พัทยา กรุ๊ป ลุยนิวเอสเคิร์ฟ ผนึกโกลบอลพาร์ทเนอร์ "ร่วมทุน-ควบรวมกิจการ"

พัทยา กรุ๊ป ลุยนิวเอสเคิร์ฟ ผนึกโกลบอลพาร์ทเนอร์ "ร่วมทุน-ควบรวมกิจการ"

กลุ่มบริษัทพัทยา หรือ พัทยา กรุ๊ป รับสัญญาณบวกเคลื่อนลงทุน 2 กลุ่มธุรกิจใหม่ "ร่วมทุน-ควบรวมกิจการ" ต่อยอดฐานธุรกิจหลักสร้าง "นิวเอสเคิร์ฟ" หนุนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบิน ดันรายได้ปี 66 เติบโตกว่า 50%

นายทศพร อสุนีย์ ประธานบริหารกลุ่มบริษัทพัทยา กล่าวว่า ในปีนี้กลุ่มบริษัทพัทยา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการเคลื่อนธุรกิจก้าวสำคัญสู่ปีที่ 9 สอดรับกระแสโลกการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โดยได้งาน “Pattaya Group Next to Beyond” เพื่อประกาศถึงความเข้มแข็งของกลุ่มบริษัทพัทยา รวมถึงการปรับตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และเตรียมความพร้อมรับมือกับวิกฤติในอนาคต

ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทพัทยา ก้าวผ่านสถานการณ์ที่เครื่องบินจอดสนิทพร้อมกันทั่วโลก จากวิกฤติโควิด-19 สะเทือนธุรกิจทั่วโลก การก้าวข้ามอุปสรรคครั้งใหญ่นี้มาได้ มีปัจจัยสำคัญ นั่นคือ “บุคลากร” ทุกคนซึ่งเป็นกำลังหลักของบริษัท

"สร้างความเชื่อมั่นให้กลุ่มบริษัทพัทยา กล้าที่จะก้าวต่อไปในระดับสากล พร้อมร่วมมือกับ Global Partner แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อเติบโตและพัฒนาต่อไป เรามีบันได 4 ขั้น เป็นหลักการบริหาร ตั้งแต่การเริ่มต้นดำเนินธุรกิจให้เข้าสู่มาตรฐานที่ดี รักษามาตรฐาน พร้อมสร้างมาตรฐานใหม่ ซึ่งทุกบริษัทภายในกลุ่มพัทยาใช้คอนเซปต์เดียวกันทั้งหมด"

 

ในปี 2566 พัทยากรุ๊ป ตั้งเป้าหมายรายได้โต 50% จากแผนขับเคลื่อนการลงทุนธุรกิจใหม่ที่เสริมศักยภาพการเติบโต ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาหลายโครงการ ที่จะเพิ่มเติมอีก 3-5 บริษัท

พัทยา กรุ๊ป ลุยนิวเอสเคิร์ฟ ผนึกโกลบอลพาร์ทเนอร์ \"ร่วมทุน-ควบรวมกิจการ\"

"กลยุทธ์เชิงรุกของพัทยากรุ๊ปครั้งนี้ ป็นการต่อยอดจากรากฐานธุรกิจหลักที่มั่นคง นอกจากจะช่วยสร้างนิวเอสเคิร์ฟ (New S-Curve) แล้ว ยังเป็นการขับเคลื่อนสู่ความยั่งยืนและการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินเติบโตไปอีกขั้น"

โดยการลงทุนมุ่ง 2 กลุ่มธุรกิจใหม่ผ่านการ ร่วมทุน (Joint Venture) และ การควบรวมกิจการ (M&A)  จากเป้าหมายการเติบโตเกินกว่า 50% ในปีหน้าจะเป็นแรงส่งรายได้ทะยานต่อเนื่อง ตั้งเป้าหมายปี 2568  คาดการณ์สัดส่วนกำไรของ พัทยากรุ๊ป จาก ธุรกิจการบินไม่ต่ำกว่า 30% ธุรกิจขนส่งภายในและต่างประเทศกว่า 40% ธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม 20% และ ธุรกิจนิวเอสเคิร์ฟ อีก 10% นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของกลุ่มบริษัทพัทยา

