กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนพ.ค.-ส.ค. 3 อัตรา แพงสุด 6.72 บาท ถูกสุด 4.77 บาท

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนพ.ค.-ส.ค. 3 อัตรา แพงสุด 6.72 บาท ถูกสุด 4.77 บาท

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 66 ใน 3 ราคา แพงสุดหน่วยละ  6.72 บาท ถูกสุด 4.77-4.84 บาท ภาคประชาชนจ่ายเพิ่มเท่าภาคธุรกิจ เร่งเปิดรับฟังความเห็นเอฟทีอัตราเดียว ก่อนประกาศจริง 23 มี.ค.66

จากแนวโน้มสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดจร (Spot LNG) มีแนวโน้มราคาลดลง ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนที่แกว่งตัวในระดับต่ำ ประกอบ กับภาคนโยบาย (กพช.) ไม่มีนโยบายขยายเวลาการจัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยให้ประชาชนก่อน ส่งผลให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและประชาชนต้องจ่ายค่าเอฟทีในอัตราเดียวกันที่สะท้อนสมมุติฐานที่ทำให้ ค่าใช้จ่ายประมาณการเอฟทีในรอบ พ.ค. - ส.ค. 2566 อยู่ในระดับที่ดี ดังนั้น กกพ. จึงเสนอรับฟัง ความเห็น 3 ทางเลือกในการจ่ายคืนภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง (คงค้าง) กฟผ. ในอัตรา 293.60, 105.25 และ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 12/2566 (ครั้งที่ 840) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าเอฟที่ประจำรอบ ก.ย. - ธ.ค. 2565 และ เห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสําหรับงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำ ค่าเอฟที่ประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ดังนี้

กรณีที่ 1 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 1 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 จำนวน 293.60 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้งหมด หรือ เงินภาระต้นทุนคงค้างสะสมเดือน ก.ย. 2554 - ธ.ค. 2555 จำนวน 150,268 ล้านบาท คิดเป็น 230,23 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.72 บาทต่อหน่วย ตามรายงานการ คำนวณตามสูตรเอฟที

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนพ.ค.-ส.ค. 3 อัตรา แพงสุด 6.72 บาท ถูกสุด 4.77 บาท กรณีที่ 2 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 5 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2556 จำนวน 105.25 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟที่ขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค.-ส.ค. 2556 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงที่คาดว่าจะคงเหลือจาก เดือน ม.ค. – เม.ย. 2556 จำนวน 136,686 ล้านบาท บางส่วน (เงินภาระต้นทุนคงค้างสะสมเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2565 หักภาระต้นทุนคงค้างที่ กกพ. เห็นชอบให้ทยอยเรียกเก็บบางส่วนเดือน ม.ค. - เม.ย. 2556 จำนวน 22.22 สตางค์ต่อหน่วย เป็นเงินประมาณ 13,584 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็น 5 งวดๆละ 27,337 ล้านบาทหรืองวด ละ 41.88 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายในเดือน ธ.ค. 2557 โดย กฟผ. จะต้องบริหาร ภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 109,349 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.84 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอของ กฟผ.

กรณีที่ 3 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน พ.ค. - ส.ค. 2556 จำนวน 98.27 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟที่ขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พ.ค. ส.ค. 2556 จำนวน 63.37 สตางค์ต่อหน่วย และเงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงคาดว่าจะคงเหลือจากเดือน ม.ค. – เม.ย. 2556 จำนวน 136,686 ล้านบาท บางส่วน โดยแบ่งเป็น 6 งวดๆ ละ 22,781 ล้านบาทหรืองวดละ 34.90 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อให้ กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 2 ปี (เม.ย. 2558) โดย กฟผ. จะต้องบริหารภาระ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชนจำนวน 113,905 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้น เป็น 4.77 บาทต่อหน่วย

นายคมกฤช กล่าวว่า การประมาณการค่าไฟฟ้าดังกล่าวเป็นไปตามประกาศ กกพ. เรื่อง กระบวนการ และขั้นตอนการใช้สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ โดยมีสมมุติฐานและปัจจัยในการพิจารณาค่าเอฟทีใน รอบเดือน พ.ค. - ส.ศ. 2566 ตามการประมาณราคาก๊าซจาก ปตท. และผลการคำนวณค่าเอฟทีของ กฟผ. โดยมีปัจจัยที่สำคัญๆ ดังต่อไปนี้

(1) การจัดหาพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 เท่ากับประมาณ 72,220 ล้าน หน่วย เพิ่มขึ้น 4,387 ล้านหน่วยจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน ม.ค. – เม.ย. 2566) ที่คาดว่าจะมีการ จัดหาพลังงานไฟฟ้าเท่ากับ 67,833 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.47

(2) สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 ยังคงใช้ก๊าซ ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ร้อยละ 57.80 ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อ ไฟฟ้าจากต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวมร้อยละ 17.34 ลิกไนต์ของ กฟผ. ร้อยละ 7.89 เชื้อเพลิงถ่านหิน นำเข้าโรงไฟฟ้าเอกชน ร้อยละ 7.13 พลังน้ำของ กฟผ. ร้อยละ 2.74 น้ำมันเตา (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.84 น้ำมันดีเซล (กฟผ. และ IPP) ร้อยละ 0.03 และอื่นๆ อีกร้อยละ 6.23 ทั้งนี้ ประมาณการการใช้ก๊าซธรรมชาติ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6.75 จากรอบเดือน ม.ค. - เม.ย. 2566 เพื่อรองรับการใช้ LNG เพิ่มมากขึ้นจากแนวโน้ม ราคา LNG ในตลาดโลกที่มีราคาลดเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าในช่วงวิกฤต ราคา LNG

(3) ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่าเอฟทีเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566 เปลี่ยนแปลงจาก การประมาณการในเดือน ม.ค. – เม.ย. 2566 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิต ไฟฟ้ามีการปรับตัวลดลงอย่างมากโดยเฉพาะราคา LNG ในตลาดจร ที่ลดลงจาก 29.6 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียูเป็น 19-20 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู ราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยของเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและราคา ถ่านหินลิกไนต์ของ กฟผ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายต้นทุนทำเหมืองลิกไนต์ของ กฟผ. ที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะ ที่ราคาน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาปรับตัวลดลงเล็กน้อยในรอบเดือน พ.ค. - ส.ค. 2566

(4) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ ซึ่งใช้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 1 เดือน ย้อนหลังก่อนทําประมาณการ (1 – 31 ม.ค. 2566) เท่ากับ 33.23 บาทต่อดอลลาร์ อ้างอิงข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นฐานซึ่งแข็งค่าขึ้นจากประมาณการในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2566 ที่ประมาณการไว้ที่ 35.68 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งลดลง 2.45 บาทต่อดอลลาร์

"กกพ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 10-20 มี.ค. 2566 และนำข้อเสนอจากผู้ใช้ไฟและผู้เกี่ยวข้องมาพิจารณาในการประชุมบอร์ดกกพ.อีกครั้งวันที่ 22 มี.ค. 2566 และประกาศเป็นทางการวันที่ 23 มี.ค. 2566"