กระทรวงยุติธรรม ยก CPF เป็น "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ดีเด่น ปี 2565

กระทรวงยุติธรรม ยก CPF เป็น "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ดีเด่น ปี 2565

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มอบรางวัล ซีพีเอฟ "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน" ระดับดีเด่น ประจำปี 2565 (Human Rights Awards 2022) ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่

นางสาวพิมลรัตน์  รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  เปิดเผยว่า  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม   มอบรางวัล   "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน" ระดับดีเด่น ประจำปี 2565  (Human Rights Awards 2022) ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ให้กับ ซีพีเอฟ.

 โดยเห็นว่า เป็นองค์กรที่มีความโดดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับภาคธุรกิจไทย ในการนำหลักการสิทธิมนุษยชนมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมความเสมอภาคและยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย พร้อมขยายผลต่อยอดไปยังองค์กรพันธมิตรธุรกิจและสังคม

กระทรวงยุติธรรม ยก CPF เป็น "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ดีเด่น ปี 2565 กระทรวงยุติธรรม ยก CPF เป็น "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ดีเด่น ปี 2565 กระทรวงยุติธรรม ยก CPF เป็น "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ดีเด่น ปี 2565

ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชน เป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนของบริษัทฯ  ภายใต้กลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action  บริษัทฯ มีการดำเนินกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการบริหารความแตกต่างและการยอมรับความหลากหลาย มีการปฏิบัติต่อบุคลากรและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ปราศจากการเลือกปฏิบัติ

รวมทั้งถ่ายทอดและต่อยอดความรู้และประสบการณ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้กับกลุ่มคู่ค้าธุรกิจและเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทาน มีหลักปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน โดยมีการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนและบรรเทาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

ซึ่งมีการทบทวนอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งระดับประเทศและระดับสากลเพื่อร่วมส่งเสริมให้พนักงานทุกคนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการยกระดับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมอาหารและสังคมโดยรวม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ

 

“การได้รับรางวัล "องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น" ประจำปี 2565 สะท้อนถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีให้องค์กรอื่นๆ ในการนำหลักสิทธิมนุษยชนมาบูรณาการการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเป็นไปตามหลักปรัชญา “3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” ของบริษัทฯ และมีความโดดเด่นในการนำศักยภาพของบริษัทฯ ช่วยสร้าง “ความมั่นคงด้านอาหาร” ให้กับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในภาวะวิกฤติ รวมทั้ง เคียงข้างองค์กรพันธมิตรธุรกิจให้สามารถเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนไปด้วยกัน” นางสาวพิมลรัตน์กล่าว

บริษัทฯ ได้ผนวกเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (UN SDGs) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ด้านงานทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะประเด็นความเท่าเทียม บริษัทฯ มีนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานและเคารพซึ่งกันและกัน การยอมรับความแตกต่าง ไม่เลือกปฏิบัติ  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน และป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดและคุกคามในทุกรูปแบบ เช่น

บริษัทฯ ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกกลุ่มในการแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เรื่องร้องเรียน ผ่านการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบางในมิติทางเพศ สัญชาติ ศาสนา และความทุพพลภาพ สนับสนุนให้ทุกสถานประกอบการของบริษัทฯ จัดตั้งห้องนมแม่  การจัดตั้งชมรมพนักงาน LGBTQ+  เป็นต้น และยังขยายขอบเขตการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมไปถึงกลุ่มคู่ค้าธุรกิจและเกษตรกรในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ อีกด้วย

 

นอกจากนี้ CPF ยังสานต่อร่วมมือกับมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network Foundation : LPN) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร พนักงานทุกคนตระหนักและเข้าถึงสิทธิของตนอย่างเสมอภาค และดำเนินโครงการศูนย์รับฟังเสียงพนักงาน “Labour Voices Hotline by LPN” ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้พนักงานทุกคนมีองค์กรที่เป็นกลางรับฟังเสียงจากพนักงาน ซึ่งนำไปสู่การสร้างเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานทุกคน มุ่งสู่ชีวิตที่มีคุณภาพและเสถียรภาพในชุมชนและสังคมในภาพรวมสืบไป

 

นางสาวพิมลรัตน์ กล่าวเสริมว่า ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 บริษัทฯ สร้างความเชื่อมั่นกับพนักงานทุกคนโดยมีนโยบายไม่เลิกจ้างเหตุจากโควิด-19 รวมทั้งดูแลให้พนักงานทุกคนปลอดภัยและเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงทั้งพนักงานคนไทยและต่างชาติ พร้อมทั้งได้นำความเชี่ยวชาญดำเนินโครงการต่างๆ ช่วยสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับสังคมและดูแลกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ อาทิ

โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อส่งมอบอาหารให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป รวมถึงกลุ่มคนเปราะบาง คนพิการ แรงงานข้ามชาติ และผนึกพลังกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ดำเนินโครงการ “ครัวปันอิ่ม” เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าอาหารรายย่อย และดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบางให้ได้เข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอในราคาที่เข้าถึงได้

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินโครงการ “Faster Payment” เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับกลุ่มคู่ค้าธุรกิจ SME กว่า 6,500 ราย ให้สามารถรักษากิจการและลูกจ้างก้าวผ่านภาวะวิกฤติไปได้ และในปี 2565 นี้ บริษัทฯ ยังขยายผลดำเนินโครงการ “CPF x BBL เสริมสร้างสภาพคล่อง เคียงข้างคู่ค้า” สนับสนุนคู่ค้าธุรกิจรวมถึงกลุ่ม SME กว่า 10,000 ราย ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เพื่อช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน สนับสนุนและเสริมโอกาสให้คู่ค้าธุรกิจเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน