ปรับขึ้น ซื้อเก็งกำไร PTTEP GPSC DOHOME

ปรับขึ้น ซื้อเก็งกำไร PTTEP GPSC DOHOME

คาดดัชนีฯ ปรับขึ้น แนวต้าน 1,585 / 1,600 จุด แนวรับ 1,567 / 1,556 จุด แนะนำ ซื้อเก็งกำไร PTTEP GPSC DOHOME ทางเทคนิค ดัชนีฯ เกิดสัญญาณซื้อ หลังจากสามารถปิดเหนือ 1,564 จุด (EMA 25 วัน)

โมเมนตัมบวก คือ แนวโน้มการลดระดับความเข้มงวดของนโยบายการเงินของเฟด หลังจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะ technical recession หลังจากรายงาน 2Q22 GDP -0.9% QoQ (Vs 1Q22 -1.6% QoQ) และผลการดำเนินงาน 2Q22 ของทั้งบจ. ไทยและสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ทำให้เกิดแรงซื้อเก็งกำไรในหุ้นที่กำลังจะรายงานงบการเงินในสัปดาห์นี้ ไฮไลท์สัปดาห์นี้ คือ ตัวเลข PMI ภาคการผลิต ภาคบริการ และตัวเลขรวมเดือน ก.ค. ของ Japan Thailand EU USA; ตัวเลข JOLTs Job Openings และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือน ก.ค. ของสหรัฐฯ รวมถึงรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ก.ค. ของไทย

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC TCAP JMT CENTEL BH BEM AOT CPN MINT KTB BDMS (ซื้อ KKP) พอร์ต Mid-Small Cap แนะนำ AH BAFS DOD DOHOME NYT SIS TWPC SAT TMT WICE PORT TOG LST TK (ซื้อ M, RS และ SFT)

+ 2Q22E Earnings Play: กำไรเติบโตสูง >15% YoY 20%, QoQ และมี % Upside ต่อรำคำเป้าหมาย >10% แนะนำ PTT PLANB TOP CPALL BEC VGI KCE MINT SPRC MAJOR BEM

+/- กลุ่มได้ประโยชน์จากการลดลงของยิลด์พันธบัตร (ดอกเบี้ย): +ผู้ผลิตไฟฟ้า: GULF GPSC BGRIM พัฒนาอสังหาริมทรัพย์: ORI AP LH เงินทุนและหลักทรัพย์: JMT KTC MTC -ธนาคาร ประกันภัยและประกันชีวิต: BBL KBANK KKP BLA TIPH

+/- กลุ่มอิงการแพร่ระบาด COVID-19: +การแพทย์: BH BDMS BCH CHG RAM EKH อุปกรณ์การแพทย์: IMH STGT –กลุ่มเปิดประเทศ: AOT AAV BAFS CENTEL MINT ERW SHR

+/- กลุ่มอิงสินค้าโภคภัณฑ์: +กลุ่ม Commodities: PTTEP BANPU TOP SPRC ESSO

 

ปัจจัยบวก

+ FED: เฟดมีแนวโน้มชะลอนโยบายการเงินแบบเข้มงวด หลังจากตัวเลข 2Q22 GDP เติบโต -0.9% QoQ (ต่ำกว่าที่ตลาดคาด +0.5% QoQ) ทำให้ตลาดหุ้นไทยได้รับผลบวกจากการลดระดับการ De-rating

 

+ Earnings Results: บจ. ทั้งไทยและสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ รายงานกำไร 2Q22 ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้มีโอกาสที่จะมีแรงซื้อเก็งกำไรในหุ้นที่จะประกาศผลการดำเนินงานในสัปดาห์นี้ เช่น หุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มค้าปลีก

 

ประเด็นสำคัญ

- Earnings Results: USA: ACTIVISION BLIZZARD; Thailand: PTTEP GLOBAL และ DOHOME

- China: Caixin Manufacturing PMI เดือน ก.ค. คาดที่ 51.5 ทรงตัว จากเดือน มิ.ย.

- EU: S&P Manufacturing PMI เดือน ก.ค. คาดที่ 49.6 (Vs เดือน มิ.ย. ที่ 52.1)

- USA: ISM Manufacturing PMI เดือน ก.ค. คาดที่ 52 (Vs เดือน มิ.ย. ที่ 53)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา
 

+ ตลาดหุ้นไทยกลับมาปิดบวกแรง: วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีฯ ปรับตัวบวกได้ตั้งแต่เปิดตลาดและปิดไปใกล้เคียงจุดสูงสุดของวันที่ 1,576.41 จุด +23.23 จุด วอลุ่มซื้อขาย 5.9 หมื่นล้านบาท นำบวกโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ +22.59% กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม +1.44% กลุ่มพาณิชย์ +0.50% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค +0.66% หุ้นบวก >4% DELTA PPPM EASTW KCE HANA SMT DOHOME RBF TKT GJS BFIT SABUY หุ้นลบ >4% SPACK TPAC CPH EMC NFC PRECHA

 

+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปปิดบวกต่อเนื่อง: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกต่อเนื่อง DJIA +0.97% S&P500 +1.42% NASDAQ +1.88% ได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่สดใสของ APPLE และ AMAZON สำหรับ S&P500 ปรับขึ้นทุก Sector นำโดยกลุ่มพลังงาน +4.5% จากหุ้น EXXON และ CHEVRON หลังเปิดเผยรายได้รายไตรมาสสูงเป็นประวัติการณ์ (รายสัปดาห์ DJIA +3.0% WoW, S&P500 +4.3% WoW และ NASDAQ +4.7% WoW ส่วนรายเดือน DJIA +6.7% MoM, S&P500 +9.1% MoM ปรับขึ้น MoM สูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2020 และ Nasdaq +12.4% MoM ปรับขึ้น MoM สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2022) ส่วนหุ้นยุโรปปิดบวกต่อเนื่อง CAC40 +1.72% DAX +1.52% FTSE +1.06% ได้แรงหนุนจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงตัวเลข 2Q22 GDP ของ EU +0.7% QoQ และ +4.0% YoY สูงกว่า Consensus คาดที่ +0.2% QoQ และ +3.4% YoY (รายสัปดาห์ CAC40 +6.83% WoW, DAX +4.81% WoW และ FTSE +3.69% WoW ส่วนรายเดือนปรับตัวขึ้น MoM เป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน CAC40 +8.87% MoM, DAX +5.48% MoM และ FTSE +3.69% MoM)

+ ราคาน้ำมันดิบและทองคำปิดบวก: WTI +USD2.2 ปิดที่ USD98.62/บาร์เรล Brent +USD2.87 ปิดที่ USD110.01/บาร์เรล เพราะตลาดคาดว่ากลุ่มโอเปคพลัสจะไม่เพิ่มการผลิตน้ำมันอย่างที่สหรัฐฯ คาดหวัง (รายสัปดาห์ WTI +4.1% WoW, Brent +6.6% WoW แต่รายเดือนลดลง WTI -6.8% MoM และ Brent -4.2% MoM) ส่วนราคาทองคำ +USD2.6 ปิดที่ USD1,781.8/ออนซ์ (รายสัปดาห์ +3.2% WoW แต่รายเดือนลดลง -1.4% MoM)

 

ประเด็นสำคัญ
 

- USA: คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ 12-0 ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.75% สู่ระดับ 2.25-2.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ ทั้งนี้ เฟดได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการดำเนินการที่เข้มงวดที่สุดของเฟด นับตั้งแต่ที่เฟดกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นเครื่องมือสำคัญด้านนโยบายการเงินในช่วงทศวรรษ 1990 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้อยู่ที่ระดับ 2.25-2.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2018

- USA: กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลข 2Q22 GDP โดยระบุว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว -0.9% QoQ หลังจาก 1Q22 GDP หดตัว -1.6% ซึ่งการที่เศรษฐกิจหดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้สหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย "ทางเทคนิค" โดยเข้าเกณฑ์นิยามของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ดี รมว.คลังสหรัฐฯ เยลเลน มั่นใจว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยคำว่าเศรษฐกิจถดถอย หมายถึงภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจชะลอตัวเป็น วงกว้าง ซึ่งรวมถึงการเลย์ออฟพนักงานครั้งใหญ่, ธุรกิจปิดกิจการจำนวนมาก, สถานะการเงินของภาคครัวเรือนเผชิญวิกฤติรุนแรง และกิจกรรมภาคการบริการชะลอตัวลง แต่นับจนถึงขณะนี้เรายังไม่พบสัญญาณเหล่านี้

