ย่อตามเพื่อนบ้าน

ย่อตามเพื่อนบ้าน

US bond yield ที่ทรงตัวระดับสูงและ Fund Flow ที่ผันผวนซึ่งกดดันต่อทิศทางดัชนี

ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์

SET ปิด -4.86 จุด (-0.31%) ที่ระดับ 1,563.96 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.8 หมื่นล้านบาท จากแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันดิบร่วงแรงกังวลยุโรปกลับมา lockdown รอบ 3 นอกจากนี้ตลาดยังมีแรงกดดันจาก FTSE Rebalance มีผลบังคับโดยใช้ราคาปิดวันนี้

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

คาด SET ปรับตัวลงแนวรับ 1,560 / 1,555 จุด ตามทิศทางตลาดหุ้นรอบบ้านที่อ่อนตัวลงจากข่าว FED จะไม่ต่ออายุโครงการผ่อนคลายด้านเงินทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์ รวมถึง US bond yield ที่ทรงตัวระดับสูงและ Fund Flow ที่ผันผวนซึ่งกดดันต่อทิศทางดัชนี

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • AOT MINT CENTEL AAV BA CPN CRC MAJOR ได้อานิสงส์วัคซีน Covid-19 
  • HANA KCE TU CPF อานิสงส์เงินบาทที่อ่อนค่าลง
  • หุ้นกระแสกัญชง ICHI SAPPE RBF DOD IP TACC GUNKUL KISS ZIGA

หุ้นแนะนำวันนี้

  • BANPU (ปิด 11.20 ซื้อ/เป้า 13) ได้ Sentiment บวกราคาถ่านหิน (Newcastle) พุ่งแตะระดับ 93.8$/ton ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี คาดหนุนผลประกอบการของ BANPU พลิกมีกำไรหลังจากที่ขาดทุนในปีที่ผ่านมา
  • JMT (ปิด 46.75 ซื้อ/เป้าสูงสุด IAA Consensus 53) คาดกำไรสุทธิ 1Q21เดินหน้าทำ All time high จากยอดเรียกเก็บเงินเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของ ศก. กองหนี้เดิมหลายกองตัดต้นทุนหมดแล้วจึงเพิ่ม GPM และ กำไรสุทธิโดยตรง

บทวิเคราะห์วันนี้

PTTGC (ปิด 65 ซื้อ/เป้า 80), PYLON (ปิด 4.12 ถือ/เป้า 4.3)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) จับตา US Bond yield หลัง Fed ไม่ต่ออายุมาตรการ SLR: SLR คือมาตรการผ่อนคลายด้านเงินทุนของ ธ. พาณิชย์ เริ่มประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2020 ถึง 31 มี.ค. 2021 การไม่ต่ออายุมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะกดดันให้ ธ.พาณิชย์ เทขายพันธบัตรรัฐบาลเพื่อคงอัตราส่วน SLR ตามที่เฟดกำหนดซึ่งจะผลักดันให้ Bond yield เร่งตัวกดดัน Sentiment การลงทุนโดยเฉพาะหุ้น High P/E อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
  • (+/-) แบงก์ชาติประชุมคาดคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ตามเดิม: 24 มี.ค. ประชุม กนง. คาดคงดอกเบี้ยตามเดิม จาก 1) คง Policy space ไว้ใช้ในยามจำเป็น, 2) ลดการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง (Search for yield) และ 3) รอดูผลจากภาครัฐออกซึ่งออกมาตรการเยียวยาโควิด -19 รอบใหม่
  • (+/-) ติดตามตัวเลข ส่งออก เดือน ก.พ. จับสัญญาณการฟื้นตัวของ ศก.: เบื้องต้น Consensus คาดยอดส่งออกของไทยเดือน ก.พ. จะพลิกเป็นหดตัว 2.05% ติดลบครั้งแรกในรอบ 3 เดือน อย่างไรก็ตามหากตัวเลขออกมาเป็นบวกจะส่งผลดีต่อภาพรวม ศก. และเป็นบวกต่อ Sentiment การลงทุน (ส่งออกมีมูลค่าคิดเป็น 50-60% ของ GDP)