"บอร์ดอีอีซี" ปรับแผนบริหาร "EECd" ยกเลิกร่วมทุนเอกชน รัฐหันลงทุนเอง

"บอร์ดอีอีซี" ปรับแผนบริหาร "EECd" ยกเลิกร่วมทุนเอกชน รัฐหันลงทุนเอง

"บอร์ดอีอีซี" รุกเพิ่มประสิทธิภาพ 5G ในอีอีซี ปรับเกณฑ์ลงทุนใน "อีอีซีดี" จากเดิมให้เอกชนบริหารและลงทุนในรูปแบบPPP ให้เป็นโครงการที่รัฐลงทุนเอง เตรียมจับคู่ลงทุนเทคโนโลยีร่วมกับ ตปท.ที่มีเทคโนโลยี 5G พร้อมขยายความรู้ให้ผู้ประกอบการโรงงานหมื่นแห่ง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม  เป็นประธานวันนี้ (18 ธ.ค.) ว่าที่ประชุมฯมีมติเห็นชอบให้ปรับรูปแบบการลงทุนในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล(อีอีซีดี) จากเดิมใช้รูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยจะจัดหาภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องการวางพื้นฐาน และการบริหารโครงการข่ายดิจิทัลมาเป็นการลงทุนเองโดยภาครัฐ ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 3 หน่วยงานคือสำนักงานอีอีซี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกันพัฒนา 

โดยรูปแบบนี้มีความเหมาะสมมากกว่าที่จะให้เอก 160827594244 ชนเข้ามาเป็นผู้วางโครงข่ายและบริหารงานในพื้นที่อีอีซีดี เนื่องจากหารือกับเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องดิจิทัลหลายแห่งที่สนใจเข้ามาลงทุนในไทย เช่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และยุโรป มีความเห็นว่าหากโครงการนี้ป็นการดำเนินการโดยเอกชนอาจมีข้อจำกัดในการเข้ามาลงทุนและร่วมมือพัฒนาพื้นที่นี้ของประเทศต่างๆ 

นอกจากนี้ที่ประชุมฯยังเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก 5G ให้เพิ่มขึ้นปัจจุบันที่มีผู้ใช้ประโยชน์เพียง 15 - 20% เพื่อต่อยอดให้เกิดการลงทุนต่อเนื่อง ได้แก่ 1.สร้างผู้ใช้ 5G อย่างเป็นระบบ ผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ใช้เทคโนโลยี 5G ในโรงงานทั้งหมดในพื้นที่เขตส่งเสริมอีอีซี ประมาณ 10,000 แห่ง โรงแรมทั้งหมดในอีอีซี ประมาณ 300 แห่ง หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มเอสเอ็มอี

โดยได้จัดทำโครงการนำร่องพัฒนาระบบ 5G เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชน เริ่มตั้งแต่ บริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ เสริมความมั่นคง สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน เสริมโครงสร้างพื้นฐาน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และเสริมประสิทธิภาพอุตสาหกรรม และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อให้ชุมชนได้เริ่มทดลองใช้ระบบ 5G อย่างทั่วถึง

160827663493

2.เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการบริหารจัดการข้อมูล ผลักดันให้ภาคเอกชนและภาครัฐ จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ ในพื้นที่ อีอีซี โดยให้ EECd เป็นจุดติดตั้งศูนย์ข้อมูล (Data Center) นอกจากนี้ยังมีการวางแนวทางและปรับข้อกฎหมาย นำข้อมูลคลาวด์ภาครัฐ และคลาวด์ภาคเอกชน เฉพาะข้อมูลที่เปิดเผยได้มาจัดทำข้อมูลกลาง เพื่อธุรกิจในอนาคต (Common Data Lake) เพื่อให้ภาคธุรกิจ และกลุ่มสตาร์ทอัพ นำข้อมูลดังกล่าว
ไปต่อยอดพัฒนาธุรกิจ เช่น E-Commerce การท่องเที่ยว สาธารณสุข และการแพทย์

และ 3.พัฒนาบุคลากรดิจิทัล ผลักดันเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนการพัฒนาคน โดยเน้นผลิตบุคลากรที่มีทักษะตามความต้องการของเอกชน (Up-Re-New) จำนวน 100,000 คน ให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง