วิบากกรรมข้าวไทยปี 64 ยังไม่ฟื้น

วิบากกรรมข้าวไทยปี 64 ยังไม่ฟื้น

ฝันร้ายส่งออกข้าวไทยยังต่อเนื่อง ล่าสุุด ปี 63 ส่งออกต่ำสุดในรอบ 20ปี  ลุ้นปี 64 เข็ญส่งออกให้ได้ตามาเป้า 6 ล้านตัน ท่ามกลางปัญหารุ่มเร้าเพียบ

การส่งออกข้าวไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่า  สำบากยากเข็ญมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 2563 การส่งออกข้าวไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ไทยจดสถิติการส่งออกข้าวไทย โดยส่งออกได้   5.72 ล้านตัน ลดลง 24.54%  มูลค่า 3,727   ล้านดอลลาร์  ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้   7.5 ล้านตัน เมื่อดูอันดับการส่งออกข้าวของโลกในปี 2563 อันดับ 1  คือ อินเดีย ส่งออกปริมาณ 14 ล้านตัน  อันดับ 2  ปริมาณ 6.3 ล้านตัน ไทย อันดับ 3 ปริมาณ 5.72 ล้านตัน ปากีสถาน อันดับ 4 ปริมาณ 4 ล้านตัน และสหรัฐฯ อันดับ 5 ปริมาณ 3.05 ล้านตัน  
           
ปัญหาหลักของการส่งออกไทยที่สั่งสมมานานคือ พันธุ์ข้าวไทยไม่มีความหลากหลายไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะที่คู่แข่งอย่างอินเดีย เวียดนาม ปากีสถาน มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวหลากหลายสานพันธุ์ โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวนุ่ม จนกลายเป็นที่ต้องการของผู้นำเข้าในตลาดสำคัญของไทย ที่สำคัญปัญหาค่าเงินบาทของไทยยังเป็นปัญหาที่ซ้ำเติมการส่งออกไทยไทยไปอีก เพราะเมื่อค่าเงินบาทไทยแข็งส่งผลให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้ประเทศผู้นำเข้าย่อมเลือกข้าวที่มีราคาถูกว่าเป็นเรื่องปกติเพื่อลดตุนทุนการซื้อให้ลดลง
       
 
ปี 2564 กรมการค้าต่างประเทศและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย วางเป้าหมายการส่งออกไว้ที่ 6 ล้านตัน ซึ่งเป็นการวางเป้าที่ทั้ง 2หน่วยงานเห็นว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ตลาดข้าวทั้งในและต่างประเทศ  โดยนายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยอมรับว่า  ปัญหาหลักมาจากค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง  ข้าวไทยไม่มีพันธุ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดเท่าที่ควร โดยเฉพาะข้าวพันธุ์พื้นนุ่ม ขณะที่จีนที่เดิมเป็นประเทศผู้นำเข้า ได้กลายมาเป็นผู้ส่งออก และส่งออกไปแย่งตลาดไทยในแอฟริกาที่เป็นตลาดหลักของไทย อีกทั้งในช่วงปลายปีก็มีปัญหาขนส่ง โดยเฉพาะการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์
 
ด้านร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า เป้าหมายส่งออกข้าว 6 ล้านตันถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะปีนี้มีปัญหารุมเร้ามาก โดยเฉพาะบาทแข็ง และปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวในปีนี้ ซึ่งขณะนี้ราคาข้าวส่งออกสูงขึ้น และราคาข้าวในประเทศก็ปรับสูงขึ้นเช่นกัน สะท้อนให้เห็นว่าปริมาณข้าวในประเทศน่าจะน้อย นอกจากนี้ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ก็ยังมีอย่างต่อเนื่องกระทบต่อการส่งออกข้าวทั้งนี้ไทยควรใช้โอกาสนี้พัฒนาพันธุ์ข้าวให้ตอบสนองความต้องการของตลาด แก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาข้าวไทย
         
การที่ส่งออกข้าวไทยเริ่มมีปริมาณลดลงทุกปี ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ผู้เกี่ยวข้องต้องมาทบทวนและแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดโดยล่าสุดคณะนโยบายกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ภายใต้ “ตลาดนำการผลิต”ที่เน้นการผลิตข้าวเพื่อสนองความต้องการของตลาด 7 ชนิด คือ ข้าวหอมมะลิ, ข้าวหอมไทย, ข้าวพื้นนุ่ม, ข้าวพื้นแข็ง, ข้าวนึ่ง, ข้าวเหนียว และข้าวคุณภาพพิเศษที่มีตลาดเฉพาะ โดยจะแบ่งตลาดข้าวทั้ง 7 ชนิดออกเป็น 3 ตลาด คือ ตลาดพรีเมียม สำหรับส่งออกข้าวหอมมะลิ และข้าวหอมไทย, ตลาดทั่วไป สำหรับข้าวพื้นนุ่ม ข้าวพื้นแข็ง และตลาดเฉพาะ สำหรับข้าวเหนียว และข้าวคุณภาพพิเศษ รวมถึงจะมุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้มากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาด
           
อย่างไรก็ตามแม้จะวางยุทธศาสตร์ข้าวไทย แต่ผลที่ได้รับคงไม่เกิดขึ้นภายในเร็ววัน  ข้าวไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายและอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครคาดเดา เช่น  การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้า ทั้งที่ๆมีคำสั่งซื้อแต่ไม่สามารถส่งออกข้าวได้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องก็ยังเป็นปัญหาสำคัญของการส่งออกข้าว แม้จะมีแนวคิดที่จะบุกตลาดพรีเมียมที่เน้นคุณภาพข้าวมากกว่าราคา แต่ก็ยังเป็นตลาดที่ไม่กว้างมากนัก  ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบแก้ไขและประคองการส่งออกข้าวไทยเพื่อรักษาระดับไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่านี้