Economic (25 มิ.ย.63)

Economic (25 มิ.ย.63)

การส่งออกลดลง 22.5% YoY ในเดือนพฤษภาคม

Event

กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2563 ลดลง 22.5% YoY เหลือ 1.6278
หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลง 34.4% YoY เหลือ 1.3584 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ
ดุลการค้าเกินดุล 2.694 พันล้านดอลลาร์ฯ

มูลค่าส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐ และ EU ลดลง 24.2% YoY 17.3% YoY และ 40.0% YoY
ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าส่งออกไปยัง ASEAN อินเดีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ และไต้หวันลดลง 27.9%
YoY 76.0% YoY 19.3%YoY 32.9% YoY และ 24.1% YoY ตามลำดับ แต่มูลค่าส่งออกไปจีนยังคง
เพิ่มขึ้น 15.3% YoY ทั้งนี้ หากไม่รวมน้ำมันและทองคำ มูลค่าการส่งออกลดลง 27.4% YoY

Impact

- การส่งออกหดตัวลงแรงอย่างมีนัยสำคัญ โดยสินค้าส่งออกหลักลดลงอย่างมากทุกกลุ่มในเดือนพฤษภาคมโดยได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่ต่ำ อุปสงค์ในตลาดโลกลดลง ปัญหาด้านการผลิตและระบบขนส่งสินค้า รวมถึงผลกระทบจากรายได้ที่ลดลงของประเทศคู่ค้า

- การส่งออกผักและผลไม้เพิ่มขึ้นถึง 83.5% YoY ในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากจีนเลื่อนการนำเข้าในช่วงเดือนเมษายนจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ การส่งออกผักและผลไม้อาจจะลดลงในเดือนมิถุนายน

- มูลค่าการส่งออกทองคำแท่งเพิ่มขึ้นถึง 735.1% YoY เป็น 1.103 พันล้านดอลลาร์ฯ เนื่องจากราคาทองคำแท่งเพิ่มขึ้นเป็น 1699-1768 ดอลลาร์ฯ จาก 1270-1327 ดอลลาร์ฯในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกทองคำแท่งจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือนมิถุนายนเนื่องจากราคาทองเพิ่มขึ้นเป็น 1775 ดอลลาร์ฯ ในปลายเดือนมิถุนายนจาก 1300-1440 ดอลลาร์ฯในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว

- สินค้านำเข้าหลักทุกรายการลดลงอย่างมาก มูลค่านำเข้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน วัตถุดิบ และสินค้าขั้นกลาง สินค้าอุปโภคบริโภค และยานยนต์ ลดลง 70.0% YoY 25.2% YoY 26.1% YoY 22.65 YoY และ 39.7% YoY ตามลำดับ

- ภาคส่งออกเดือนพฤษภาคมได้รับผลกระทบจาก COVID-19 หนักกว่าที่เราคาดไว้ก่อนหน้านี้ และหนักกว่าช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2009

- การส่งออกในเดือนมิถุนายนน่าจะฟื้นตัวขึ้น MoM แต่ยังคงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ YoY เนื่องจากฐานที่สูง และอุปสงค์ที่อ่อนแอจากประเทศคู่ค้า

- ธปท. ปรับลดประมาณการ GDP ปี 2563 ลงจากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 5.3% เป็นหดตัว 8.1% (เราคาดไว้ที่ -8.4%) และประเมินว่ามูลค่าการส่งออกจะลดลง 10.3% (เราคาดไว้ที่ -8.3%)