พัทยา กรุ๊ป ลุยนิวเอสเคิร์ฟ ผนึกโกลบอลพาร์ทเนอร์ \"ร่วมทุน-ควบรวมกิจการ\"

ทั้งนี้  “กลุ่มบริษัทพัทยา” เริ่มต้นในปี 2558 จากการเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจในส่วนของภาคพื้นในท่าอากาศยาน (Ground Handling Service Provider) ณ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ภายใต้ชื่อ บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น จำกัด การดำเนินธุรกิจเติบโตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และในระหว่างการเดินทางตลอดระยะเวลา 8 ปี  บริษัท พัทยา เอวิเอชั่น จำกัด ได้ทำการขยายธุรกิจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน ปัจจุบันมีบริษัทในเครือ ทั้งสิ้น 8 บริษัท ได้แก่

· บริษัท Pattaya Aviation เป็นธุรกิจหลัก ดำเนินธุรกิจทางด้านการบริการภาคพื้นแบบครบวงจรแก่สายการบินทั้งในและต่างประเทศ

· บริษัท Pattaya Air Cargo ดำเนินธุรกิจทางด้านการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ

· บริษัท Pattaya Air Inter Cargo Solution ดำเนินธุรกิจทางด้านการขนส่งทางอากาศต่างประเทศ

· บริษัท Pattaya Ai Terminal ดำเนินธุรกิจทางด้านพัฒนาระบบและเทคโนโลยีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการบิน

· บริษัท Pattaya Aviation Training Center ดำเนินธุรกิจทางด้านการอบรมและพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการบิน

· บริษัท Pattaya Global Management ดำเนินธุรกิจทางด้านการบริหารจัดการ โครงการของภาครัฐและเอกชน

· บริษัท Pattaya Hospitality Management ดำเนินธุรกิจทางด้านการบริหารโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยว

· บริษัท Pattaya Aviation Security ดำเนินธุรกิจทางด้านการรักษาความปลอดภัย ภายในสนามบินในประเทศ

พัทยา กรุ๊ป ลุยนิวเอสเคิร์ฟ ผนึกโกลบอลพาร์ทเนอร์ \"ร่วมทุน-ควบรวมกิจการ\"

นอกจากนี้ บริษัทยังมีการปรับรูปแบบธุรกิจให้ทันสมัยมาโดยตลอด ซึ่ง Partner ล่าสุดคือบริษัท Aron Flying Ship KOREA โดยผู้บริหาร Aron Mr.Hyun Wook CHO, ARON, Chief Executive Officer ได้มีการลงนามร่วมธุรกิจกับ “กลุ่มบริษัทพัทยา” ในธุรกิจ Wing-In-Ground Effect แห่งแรกของโลก ซึ่ง ARON M-Series มีความสามารถในการบินด้วย Ground Effect ที่สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและมีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถปฎิบัติงานได้ในพื้นที่จำกัด และในสภาพอากาศที่รุนแรง เพิ่มความปลอดภัยในการหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวาง

บริษัท ARON FLYING SHIP LTD.และ “กลุ่มบริษัทพัทยา” มีความมั่นใจในการที่ทางบริษัทจะสามารถนำอากาศยาน ARON M80 และเทคโนโลยีจากทางบริษัท ARON FLYING SHIP LTD เพื่อสนับสนุนปฎิบัติการช่วยเหลือสาธารณะภัยและกู้ภัยทางทะเล ว่าจะสามารถทำประโยชน์ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นในและเพิ่มความปลอดภัย เพื่อทดแทนให้กับอากาศยานที่เคยให้บริการและจะให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต ตามนโยบายของประเทศ ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการท่องเที่ยวของประเทศและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศต่อไป