KTC - ถือ

KTC - ถือ

ผลประกอบการ 4Q63: ผลการดำเนินงานฟื้นตัวเกือบเท่าก่อนโควิด

Event

กำไรสุทธิของ KTC ใน 4Q63 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (+8% QoQ แต่ทรงตัว YoY) ซึ่งเป็นไปตาม consensus แต่ต่ำกว่าประมาณการของเรา 15% เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในขณะที่กำไรสุทธิปี 2563 อยู่ที่ 5.3 พันล้านบาท ลดลง 4% และต่ำกว่าประมาณการของเรา 4%

lmpact

การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตชะลอตัวลงอย่างมาก

ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังคงติดลบหนักขึ้นที่ -6.4% ใน 4Q63 จาก -5.8% ใน 3Q63 โดยในเดือนตุลาคมติดลบถึงสองหลักที่ -12% และติดลบที่ -4% ในเดือนพฤศจิกายน และ -3% ในเดือนธันวาคมและรวมทั้งปียอดการใช้จ่าย -8%

สินเชื่อเร่งตัวขึ้น +8% QoQ และ +6% YoY แต่ yield ลดลง

ในขณะที่สินเชื่อเร่งตัวขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ที่ +3% QoQ ซึ่งแสดงว่าสินเชื่อใหม่เพิ่งมาในเดือนสุดท้าย และฉุดให้ yield ของสินเชื่อลดลง 1% QoQ

Opex เพิ่มขึ้นอย่างมากที่ +14% QoQ แต่ทรงตัว YoY

หลังจากที่บริษัทคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ โดยบีบค่าใช้จ่ายการตลาดลงในงวด 9M63 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็กลับมาเพิ่มขึ้นอีกอย่างมากถึง +14% QoQ ใน 4Q63 แต่ทรงตัว YoY ส่งผลให้สัดส่วนค่าใช้จ่าย/รายได้ พุ่งขึ้นไปอยู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีที่เกือบ 36%

คุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้น

มีดัชนีหลายตัวที่ชี้ว่าคุณภาพสินทรัพย์ของ KTC ดีขึ้น โดย NPL รวมค่อนข้างทรงตัว QoQ ในขณะที่บริษัท write-off หนี้เสียลดลงเหลือแค่ 1.1 พันล้านบาท (จาก 3 พันล้านบาทใน 3Q63) ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการกันสำรองลดลงทั้ง QoQ และ YoY นอกจากนี้ รายได้จากการติดตามหนี้เสียก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก
QoQ มาอยู่ระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่ COVID-19 จะระบาดใน 4Q62 แล้ว

Valuation and action

เรามองว่าราคาหุ้น KTC ปรับตัวเพิ่มมากกว่าผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นไปไกลมากแล้ว ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าจะขยายธุรกิจใหม่โดยการปล่อยสินเชื่อจำนำทะเบียนวงเงิน 1 พันล้านบาทในปี 2564 และผนึกพันธมิตรกับธนาคารแม่ (KTB) เพื่อให้บริการ e-payment provider ซึ่งเรายังไม่ค่อยเห็น synergy ที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนนัก เรายังคงคำแนะนำ ถือ KTC

Risks

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากแผนธุรกิจใหม่, NPL และค่าใช้จ่ายในการกันสำรองเพิ่มขึ้น