- USA: ความเสี่ยงที่ US GDP ในไตรมาสต่อไป และยังคงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะถดถอยในอนาคต เพราะคนไม่ใช้จ่าย ธุรกิจไม่ลงทุน โดยหากเข้าไปดูในของข้อมูล GDP ที่ออกมา -0.9% QoQ จะพบว่า การบริโภคสินค้าต่าง ๆ -4.4% QoQ (ส่งผลให้ GDP -1.08%), หมวดสินค้าคงทน -2.6% จากความกังวลใจว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี Recession อยู่ข้างหน้า คนจึงชะลอการใช้จ่ายในหมวดใหญ่ ๆ เช่น รถ เครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์ไฟฟ้า ออกไป, หมวดสินค้าไม่คงทน -5.5% จากกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มนอกบ้าน, การลงทุนภาคเอกชน -13.5% QoQ (ส่งผลให้ GDP -2.73%), หมวดก่อสร้างในโรงงานอาคารต่าง ๆ -11.7% จากการชะลอการลงทุนของเอกชน เพื่อรับกับเศรษฐกิจที่กำลังชะลอลง, หมวดอุปกรณ์เครื่องจักรต่าง ๆ -2.7% ที่เริ่มสั่งซื้อลดลง เพราะช่วงต่อไปไม่ต้องขยายกำลังผลิตและกิจการ, หมวดการสร้างบ้าน -14.0% สอดรับกับการปรับตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ที่กำลังเข้าสู่ช่วงขาลง หมวดสินค้าคงคลัง ที่เป็นผลมาจากการลดลงของยอดการขายสินค้าต่าง ๆ รวมถึงยานยนต์ ทั้งหมดนี้ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ติดลบในไตรมาสสอง ทั้ง ๆ ที่ภาคส่งออกสหรัฐฯ ขยายตัวดีเป็นพิเศษ +18.0% QoQ (ส่งผลให้ GDP +1.92%)

- China: เศรษฐกิจจีนกลับมาอ่อนตัวในเดือน ก.ค. โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานวานนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิตปรับตัวสู่ระดับ 49 ในเดือน ก.ค. ซึ่งลดลงจาก 50.2 ในเดือน มิ.ย. หลังเพิ่งขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ในเดือน มิ.ย. เพราะจีนผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ โดยถูกกดดันจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 และแนวโน้มซบเซาทั่วโลกบั่นทอนผู้ผลิตจีน ส่วนด้านดัชนี PMI ภาคบริการปรับตัวสู่ระดับ 53.8 ในเดือน ก.ค. ซึ่งลดลงจาก 54.7 ในเดือน มิ.ย.

- Thailand: กกพ. มีมติขึ้นค่าเอฟทีใหม่เดือน ก.ย.-ธ.ค. 2022 อยู่ที่ 93.43 สตางค์/หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์/หน่วย เป็นอัตราการปรับขึ้นต่ำสุด จาก 3 แนวทางที่ได้เปิดรับฟังความเห็นกับประชาชนไปก่อนหน้านี้ ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าที่ประชาชนต้องจ่ายงวดใหม่อยู่ที่ 4.72 บาท/หน่วย จากเดิม 4 บาท ถือเป็นอัตรา ค่าไฟที่สูงสุดตั้งแต่เรียกเก็บมา โดยครั้งนี้ไม่ต้องเปิดประชาพิจารณ์อีกรอบ จากปกติจะเปิดประชาพิจารณ์อีกครั้ง เนื่องจากได้เปิดประชาพิจารณ์ไปแล้ว 3 แนวทางสิ้นสุดวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา

+ Thailand: ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือน มิ.ย. และ 2Q22 เศรษฐกิจไทยปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน การบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

+ EU: GDP ของยูโรโซน ปรับตัวเพิ่มขึ้น +0.7% QoQ ใน 2Q22 สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น +0.2% QoQ และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 1Q22 ที่ขยายตัว +0.5% QoQ ขณะที่เพิ่มขึ้น +4.0% YoY สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น +3.4% YoY แต่แผ่วลงจาก 1Q22 ซึ่งขยายตัว +5.4% YoY

แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: HANA COM7 BGRIM

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: PTTEP GPSC DOHOME

Derivatives: แนะเปิด Long S50U22 เก็งกำไร หลัง 10:30 น.