากประเทศจีน ดังนั้นตู้คอนเทนเนอร์จึงถูกนำเข้ามาที่สหรัฐมากขึ้นกว่าเดิมมาก ทั้งยังมากกว่าตู้ที่ถูกส่งออกคืนไปจากสหรัฐ ู้คอนเทนเนอร์จึงตกค้างอยู่ในสหรัฐ ไม่สามารถถูกหมุนกลับมาใช้ในเอเซียได้อย่างที่ควรเป็น และคาดว่าสถานการณ์เช่นนี้จะยังคงต่อเนื่องต่อไปในปี 2565 อีกด้วย

การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์รอบนี้ต่างจากรอบที่แล้ว เพราะไม่ใช่ปัญหาสายเรือทั้งหมด แต่เกิดจาก Recovery ที่ไม่สมดุลระหว่างการส่งออกและนำเข้า ทำให้การหมุนเวียนของตู้เกิดอาการสะดุดอีกครั้ง

การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบ Dual Recovery เช่นนี้ มิได้เกิดขึ้นแต่ในระดับมหภาคของโลก หากกลับมาพิจารณาในประเทศไทย เรากำลังจะเห็นการฟื้นตัวในอัตราที่ต่างกันเช่นนี้ในอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการส่งออกและอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงตลาดในประเทศ วันนี้การฟื้นตัวจากต่างประเทศกำลังเริ่มเดินเครื่อง แต่การบริโภคในประเทศยังจำเป็นต้องใช้เวลา การฟื้นตัวไม่เท่ากันของสองกลุ่มธุรกิจย่อมทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจในระยะสั้น

น่าเสียดายที่ภาคธุรกิจบริการทั้งส่วนที่พึ่งในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ยังไม่สามารถรีสตาร์ทฟื้นกลับมาได้ และคงใช้เวลาอีกพอสมควร ดังนั้นในระยะสั้นนี้ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับภาคการผลิตโดยเฉพาะภาคการส่งออก เพื่อกระตุ้นให้สามารถฟื้นตัว เป็นกำลังช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ยังคงต้องรอเวลาฟื้นอีกระยะ