ยุทธศาสตร์ผลไม้ตะวันออก

ยุทธศาสตร์ผลไม้ตะวันออก

ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้แหล่งใหญ่ของไทย มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 1 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 1 ล้านตัน ในช่วงมี.ค.-พ.ค.ของทุกปีเป็นช่วงที่ผลไม้ออกสู่ตลาด ซึ่งข้อจำกัดของสินค้าเกษตรคือ การออกสู่ตลาดพร้อมๆกัน ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้ตกต่ำ

ภาคตะวันออกถือเป็นแหล่งผลิตผลไม้แหล่งใหญ่ของไทย มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 1 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 1 ล้านตัน ในช่วงมี.ค.-พ.ค.ของทุกปีเป็นช่วงที่ผลไม้ออกสู่ตลาด ซึ่งข้อจำกัดของสินค้าเกษตรคือ การออกสู่ตลาดพร้อมๆกัน ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเหล่านี้ตกต่ำ

แนวทางบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ที่ผ่านมาคือการหาตลาดใหม่ ทั้งการส่งออกและการแปรรูปด้วยวิธีการถนอมอาหารพื้นฐาน แต่ปีนี้ ตลาดขนาดใหญ่ของสินค้าผลไม้ อย่างจีนที่ประสบปัญหาโควิด-19 ทำให้ความต้องการนำเข้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด 

ภายใต้โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี กำหนดโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก หรือ Eastern Fruit Corridor (EFC) มีพื้นที่นิคม Smart Park 37.6 ไร่   โดยปี 2562 กระทรวงอุตสาหกรรมเริ่มดำเนินโครงการ พร้อมกำหนดพื้นที่ตั้งโดยให้อบจ.จัดเตรียมพื้นที่ 23 ไร่ รองรับ ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง 

กำหนดดำเนินการปี 2563 ตั้งเป็นโครงการหลักของอีอีซี โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ.และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำงานร่วมกัน